เทศบาลเมืองบึงยี่โถ |
---|
|
|
ตรา |
คำขวัญ: เมืองน่าอยู่ การศึกษาดี การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยว ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองบึงยี่โถ |
พิกัด: 13°59′42.1″N 100°40′07.6″E / 13.995028°N 100.668778°E / 13.995028; 100.668778 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ปทุมธานี |
---|
อำเภอ | ธัญบุรี |
---|
จัดตั้ง |
- • 2 มีนาคม 2538 (อบต.บึงยี่โถ)
- • 1 สิงหาคม 2550 (ทต.บึงยี่โถ)
- • 25 พฤศจิกายน 2554 (ทม.บึงยี่โถ)
|
---|
การปกครอง |
---|
• นายกเทศมนตรี | รังสรรค์ นันทกาวงศ์ |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 15.393 ตร.กม. (5.943 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร |
---|
• ทั้งหมด | 32,988 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 2,143.05 คน/ตร.กม. (5,550.5 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัส อปท. | 04130302 |
---|
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ซอยรังสิต-นครนายก 70 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 |
---|
เว็บไซต์ | www.buengyitho.go.th |
---|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ตำบลบึงยี่โถ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Tambon Bueng Yitho |
---|
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ปทุมธานี |
---|
อำเภอ | ธัญบุรี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 15.393 ตร.กม. (5.943 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2563) |
---|
• ทั้งหมด | 32,988 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 2,143.05 คน/ตร.กม. (5,550.5 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 12130 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 130302 |
---|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เทศบาลเมืองบึงยี่โถ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเมื่อปี พ.ศ. 2550 และยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2554
ประวัติ
องค์การบริหารส่วนตำบลบึงยี่โถ ซึ่งจัดตั้งมาตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 ได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลบึงยี่โถ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลเมืองบึงยี่โถ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล มีโรงงานอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนหลากหลายอาชีพ ลักษณะโดยรวมเป็นชุมชนเมือง ประชากรเพิ่มมากขึ้น มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว
ตราสัญลักษณ์
- ทางซ้ายมือ (รวงข้าว) หมายถึง การทำนา ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบึงยี่โถ
- ทางขวามือ (ต้นยี่โถ) หมายถึง ไม้พุ่มขนาดกลาง ใบแคบเรียวแหลมเนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็งเป็นสีขาว ดอกออกเป็นช่อแน่นตามปลาย มีกลีบดอก 5 ดอก ออกตลอดปี มีสีแดง ชมพู ขาว เป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ในอดีตมีมากในเขตพื้นที่ตำบลบึงยี่โถ จึงตั้งชื่อว่า "ตำบลบึงยี่โถ"
- ดอกบัว หมายถึง พื้นที่ในเขตจังหวัดปทุมธานีที่ทุกอำเภอในเขตจังหวัดจะมีดอกบัว และดอกบัวตูม 4 ดอก หมายถึง จำนวนหมู่บ้าน 4 หมู่บ้านดั้งเดิมในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ
- ลายไทย หมายถึง จำนวนวัดในเขตพื้นที่ตำบลบึงยี่โถ จำนวน 2 วัด คือ วัดมูลจินดารามและวัดเขียนเขต
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถตั้งอยู่ทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ภาคกลางของประเทศ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอธัญบุรี ประมาณ 6 กิโลเมตร ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ตั้งอยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งทิศใต้ หน้าหมู่บ้านทิวสน คลอง 3 ถนนรังสิต-นครนายก หมู่ที่ 1 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี
เทศบาลเมืองบึงยี่โถมีอาณาเขตครอบคลุมตำบลบึงยี่โถทั้งตำบล มีเนื้อที่ทั้งหมด 15.393 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 9,892 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศ
|
ติดต่อกับ
|
พื้นที่รับผิดชอบของ
|
เหนือ
|
ตำบลคลองสามและตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง
|
อบต.คลองสาม และ อบต.คลองสี่
|
ใต้
|
ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา
|
เทศบาลเมืองลาดสวาย
|
ตะวันออก
|
ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี
|
เทศบาลตำบลธัญบุรี
|
ตะวันตก
|
ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี
|
เทศบาลนครรังสิต
|
ภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไหลผ่านกลางพื้นที่เป็นเส้นแบ่งเขตโดยธรรมชาติ โดยหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4 อยู่ทางทิศเหนือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 1 อยู่ทางทิศใต้มีแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ผ่านประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ และพื้นที่ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ไปยังจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร
เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ มีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 4 และมีชุมชนทั้งหมด 35 ชุมชน
เศรษฐกิจ
อาชีพของประชากรในเขตพื้นที่ตำบลบึงยี่โถ ประกอบไปด้วยอาชีพการเกษตร รับจ้าง ค้าขาย และประกอบอาชีพอื่น ๆ
เขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถเป็นอาณาเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร การสัญจรสะดวก มีการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง ทำให้ที่ดินในพื้นที่มีราคาสูง ส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีอยู่เดิมหันมาประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น
แหล่งท่องเที่ยว
- สวนสนุกดรีมเวิลด์
- สวนทวดจีบ (คลอง 4)
- วัดมูลจินดาราม (หมู่ที่ 3)
- วัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) (หมู่ที่ 2) ติดกับถนนรังสิต-นครนายก
- บีจีสเตเดียม สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
การศึกษา
ในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ มีโรงเรียนระดับประถมจนถึงมัธยมศึกษา จำนวน 3 แห่งคือ
- โรงเรียนวัดเขียนเขต ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบึงยี่โถ
- โรงเรียนวัดมูลจินดาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบึงยี่โถ
- โรงเรียนโชคชัยรังสิต
มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 4 แห่งคือ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมูลจินดาราม (ศูนย์ที่ 1)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดเขียนเขต (ศูนย์ที่ 2)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้านฟ้ารังสิต (ศูนย์ที่ 3)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้านอยู่เจริญ (ศูนย์ที่ 4)
มีโรงเรียนอนุบาลสังกัดเทศบาลเมืองบึงยี่โถ 3 แห่ง คือ
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลบึงยี่โถ 1 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านฟ้ารังสิต หมู่ที่ 3
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลบึงยี่โถ 2 ตั้งอยู่ในซอยวัดเขียนเขต ติดกับโรงเรียนวัดเขียนเขต
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลบึงยี่โถ 3 ตั้งอยู่ที่วัดมูลจินดาราม ติดกับโรงเรียนวัดมูลจินดาราม
มีมหาวิทยาลัย 1 แห่ง คือ
- มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต (หมู่ที่ 2 ตำบลบึงยี่โถ)
การสาธารณสุข
เทศบาลเมืองบึงยี่โถมีศูนย์บริการสุขภาพชุมชน 3 แห่ง คือ
- ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนที่ 1 ตั้งอยู่ที่ สำนักงานเทศบาลเมืองบึงยี่โถ หมู่ที่ 1
- ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนที่ 2 ตั้งอยู่ที่ บริเวณวัดมูลจินดาราม หมู่ที่ 3
- ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนที่ 3 ตั้งอยู่ที่ บริเวณวัดเขียนเขต ถนนรังสิต-นครนายก หมู่ที่ 2 (ถ่ายโอนจากสถานีอนามัยเดิม)
การขนส่ง
เขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถเป็นพื้นที่อยู่ในเขตปริมณฑล การสัญจรไปมาสะดวกมีถนนสายหลักที่สำคัญคือ ถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ซึ่งแยกจากถนนพหลโยธิน ช่วงตำบลประชาธิปัตย์ ผ่านพื้นที่ตำบลบึงยี่โถ และตำบลอื่น ๆ ในอำเภอธัญบุรี ไปอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น