Share to:

 

เทศบาลเมืองชุมแพ

เทศบาลเมืองชุมแพ
สำนักงานเทศบาลเมืองชุมแพ
สำนักงานเทศบาลเมืองชุมแพ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองชุมแพ
ตรา
คำขวัญ: 
ชุมแพเมืองน่าอยู่ แลดูงามตา ชาวประชาอยู่ดีมีสุข ทุกชุมชนเข็มแข็ง เป็นแหล่งอารยธรรม เลิศล้ำการศึกษา ก้าวหน้าประชาธิปไตย โปร่งใสการจัดการ ชาวบ้านมีส่วนร่วม เป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจ ปลอดจากมลพิษ มีสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
ทม.ชุมแพตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น
ทม.ชุมแพ
ทม.ชุมแพ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองชุมแพ
พิกัด: 16°32′35″N 102°06′38″E / 16.54306°N 102.11056°E / 16.54306; 102.11056
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
อำเภอชุมแพ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมเกียรติ ดีบุญมี ณ ชุมแพ
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.55 ตร.กม. (9.48 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด31,347 คน
 • ความหนาแน่น1,276.86 คน/ตร.กม. (3,307.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04400501
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
191 หมู่ที่ 18 ถนนมลิวรรณ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130
โทรศัพท์0 4331 1703 กด 0
โทรสาร0 4331 1471
เว็บไซต์tessabanchumphae.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองชุมแพ เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ 24.55 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมบางส่วนของตำบลชุมแพ ตำบลไชยสอ และตำบลหนองไผ่ มีประชากร พ.ศ. 2560 จำนวน 31,347 คน[1] ได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบล เป็นเทศบาลเมือง เมื่อ พ.ศ. 2548[2]

ประวัติ

เทศบาลตำบลชุมแพได้ยกฐานะมาจากสุขาภิบาลชุมแพ โดยพระราชกฤษฎรีกาการจัดตั้งเทศบาลตำบลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2525 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 102 ตอนที่ 146 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2528 จึงถือว่าเทศบาลตำบลชุมแพได้ดำเนินกิจการเทศบาลมาตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2528 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับ และต่อมาเทศบาลตำบลชุมแพได้ยกฐานะจากเทศบาลตำบลชุมแพเป็นเทศบาลเมืองชุมแพ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งนายกเทศมนตรีปัจจุบันคือนายสมเกียรติ ดีบุญมี ณ ชุมแพ ได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกเทศมนตรีโดยตรง เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2548

ที่ตั้งและอาณาเขต

ปัจจุบันอำเภอชุมแพตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นไปทางทิศตะวันตกประมาณ 82 กิโลเมตรห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 520 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 24.55 ตารางกิโลเมตร ตัวเทศบาลเมืองชุมแพมีการคมนาคมทางบกเพียงทางเดียว แต่เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียง มีถนนหลายสายเชื่อมต่อกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคเหนือ เทศบาลเมืองชุมแพจึงเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาคนี้อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง ดังนี้[3]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลหนองไผ่
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลหนองไผ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ

ประชากร

จำนวนประชากรรายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557[4]

รายการ ชาย หญิง รวม จำนวนบ้าน
ตำบลชุมแพ 7,785 8,025 15,810 6,512
ตำบลหนองไผ่ 5,500 5,715 11,215 3,605
ตำบลไชยสอ 2,456 2,563 5,019 1,777
เทศบาลเมืองชุมแพ 15,741 16,303 32,044 11,894

ชุมชน

ภาพถ่ายมุมสูงเมืองชุมแพ

ชุมชนในเทศบาลเมืองชุมแพ ประกอบด้วย 29 ชุมชน ได้แก่

  1. ชุมชนกุดชุมแพ
  2. ชุมชนพรานราษฎร์
  3. ชุมชนนครชัย 1
  4. ชุมชนนครชัย 2
  5. ชุมชนหนองผือ
  6. ชุมชนหนองทุ่ม
  7. ชุมชนบ้านชุมแพ
  8. ชุมชนตลาดเหนือ
  9. ชุมชนตลาดใต้
  10. ชุมชนศรีมงคล
  11. ชุมชนหนองใส
  12. ชุมชนไผ่กุดหิน 1
  13. ชุมชนไผ่กุดหิน 2
  14. ชุมชนหนองหว้า
  15. ชุมชนใหม่สามัคคี
  16. ชุมชนหนองโพนทอง
  17. ชุมชนโคกสูง
  18. ชุมชนหนองขาม 1
  19. ชุมชนหนองขาม 2
  20. ชุมชนหนองโดน
  21. ชุมชนโนนแหลมทอง
  22. ชุมชนโนนสำราญ
  23. ชุมชนหนองคะเน 1
  24. ชุมชนหนองคะเน 2
  25. ชุมชนโชคชัย
  26. ชุมชนมีชัย
  27. ชุมชนหัวหนอง
  28. ชุมชนสันติสุข
  29. ชุมชนสว่างวารี 1
  30. ชุมชนสว่างวารี 2
  31. ชุมชนโนนศิลา
  32. ชุมชนนาโพธิ์
  33. ชุมชนนาโพธิ์ 2
  34. ชุมชนหนองตาไก้
  35. ชุมชนหนองตาไก้ 2
  36. ชุมชนบ้านมั่นคงสว่างร่มเย็น
  37. ชุมชนโนนโพธิ์ทองพัฒนา
  38. ชุมชนหนองผือพัฒนา

เศรษฐกิจ

ด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบัน อำเภอชุมแพมีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว มีโรงสีข้าว โรงโม่หิน โรงงานผลิตน้ำแข็งและ น้ำบริสุทธิ์ ส่วนพื้นที่ในเขตเทศบาลจะมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อยจำนวนมาก เช่น โรงสีขนาดใหญ่ โรงงานผลิต น้ำแข็งและน้ำบริสุทธิ์

ทางด้านเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งเป็นนาข้าวเหนียวเอาไว้บริโภคมากกว่าขาย นอกจากนี้มีการทำไร่อ้อย ปลูกเห็ด ฟางบริเวณชุมชนโคกสูง -โนนสำราญ

ส่วนการพาณิชย์ ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพค้าขายบริเวณถนนสายหลักมลิวรรณ ในโซนชุมชนตลาดเหนือ ตลาดใต ้ซึ่งถือเป็นแหล่งค้าขายขนาดใหญ่ของเทศบาล

นอกจากนี้ ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพมีธนาคารพาณิชย์จำนวนทั้งสิ้น 9 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคาร SME ธนาคารนครหลวง ธนาคารทหารไทย

โครงสร้างพื้นฐาน

การขนส่ง

ภายในสถานีขนส่งอำเภอชุมแพ

เทศบาลเมืองชุมแพเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งอำเภอชุมแพ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ไปสู่ภูมิภาคและจังหวัดต่าง ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร โดยมีหลายบริษัทที่เปิดเดินรถในเส้นทางกรุงเทพฯ-ชุมแพ-เมืองเลย ส่วนการเดินทางไปภาคเหนือ มีบริษัทเพชรประเสริฐ ที่เปิดบริการในเส้นทาง อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ ซึ่งผ่านเทศบาลเมืองชุมแพ และภาคอื่น ๆ ซึ่งสามารถไปต่อรถได้ในจังหวัดที่มีรถบริการในเส้นทางที่ต้องการ ส่วนการคมนาคมในเขตเทศบาล มีรถสองแถวบริการ มีรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถสามล้อรับจ้าง และแท็กซี่มิเตอร์ที่เพิ่งมีบริการในจังหวัดขอนแก่น

ทางหลวงแผ่นดินในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ ได้แก่

สาธารณสุข

โรงพยาบาลชุมแพ

ภายในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ มีโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 1 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีบริการด้านสาธารณสุขฯ ของเอกชนและผู้ประกอบการ คือ คลินิก ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ซึ่งให้บริการแก่ประชาชน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองชุมแพ เก็บถาวร 2019-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นเทศบาลเมืองชุมแพ
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-06-28.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-02. สืบค้นเมื่อ 2016-06-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya