พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2360 — 18 กันยายน พ.ศ. 2416) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเกสรา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคุ้มเล็ก[1]
พระประวัติ
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 8 ค่ำ ปีฉลู นพศก จ.ศ. 1179 ตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2360 ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 4 แรม 7 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. 1227 ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 10 แรม 12 ค่ำ ปีระกา เบญจศก จ.ศ. 1235 ตรงกับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2416 พระชันษา 57 ปี
พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลเกสรา[2] ทรงมีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้
- หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ เกสรา (ประสูติ พ.ศ. 2378 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2438)
- หม่อมเจ้านิล เกสรา (ประสูติ พ.ศ. 2380)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2383)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2386)
- หม่อมเจ้าศีขรินทร์ เกสรา (ประสูติ พ.ศ. 2387 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2422)
- หม่อมเจ้าหญิงไหว เกสรา หรือ หม่อมเจ้าหญิงไสว เกสรา (ประสูติ พ.ศ. 2403 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2433)
- หม่อมเจ้าหญิงเลื่อน เกสรา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2446) มีหม่อมนวล เกสรา ณ อยุธยา เป็นหม่อมมารดา หม่อมเจ้าหญิงเลื่อนทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้ากระจ่าง อิศรเสนา พระโอรสในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช มีบุตรคือ
- หม่อมราชวงศ์กะโห้ อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์หญิงนวลจันทร์ เกษมสันต์ หม่อมห้ามใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
- หม่อมราชวงศ์ตะโกก อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์หญิงแจ๋ว อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์สวาย อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์หญิงจ่าย อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์ภาคย์ (ตะพาบ) อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์หญิงหญิง อิศรเสนา
- หม่อมเจ้าหญิงพร้อม เกสรา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2434) หม่อมเจ้าหญิงพร้อมทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้ากระจ่าง อิศรเสนา พระโอรสในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช มีบุตรคือ
- หม่อมราชวงศ์เทโพ อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์หญิงพยูน อิศรเสนา
- หม่อมเจ้าหญิงแสง เกสรา
พระกรณียกิจ
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกสรา กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ ได้ทรงกำกับดูแลงานพระราชพิธีฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 4
อ้างอิง
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-24.
- ↑ กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
|
---|
สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
กรมพระยา | |
---|
กรมพระ | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
- = สืบราชสมบัติ
- = สยามมกุฎราชกุมาร
- * = กรมพระราชวังบวร
- ตัวเอียง = ฝ่ายใน
- ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
- † = หลังสิ้นพระชนม์
- X = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
|
|
|
---|
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท | | |
---|
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | |
---|
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | |
---|
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว | |
---|
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | |
---|
* กรมพระราชวังบวรสถานมงคล X ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ |