เทศบาลเมืองทับกวาง
เทศบาลเมืองทับกวาง เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับกวางทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 19,425 คน[1] ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม และการค้าขาย มีเส้นทางการคมนาคมทั้งทางรถยนต์และรถไฟเป็นทางผ่านที่จะเดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเส้นทางคมนาคมหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)[2] ประวัติตำบลทับกวาง เดิมเรียกว่า "บ้านลาว" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีเชื้อสายบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศลาวอพยพที่พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าให้ต้อนมาจากนครเวียงจันทน์ ต่อมาเริ่มมีราษฎรมากขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสมัยที่เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ เพราะอาจจะเกิดแบ่งแยกชนชั้นขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "บ้านทับกวาง" ซึ่งคำว่า "ทับ" หมายถึง การสร้างที่พักชั่วคราวบนต้นไม้ของพรานป่า ได้ประกาศจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็น "เทศบาลตำบลทับกวาง" และมีการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลทับกวางเป็นเทศบาลเมืองทับกวาง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555[3] ภูมิศาสตร์เทศบาลเมืองทับกวาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอแก่งคอย ห่างจากอำเภอแก่งคอยประมาณ 10 กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดสระบุรี โดยอยู่ห่างจากอำเภอเมืองสระบุรีประมาณ 22 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศจะเป็นที่ราบสูงและภูเขา ตำบลทับกวาง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
สภาพภูมิประเทศของเทศบาลเมืองทับกวางเป็นพื้นที่ราบสูงและเขาเป็นส่วนใหญ่ สภาพภูมิอากาศของเทศบาลเมืองทับกวางมีลักษณะฤดูร้อนค่อนข้างร้อนและในฤดูหนาวจะค่อนข้างเย็น ช่วงฤดูฝนพื้นที่บริเวณที่ราบสูงฝนมักไม่ตกต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 40 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเต่ำสุด 23.4 องศาเซลเซียส การแบ่งเขตการปกครองเทศบาลเมืองทับกวาง แบ่งการปกครองตามรูปแบบหมู่บ้านออกเป็น 10 หมู่บ้าน และชุมชน 32 ชุมชนในเขตเทศบาล ดังนี้
นายกเทศมนตรีทำเนียบรายนามนายกเทศมนตรี นับแต่ตำบลถูกยกระดับจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
ประชากรปี พ.ศ. 2561 เทศบาลเมืองทับกวางมีประชากรรวมทั้งสิ้น 19,425 คน ประชากรชาย 9,667 คน ประชากรหญิง 9,758 คน[1] ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปศุสัตว์ รับจ้าง พนักงานบริษัท และการค้าขาย สถานที่ท่องเที่ยว
วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ตั้งอยู่หมู่บ้านดอนยอ เป็นวัดที่มีถ้ำที่มีรอยแกะสลักภาพจำหลักสมัยทวาราวดีเป็นภาพพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทปางวิตรรกะ ท่ามกลางเหล่าเทพอยู่ภายในถ้ำ นอกจากนี้ยังมีหินงอกหินย้อย มีน้ำตก มีถ้ำธรรมทัศน์ และถ้ำลุมพินี
ผาเสด็จ ตั้งอยู่บ้านเขาเกตุ ใกล้กับสถานีรถไฟผาเสด็จ มีหินผาขนาดใหญ่เป็นชะง่อนยื่นออกมาขวางเส้นทางรถไฟสายแก่งคอย-มวกเหล็กซึ่งวิศวกรชาวฝรั่งเศสพยายามจะระเบิดทำลายเพื่อจะทำทางรถไฟผ่านก็ไม่สามารถระเบิดได้ มีคนงานเสียชีวิตในระหว่างก่อสร้างเป็นจำนวนมากจนกระทั่งความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จึงได้เสด็จมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เพื่อทอดพระเนตร และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ "จปร" "สผ" "รศ.115" ไว้บนก้อนหินนั้น ซึ่งยังคงมีจารึกอยู่จนถึงกระทั่งปัจจุบันนี้ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|