Share to:

 

เทศบาลเมืองนาสาร

เทศบาลเมืองนาสาร
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองนาสาร
ตรา
คำขวัญ: 
นาสารเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม ส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น ประชาชนมีการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตรอย่างยั่งยืน
ทม.นาสารตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทม.นาสาร
ทม.นาสาร
พิกัด: 8°47′58.12″N 99°21′48.50″E / 8.7994778°N 99.3634722°E / 8.7994778; 99.3634722
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอบ้านนาสาร
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโกศล ศุทธางกูร
พื้นที่
 • ทั้งหมด67.13 ตร.กม. (25.92 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด19,871 คน
 • ความหนาแน่น296.00 คน/ตร.กม. (766.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04841201
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 30 ถนนเทศบาล2 ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84120
เว็บไซต์nasancity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองนาสาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลนาสาร เมื่อปี พ.ศ. 2547

ประวัติ

นาสารเป็นตำบลแห่งหนึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นท้องที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และแร่ธาตุ จึงมีประชากรต่างถิ่นเคลื่อนย้ายมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน เช่น ทำกิจการเหมืองแร่ ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ทำให้ตำบลนาสารมีประชากรหนาแน่น การค้าเจริญ รุ่งเรือง เศรษฐกิจโดยร่วมดีขึ้นตามดำดับ พร้อมทั้งยังเป็นที่ตั้งของส่วนราชการและสถานศึกษา ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวในปี พ.ศ. 2483 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง เทศบาลตำบลนาสาร ขึ้น เพื่อความสะดวกในบริหารและการปกครอง แต่เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางเกินกว่าที่จะปกครองควบคุมดูแลได้ทั่วถึง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2484 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลนาสาร คงเหลือพื้นที่ทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน 67.13 ตารางกิโลเมตร ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลนาสารเป็น เทศบาลเมืองนาสาร[1]

สภาพทางภูมิศาสตร์

เทศบาลเมืองนาสาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครทางรถยนต์ 700 กิโลเมตร และทางรถไฟ 673 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ จดตำบลควนสุบรรณและอำเภอบ้านนาเดิม
  • ทิศใต้ จดตำบลคลองปราบ
  • ทิศตะวันออก จดตำบลลำพูน
  • ทิศตะวันตก จดตำบลน้ำพุ

ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขา ภายในบริเวณเขตเทศบาล มีลำห้วยหลายแห่งและมีลำคลองฉวางกว้างไหลผ่านกลางตัวเมืองจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ ส่วนที่ราบสูงมีเพียงเล็กน้อย

พื้นที่ของเขตเทศบาลเมืองนาสาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้รับอิทธิพลจากลมสรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรอินเดีย จึงทำให้มีช่วงฤดูฝนที่ยาวนาน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม

ตราสัญลักษณ์

ตราเทศบาลเมืองนาสาร

ตราเทศบาลเมืองนาสารเป็นรูปวงกลมภายในมีรูปช้างสามเศียรทูนพานแร่มีเปลวแสงสว่างจากก้อนแร่ และมีตัวอักษรชื่อ "เทศบาลเมืองนาสาร สุราษฎร์ธานี" อยู่รอบนอก นายบุญสม ชูสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีคนที่สองของเทศบาลเป็นผู้คิดค้นร่างภาพขึ้นมา รวบรวมความคิดจากหลาย ๆ ฝ่ายถือภาพร่างเข้าที่ประชุม ที่ปรึกษาประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล พนักงาน เทศบาล และชาวบ้าน ท่านเอารูปให้ดูแล้วถามว่า "ใครช่วยอธิบายภาพเหล่านี้ด้วยว่าความคิดจะตรงกันหรือไม่" คณะที่ปรึกษานายกเทศมนตรีปรึกษาหารืออยู่พักหนึ่งแล้วท่านผู้หนึ่งก็ตอบว่า "เป็นรูปช้างสามหัวทูนลูกส้มโอ" นายกเทศมนตรีหน้าเสียไปเล็กน้อย "เราเขียนรูปช้างสามหัวทูนพานแร่ ทำไมดูเป็นลูกส้มโอไป" ที่ปรึกษาท่านหนึ่งจึงแก้ว่า "แร่ที่เหมือนส้มโอหรือคล้าย ๆ ก็มี ไม่ต้องแก้ให้ยาก เอาอย่างนี้แหละ" ตราเทศบาลจึงปรากฏเช่นที่เห็นในปัจจุบัน

เขตการปกครอง

เทศบาลเมืองนาสารแบ่งเขตการปกครองและการบริหารออกเป็น 24 ชุมชน ดังนี้

  1. ชุมชนคลองฉวาง
  2. ชุมชนนาสารนอก
  3. ชุมชนคลองหา
  4. ชุมชนศรีเวียง
  5. ชุมชนพูนศิริ
  6. ชุมชนประชาสามัคคี
  7. ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ
  8. ชุมชนวังหล้อ
  9. ชุมชนปลายรางพัฒนา
  10. ชุมชนนายาง
  11. ชุมชนเหมืองแกะ
  12. ชุมชนขุนทองหลาง (คลองช้าง)
  13. ชุมชนทุ่งคาเกรียน
  14. ชุมชนสะพานหนึ่ง
  15. ชุมชนหนองม่วง
  16. ชุมชนซอยร่วมใจ
  17. ชุมชนสวนมังคุด
  18. ชุมชนทุ่งคาเกรียนใหม่
  19. ชุมชนห้วยมุด 1
  20. ชุมชนห้วยมุด 2
  21. ชุมชนห้วยมุด 3
  22. ชุมชนท่าพลา
  23. ชุมชนอู่มาด
  24. ชุมชนนาเตรียะ

ประชากร

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองนาสาร ตามสถิติการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 1 กันยายน 2552 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 19,871 คน แยกเป็นชาย 9,852 คน หญิง 10,019 คน จำนวนครัวเรือน 6,620 ครัวเรือน

ประชากรในเทศบาลเมืองนาสารส่วนใหญ่ 99.0 % นับถือศาสนาพุทธ นอกเหนือจากนั้นนับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ และศาสนาอื่นรวมกันประมาณ 1.0 % มีวัด 4 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง ประชาชนยังยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณีทางศาสนา เช่น ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลขึ้นปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น

การศึกษา

ประชากรในเขตเทศบาลเมืองนาสาร เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษา ในปัจจุบันเทศบาลเมืองนาสารเป็นเขตปลอดผู้ไม่รู้หนังสือ สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จัดให้มีการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษา

  • สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านนาสาร
  • สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 1 แห่ง คือ โรงเรียนนาสาร
  • สถานศึกษาสังกัดเทศบาล 6 แห่ง คือ
    • โรงเรียนเทศบาล 1 (ห้วยมุด) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    • โรงเรียนเทศบาล 2 (อู่มาด) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    • โรงเรียนเทศบาล 3 (คลองหา) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    • โรงเรียนเทศบาล 4 (ทุ่งคาเกรียน) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    • โรงเรียนเทศบาล 5 (วสุนธราภิวัฒน์) เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองนาสาร เปิดการเรียนการสอนระดับ ปวช.
  • สถานศึกษาสังกัดการศึกษาเอกชน 3 แห่ง คือ โรงเรียนพุทธยาศรม โรงเรียนอนุบาลนวพร โรงเรียนจงฮั้ว

สาธารณสุข

ในเขตเทศบาลเมืองนาสารมีสถานพยาบาลที่เป็นของรัฐ 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลบ้านนาสาร เป็นโรงพยาบาลทั่วไปสามรถรองรับผู้ป่วยได้ 60 เตียง คลินิก 5 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล 1 แห่ง ศูนย์สาธารสุขชุมชน 2 แห่ง

การขนส่ง

เทศบาลเมืองนาสารมีความสะดวกในการคมนาคมขนส่งติดต่อ ทั้งภายในเขตเทศบาลและตำบลใกล้เคียง ตลอดจนอำเภอและจังหวัดอื่น ๆ โดยทางรถยนต์และทางรถไฟกล่าว คือ

ส่วนการคมนาคมภายในเขตเทศบาลและตำบลใกล้เคียงสามารถไปมาติดต่อได้โดยสะดวก เนื่องจากมีถนนลาดยางแอสฟัลท์ติกและถนนคอนกรีตที่สามารถใช้ได้ตลอดปี

อ้างอิง

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองชะอำ, เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ, เทศบาลเมืองเบตง, เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร, เทศบาลเมืองนาสาร, เทศบาลเมืองบัวใหญ่)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya