Share to:

 

เทศบาลเมืองพิจิตร

เทศบาลเมืองพิจิตร
บึงสีไฟ
ทม.พิจิตรตั้งอยู่ในจังหวัดพิจิตร
ทม.พิจิตร
ทม.พิจิตร
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองพิจิตร
พิกัด: (23000) 16°26′35″N 100°20′48″E / 16.44306°N 100.34667°E / 16.44306; 100.34667
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิจิตร
อำเภอเมืองพิจิตร
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสุรพล เตียวตระกูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด12.017 ตร.กม. (4.640 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด21,580 คน
 • ความหนาแน่น1,795.78 คน/ตร.กม. (4,651.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04660102
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนบุษบา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 66000
เว็บไซต์www.phichitmuni.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พิจิตร เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร เป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งขึ้นเป็นลำดับที่สองของจังหวัดต่อจากเทศบาลเมืองบางมูลนาก ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองพิจิตร มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมืองทั้งตำบล มีพื้นที่ 12.017 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 21,580 คน

ประวัติ

พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1601 ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท และจากพงศาวดารเหนือ พระยาโคตรตะบองได้ย้ายเมืองจากนครไชยบวรมาตั้งที่หมู่บ้านสระหลวง โดยได้เริ่มฝังหลักเมือง และได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองสระหลวง ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองโอฆบุรี ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองพิจิตร ซึ่งมีความหมายว่า "เมืองงาม" จนถึงปัจจุบัน

เทศบาลเมืองพิจิตรเดิมเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดพิจิตร ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองพิจิตร เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 มีพื้นที่เขตเทศบาล 1.88 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2499 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิจิตรเป็น 3.17 ตารางกิโลเมตร และในปี พ.ศ. 2512 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิจิตรเป็น 12.017 ตารางกิโลเมตร[2]

ภูมิศาสตร์

เมืองพิจิตรเป็นเมืองที่มีแม่น้ำน่านไหลผ่าน โดยตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งด้านตะวันตกของแม่น้ำน่านในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร และเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด พื้นที่เขตเทศบาลมี 12.017 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปากทาง อำเภอเมืองพิจิตร
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลปากทางและตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมืองพิจิตร

ชุมชน

เทศบาลเมืองพิจิตรมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 25 ชุมชน ดังนี้ (ข้อมูลจากสำนักทะเบียนเทศบาลเมืองพิจิตร)

  1. ชุมชนหน้าบึงสีไฟ
  2. ชุมชนบึงสีไฟตอนล่าง
  3. ชุมชนบึงสีไฟตอนบน
  4. ชุมชนขุนแผน
  5. ชุมชนศรีมาลา
  6. ชุมชนราชวิถี
  7. ชุมชนวัดท่าหลวง
  8. ชุมชนกลางเมือง
  9. ชุมชนบุษบา
  10. ชุมชนตลาดสดเทศบาล 1
  11. ชุมชนตลาดสดเทศบาล 2
  12. ชุมชนสระหลวง
  13. ชุมชนศาลเจ้าพ่อหลวง
  14. ชุมชนพิจิตรธานี
  15. ชุมชนประชาอุทิศ
  16. ชุมชนปากทาง
  17. ชุมชนปากคลองท่าหลวง
  18. ชุมชนราชรถ
  19. ชุมชนคลองคะเชนทร์ใน
  20. ชุมชนคลองคะเชนทร์นอก
  21. ชุมชนหลังสถานีรถไฟ
  22. ชุมชนฝั่งสถานีรถไฟเหนือ
  23. ชุมชนหน้าและหลังสถานีรถไฟ
  24. ชุมชนฝั่งสถานีรถไฟใต้
  25. ชุมชนประตูน้ำคลองท่าหลวง

ทางหลวง

ทางหลวงที่ผ่านเขตเทศบาล ได้แก่

อ้างอิง

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองพิจิตร". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 117 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2512

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya