พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ (3 มีนาคม พ.ศ. 2388 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2433) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้านวรัตน เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 20 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระโสทรานุชาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และเป็นต้นราชสกุลนวรัตน
พระองค์เจ้านวรัตน ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช 1207 ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2388 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระโสทรภราดาและพระโสทรภคินี 4 พระองค์ คือ
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง (ประสูติและสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2478 ขณะพระชันษา 4 วัน)
- กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 เมษายน พ.ศ. 2381 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428)
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา (พ.ศ. 2385 – ?)
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2393 – 29 เมษายน พ.ศ. 2459)
พระองค์เป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีของวังหน้า ทรงเชี่ยวชาญด้านการดนตรีไทยและบทขับร้อง ในขณะที่ทรงเป็นปฏิคมของหอพระสมุดวชิรญาณ ทรงพระนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณโดยพิสดาร พระนิพนธ์ "เรื่องขับร้อง" ของพระองค์ถือได้ว่าเป็นบทความทางคีตศิลป์ไทยเล่มแรกของสยาม นอกจากนั้นทรงพระนิพนธ์บทความเกี่ยวกับพระราชพิธี และงานประเพณีชาวบ้านอื่น ๆ ไว้ด้วย อีกทั้งยังเป็นจิตรกร สามารถวาดภาพสีน้ำมันได้ดี ภาพฝีพระหัตถ์เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สยามครั้งกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์หลายภาพ ปัจจุบันได้รับการติดตั้งไว้ในหอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า ทรงรับราชการจนถึงรัชกาลที่ 5 ได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง ตรงกับปี พ.ศ. 2424
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 5 ตำลึง ถึงรัชกาลที่ 4 ได้รับพระราชทานปีละ 2 ชั่ง ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว ได้เข้ารับราชการในพระบรมมหาราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้ว่าการบำเพ็ญพระราชกุศลฝ่ายพระราชวังบวร ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 3 ชั่ง เงินกลางปี 2 ชั่ง เงินเดือน เดือนละ 6 บาท และพระราชทานเบี้ยหวัดเพิ่มเป็นปีละ 5 ชั่ง ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ที่กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ เพิ่มเบี้ยหวัดเป็นปีละ 10 ชั่ง เงินกลางปี 3 ชั่ง เงินเดือน เดือนละ 3 ตำลึง ให้ว่าการมหรสพตลอดมาจนสิ้นพระชนม์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการสงบ ณ วังริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 3 ค่ำ ปีขาล รัตนโกสินทร์ศก 109 ตรงกับวันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2433 สิริพระชันษา 46 ปี พระราชทานน้ำสรงพระศพ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2433 พระราชทานพระโกศแปดเหลี่ยม ประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้า 2 ชั้น เครื่องสูง 3 ชั้น รวม 8 คัน ปักแวดล้อมพระศพ[1]
พระโอรสพระธิดา
- หม่อมเจ้าหญิงประไพพิศ (พ.ศ. 2420 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2432)
- หม่อมเจ้าหญิงสถิตย์สถาพร (? – 29 เมษายน พ.ศ. 2443)
- หม่อมเจ้าอาภรณ์ธราไภย ประสูติแต่หม่อมหุ่น (พ.ศ. 2421 – ?)
- หม่อมเจ้าหญิงแจ่มใสฉวี ประสูติแต่หม่อมหุ่น
- หม่อมเจ้าหญิงขนิษฐานารี ประสูติแต่หม่อมละมัย
- มหาเสวกตรี หม่อมเจ้าปราณีเนาวบุตร ประสูติแต่หม่อมละมัย (29 ตุลาคม พ.ศ. 2415 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีหม่อมเอก คือ หม่อมพยอมและหม่อมพยงค์ หม่อมอื่น ๆ เช่น หม่อมแข, หม่อมผาด มีโอรสและธิดาทั้งหมด 16 คน ทราบชื่อเพียงบางคน ดังนี้[2]
- พระยานิวัติอิศรวงศ์ (หม่อมราชวงศ์กมล) เกิดแต่หม่อมแข
- หลวงพงศ์นวรัตน์ (หม่อมราชวงศ์พงศ์วรรัตน์) เกิดแต่หม่อมพยอม
- หม่อมราชวงศ์พัฒนเจริญ เกิดแต่หม่อมพยอม
- หม่อมราชวงศ์สรรเสริญ เกิดแต่หม่อมพยอม
- หม่อมราชวงศ์หญิงเพยีย เกิดแต่หม่อมพยงค์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเพยาว์ เกิดแต่หม่อมพยงค์
- หม่อมราชวงศ์ปราณเนาวศรี เกิดแต่หม่อมพยงค์
- หม่อมราชวงศ์เนาวนัดดา เกิดแต่หม่อมพยงค์
- หม่อมราชวงศ์ประณัย เกิดแต่หม่อมผาด
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิตราภา เกิดแต่หม่อมผาด
- หม่อมเจ้าพิสุทธิ์เขียวขจี ประสูติแต่หม่อมละมัย (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อยังทรงพระเยาว์)
- หม่อมเจ้านพมาศ (เดิม หม่อมเจ้าศรีศุขนพมาศ) ประสูติแต่หม่อมวัน (18 ธันวาคม พ.ศ. 2419 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดจันทบุรี มีหม่อมหลายคน มีโอรสและธิดาทั้งหมด 23 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์หญิงศรีนพมาศ เกิดแต่หม่อมลิ้นจี่
- หม่อมราชวงศ์นพนันทน์ เกิดแต่หม่อมลิ้นจี่
- หม่อมราชวงศ์คงศักดิ์ เกิดแต่หม่อมลิ้นจี่
- หม่อมราชวงศ์หญิงสอิ้งมาศ เกิดแต่หม่อมลิ้นจี่
- หม่อมราชวงศ์หญิงเอี่ยมมาศ เกิดแต่หม่อมลิ้นจี่
- หม่อมราชวงศ์อดิมาศ เกิดแต่หม่อมลิ้นจี่
- หม่อมราชวงศ์หญิงสนิทพันธุ์ เกิดแต่หม่อมลำดวน
- หม่อมราชวงศ์นพแก้ว เกิดแต่หม่อมพลับ
- หม่อมราชวงศ์หญิงสร้อยนพ เกิดแต่หม่อมหนู
- หม่อมราชวงศ์หญิงพิศมาศ เกิดแต่หม่อมหนู
- หม่อมราชวงศ์พร เกิดแต่หม่อมหนู
- หม่อมราชวงศ์เภา เกิดแต่หม่อมหนู
- หม่อมราชวงศ์แดง เกิดแต่หม่อมหนู
- หม่อมราชวงศ์อภินพ เกิดแต่หม่อมสุด
- หม่อมราชวงศ์หญิงอบ เกิดแต่หม่อมสุด
- หม่อมราชวงศ์หญิงอุไรวรรณ เกิดแต่หม่อมสุด
- หม่อมราชวงศ์เชาวน์ เกิดแต่หม่อมชม
- หม่อมราชวงศ์หญิงช้องมาศ เกิดแต่หม่อมชม
- หม่อมราชวงศ์ชาติทอง เกิดแต่หม่อมชม
- หม่อมราชวงศ์แดง เกิดแต่หม่อมชม
- หม่อมราชวงศ์นวมาศ เกิดแต่หม่อมชม
- หม่อมราชวงศ์นพนิล เกิดแต่หม่อมชม
- หม่อมราชวงศ์เชื้อมาศ เกิดแต่หม่อมชม
- หม่อมเจ้าธำรงวรวัฒน์ (24 กันยายน พ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2488) ประสูติแต่หม่อมนุ่ม รับราชการเป็นนายทหารมหาดเล็ก เสกสมรสกับหม่อมสุดใจ มีโอรสและธิดา ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์อนุธำรง
- หม่อมราชวงศ์ทรงสุจริต
- หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล
- หม่อมราชวงศ์หญิงกมลพิศมัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงพิไลเลขา
- หม่อมราชวงศ์สง่ายรรยง
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุวลี
- หม่อมราชวงศ์หญิงแน่งน้อย
- หม่อมเจ้าบุตรารัตนานพ ประสูติแต่หม่อมเยี่ยม (พ.ศ. 2424 – ?)
- หม่อมราชวงศ์วงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงอนงค์
- หม่อมราชวงศ์หญิงน้อย
- หม่อมราชวงศ์วิฑูร
- หม่อมเจ้าประสบพูลเกษม ประสูติแต่หม่อมเปลี่ยน (พ.ศ. 2427 – ?)
- หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรีดิ์ ประสูติแต่หม่อมนุ่ม (พ.ศ. 2427 – พ.ศ. 2506) เป็นชายาในพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์
- หม่อมเจ้าขจรปรีดี (พ.ศ. 2430 – ?)
เมื่อพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์สิ้นพระชนม์แล้ว พระโอรสและพระธิดาได้ยินยอมให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ ซึ่งเป็นอธิบดีของเจ้านายสตรีวังหน้าทั้งหมดให้เป็นผู้จัดการมรดก นำทรัพย์สินเงินทองไปทำนุบำรุงอาคารสถานที่ฝ่ายในที่ถูกทิ้งทรุดโทรมหลังยกเลิกวังหน้า ครั้นพระองค์เจ้าวงจันทร์สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เจ้านายที่เหลืออยู่ไม่กี่พระองค์ไปประทับรวมกันกับฝ่ายในของวังหลวง
เรื่องมรดกนี้ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสลดพระทัยยิ่งนัก จึงมีพระราชหัตถเลขามาถึงพระทายาทในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า "เสียใจด้วยที่เหตุการณ์กลายเป็นเช่นนี้ แต่กาลมันล่วงเลยมาช้านานแล้วคงแก้อะไรไม่ได้ หากว่าพระองค์เจ้าวงจันทร สิ้นพระชนม์เมื่อใด ให้นำพระราชหัตถเลขาไปยื่นให้ผู้จัดการมรดก ขอแบ่งทรัพย์สินคืนมาบ้าง" ครั้นถึงเวลานั้นเข้าจริง ๆ เวลาก็ผ่านไปช้านาน หม่อมเจ้าทุกองค์จึงมิได้ติดใจ
ผลงานการประพันธ์
ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย ให้ข้อมูลด้านการประพันธ์ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ไว้ว่า พระองค์ทรงใช้นามแฝงในการประพันธ์ดังนี้
และระบุรายชื่อผลงานการประพันธ์ของพระองค์ไว้ดังนี้
- เรื่องราวเบ็ดเตล็ดครั้งแผ่นดินเจ้าตาก
- โคลงความชัง จำนวน 6 บท ในโคลงว่าด้วยของสิ่งเดียว ซึ่งต่อมานำไปรวมพิมพ์ใหม่ใช้ชื่อว่า โคลงพิพิธพากย์
- โคลงศัพท์เปรียวเชื่อง จำนวน 10 บท ในโคลงว่าด้วยของสองสิ่ง ซึ่งต่อมารวมพิมพ์ใหม่ใช้ชื่อว่า โคลงอุภัยพากย์
- เรื่องการขับร้อง
- เรื่องลอยกระทงแข่งเรือราษฎร
- เรื่องการฉลองหอพระสมุดวชิรญาณ
- โคลงถวายอาลัยในพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
- วชิรญาณสุภาษิต
- โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
- โคลงประกอบภาพที่ 12 แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ภาพยิงถูกกิ่งโพธิ์ในค่ายพระเจ้าหงสาวดี
- โคลงประกอบภาพที่ 16 แผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช ครั้งที่ 1 ภาพพระมหาธรรมราชาปล่อยแพไฟ
- โคลงประกอบภาพที่ 17 แผ่นดินพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ครั้งที่ 2 ภาพพระเจ้าหงสาวดีขุดอุโมงค์เข้าตีพระนคร
- โคลงประกอบภาพที่ 18 แผ่นดินพระมหินทราธิราช ครั้งที่ 2 ภาพพระเจ้าหงสาวดีให้ถมถนนข้ามน้ำ
- นัจจะเวธี โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์
อย่างไรก็ตาม ยังมีผลงานเรื่องหนึ่งที่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นแล้วเผยแพร่อยู่เฉพาะภายในราชสกุลนวรัตน มีเนื้อหาเป็นบันทึกส่วนพระองค์ว่าด้วยเหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้า เมื่อ พ.ศ. 2417 นิราศเรื่องไม่มีการตั้งชื่อไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ที่นำมาเผยแพร่ในภายหลังจึงตั้งชื่อผลงานนิราศเรื่องนี้ไว้ดังนี้
- เอนก นาวิกมูล ตั้งชื่อผลงานเรื่องนี้ว่า "นิราศวิกฤตวังหน้า"
- หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน ตั้งชื่อผลงานเรื่องนี้ว่า "นิราศกรมหมื่นสถิตย์ ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ หนังสือพุทธศาสนิกและปกิณณกธัมมคติ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าปราณีเนาวบุตร นวรัตน
- ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ราชสกุลนวรัตน และเครือญาติ รวบรวมและเรียบเรียงโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน และ นิรชา (นวรัตน) พรหมรัตนพงศ์ จัดพิมพ์เนื่องในวันรวมญาติ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑
- บันทึกของ ม.ร.ว.พิไลเลขา (นวรัตน) สุนทรพิพิธ
- หนังสือเจ้านายชาวสยาม ของ เอนก นาวิกมูล ตอน กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ผู้รู้จากวังหน้า
- นามานุกรมวรรณคดีไทย: พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ / (พระองค์เจ้าเนาวรัตน์)
- “นิราศกรมหมื่นสถิตย์” ว่าด้วยวิกฤตวังหน้า
|
---|
สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
กรมพระยา | |
---|
กรมพระ | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
- = สืบราชสมบัติ
- = สยามมกุฎราชกุมาร
- * = กรมพระราชวังบวร
- ตัวเอียง = ฝ่ายใน
- ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
- † = หลังสิ้นพระชนม์
- X = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
|
|
|
---|
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท | | |
---|
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | |
---|
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | |
---|
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว | |
---|
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | |
---|
* กรมพระราชวังบวรสถานมงคล X ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ |