Share to:

 

เทศบาลเมืองตะกั่วป่า

เทศบาลเมืองตะกั่วป่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Takua Pa
ถนนเพชรเกษมบริเวณวัดนิกรวราราม (วัดย่านยาว)
ถนนเพชรเกษมบริเวณวัดนิกรวราราม (วัดย่านยาว)
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองตะกั่วป่า
ตรา
คำขวัญ: 
ตะกั่วป่าเมืองน่าอยู่ ฟื้นฟูประเพณี คนดีสังคมดี มีนามแหล่งท่องเที่ยว
ทม.ตะกั่วป่าตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา
ทม.ตะกั่วป่า
ทม.ตะกั่วป่า
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองตะกั่วป่า
พิกัด: 8°51′57″N 98°20′27.5″E / 8.86583°N 98.340972°E / 8.86583; 98.340972
ประเทศ ไทย
จังหวัดพังงา
อำเภอตะกั่วป่า
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสันติสุข ณ ถลาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด3.019 ตร.กม. (1.166 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด8,514 คน
 • ความหนาแน่น2,820.13 คน/ตร.กม. (7,304.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04820501
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 333 ถนนราษฎร์บำรุง ตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82110
เว็บไซต์www.takuapacity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองตะกั่วป่า เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกั่วป่าทั้งตำบล

ประวัติ

เทศบาลเมืองตะกั่วป่าจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองตะกั่วป่าเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2480 โดยให้ยกฐานะบางส่วนของตำบลตลาดเหนือ ตำบลตลาดใต้ และตำบลย่านยาว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้มีฐานะเป็นเทศบาลเมือง

ปี พ.ศ. 2535–2537 เทศบาลเมืองตะกั่วป่าได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาล ตามนโยบายของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดแบ่งเขตชุมชนย่อยออกเป็นชุมชนเมืองจำนวน 6 ชุมชน คือ ชุมชนเสนาราษฎร์ ชุมชนบ้านย่านยาว ชุมชนศรีเมือง ชุมชนบางมรา-ตอตั้ง ชุมชนราษฎร์บำรุง ชุมชนตลาดใหญ่ และได้จัดตั้งเพิ่มอีก 1 ชุมชนเมืองในปี พ.ศ. 2547 คือ ชุมชนเสนานุชรังสรรค์

สัญลักษณ์

เทศบาลเมืองตะกั่วป่ามีดวงตราสัญลักษณ์เป็นรูป พระนารายณ์ เป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ สีผิวคล้ำ มีสี่กร ทรงถือสังข์ จักร คทา และดอกบัว

สันนิษฐานว่าชาวอินเดียเป็นผู้นำวัฒนธรรมและศิลปกรรมอินเดียมาเผยแพร่ทางตะวันออก เล่ากันว่า พม่าเคยลักพาเทวรูปพระนารายณ์ซึ่งแกะสลักด้วยหินซิสต์พิงอยู่ใต้ต้นตะแบกตรงปากเวียง แต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดพายุและฝนตกหนัก เลยต้องนำมาคืนโดยทิ้งไว้ที่ริมฝั่ง และเมื่อมุงหลังคาก็เกืดมีพายุ ฝนตกน้ำท่วมจึงต้องวางเทวรูปไว้กลางแจ้ง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว เทศบาลเมืองตะกั่วป่าจึงนำมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล

อ้างอิง

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองตะกั่วป่า". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya