Share to:

 

เทศบาลเมืองไร่ขิง

เทศบาลเมืองไร่ขิง
วัดไร่ขิงริมแม่น้ำท่าจีน
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองไร่ขิง
ตรา
คำขวัญ: 
ไร่ขิงศูนย์ราชการ พุทธสถานล้ำค่า การศึกษารุ่งเรือง เลืองชื่อการเกษตร เขตอุตสาหกรรม นำชุมชนพัฒนา
ทม.ไร่ขิงตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม
ทม.ไร่ขิง
ทม.ไร่ขิง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองไร่ขิง
พิกัด: 13°44′21.3″N 100°15′25.6″E / 13.739250°N 100.257111°E / 13.739250; 100.257111
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอสามพราน
จัดตั้ง • 2 มีนาคม 2538 (อบต.ไร่ขิง)
 • 30 พฤษภาคม 2551 (ทม.ไร่ขิง)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจำรัส ตั้งตระกูลธรรม
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.4 ตร.กม. (9.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด33,549 คน
 • ความหนาแน่น1,320.83 คน/ตร.กม. (3,420.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04730601
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 99 หมู่ที่ 2 ทางหลวงท้องถิ่น นฐ.ถ 4-0005 ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
เว็บไซต์www.raikhing.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตำบลไร่ขิง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Rai Khing
ประเทศไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอสามพราน
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.4 ตร.กม. (9.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด33,549 คน
 • ความหนาแน่น1,320.83 คน/ตร.กม. (3,420.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73210
รหัสภูมิศาสตร์730608
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองไร่ขิง เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ 25.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลไร่ขิงทั้งตำบล

ประวัติ

สภาตำบลไร่ขิงได้รับการจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขิง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 ภายหลังที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 111 ตอน 53 ก ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ต่อมากระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า มีองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีสภาพเหมาะสมสมควรให้จัดตั้งเป็นเทศบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็น เทศบาลเมืองไร่ขิง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

หมู่บ้าน

เทศบาลเมืองไร่ขิงครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลไร่ขิงซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน ได้แก่[2]

  • หมู่ที่ 1 บ้านไร่ขิง
  • หมู่ที่ 2 บ้านไร่หรือบ้านไร่ขิง
  • หมู่ที่ 3 บ้านคลองใหม่
  • หมู่ที่ 4 บ้านคลองมะนาวหรือบ้านไร่ขิง
  • หมู่ที่ 5 บ้านคลองบางพร้าว
  • หมู่ที่ 6 บ้านคลองตาจุ่นหรือบ้านไร่ขิง
  • หมู่ที่ 7 บ้านประชาร่วมใจหรือบ้านถ่าน
  • หมู่ที่ 8 บ้านคลองผีเสื้อหรือบ้านไร่ขิง
  • หมู่ที่ 9 บ้านคลองวัดท่าพูดหรือบ้านคลองท่าพูด
  • หมู่ที่ 10 บ้านคลองบางซื่อ
  • หมู่ที่ 11 บ้านท่าเกวียน
  • หมู่ที่ 12 บ้านคลองฉางหรือบ้านท่าเกวียน
  • หมู่ที่ 13 บ้านคลองบางยางหรือบ้านบางยาง
  • หมู่ที่ 14 บ้านคลองรางเตย

อ้างอิง

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองไร่ขิง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (พิเศษ 102 ง): 22. 18 มิถุนายน 2551.

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya