ปี
|
ชื่อสนธิสัญญา
|
ภาคีและเนื้อหา
|
1900
|
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1900) Treaty of Paris (1900)
|
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับจักรวรรดิฝรั่งเศส เนื้อหา : เพื่อยุติข้อพิพาทในสิทธิริโอ มูนิ (อิเควทอเรียลกินี)
|
1901
|
Hay-Pauncefote Treaty Hay-Pauncefote Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร เนื้อหา : เพื่อเพิกถอนสนธิสัญญาเคลย์ตัน-บุลเวอร์ ที่ทำในปี ค.ศ. 1850 เพื่อมอบสิทธิแก่สหรัฐในการสร้างและควบคุมคลองข้ามอเมริกากลางที่เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติก
|
พิธีสารนักมวย Boxer Protocol หรือ Peace Agreement between the Great Powers and China
|
ชื่อทางการ: Austria-Hungary, Belgium, France, Germany, Great Britain, Italy, Japan, Netherland, Russia, Spain, United States and China —Final Protocol for the Settlement of the Disturbances of 1900 ภาษาไทย: ออสเตรีย-ฮังการี, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, รัสเซีย, สเปน, สหรัฐอเมริกา และ จีน—พิธีสารฉบับสุดท้ายเพื่อการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความไม่สงบของปี ค.ศ. 1900 ระหว่างจีนกับพันธมิตรแปดประเทศ
|
1902
|
พันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น Anglo-Japanese Alliance
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิญี่ปุ่น เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา; ต่ออายุในปี ค.ศ. 1905 และต่อมา ค.ศ. 1911; เพิกถอน ค.ศ. 1923
|
สนธิสัญญาเวอร์เรียนไนจิง Treaty of Vereeniging
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และ ฝ่ายเสรีรัฐออเรนจ์ และสหราชอาณาจักร เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-โบเออร์ครั้งที่ 2
|
1903
|
สนธิสัญญาคิวบา-อเมริกา Cuban-American Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐคิวบา เนื้อหา : คิวบาให้สหรัฐอเมริกาเช่าบริเวณอ่าวกวานทานาโม
|
สนธิสัญญาเฮย์-เฮอร์รัน Hay-Herran Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับโคลอมเบีย เนื้อหา : สหรัฐพยายามทำสัญญาเช่าปานามา เนื้อหาของสนธิสัญญาได้รับการอนุมัติในสหรัฐ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติในโคลอมเบีย ซึ่งไม่สามารถใช้บังคับได้
|
สนธิสัญญาเฮย์-เฮอร์เบิร์ต Hay-Herbert Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างแอลาสกาและแคนาดาระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาเฮย์-บูเนา วาริลลา Hay-Bunau Varilla Treaty หรือ Treaty No Panamanian Signed
|
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งโซนคลองปานามา
|
สนธิสัญญาเพโทรโพลิส Treaty of Petrópolis
|
ระหว่าง : โบลิเวียกับบราซิล เนื้อหา : เพื่อลดความตรึงเครียดระหว่างคู่สัญญาในกรณีเอเคอร์
|
1904
|
ความตกลงฉันทไมตรี entente cordiale
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส เนื้อหา : เพื่อลดความขัดแย้งผลประโยชน์ต่างๆที่มีกันมาอย่างยาวนาน และต่างฝ่ายต่างยอมรับผลประโยชน์และการรักษาอำนาจซึ่งกันและกันของคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 Franco–Siamese Treaty of 1904
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรสยาม เนื้อหา : ว่าด้วยการยกอาณาเขตปกครองฝั่งตะวันออกของสยามที่เรียกว่า"ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง" (เมืองไชยบุรี ฝั่งตะวันตกของเมืองหลวงพระบาง เมืองจำปาศักดิ์ เมืองตระแบงมีชัย บางส่วนของเมืองสตึงแตรง) ไปให้เป็นของฝรั่งเศส; ได้ดินแดนคืนในปี พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2489
|
1905
|
สนธิสัญญาพอร์ตสมัท Treaty of Portsmouth
|
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ว่าด้วยการยุติสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
|
สนธิสัญญาโควิสโท Treaty of Koivisto หรือ Treaty of Björkö
|
ระหว่าง : จักรวรรดิเยอรมนีกับจักรวรรดิรัสเซีย เนื้อหา : ข้อตกลงลับในการร่วมมือในการต่อต้านการรุกราน
|
แถลงการณ์เดือนตุลาคม October Manifesto หรือ The Manifesto on the Improvement of the State Order
|
เนื้อหา : คำแถลงการณ์โดยซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียในการตอบโต้ การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 ที่ระบุว่าจะพระราชทานเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการออกความเห็น และอื่น ๆ แก่ประชาชน แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่อนคลายความตึงเครียดลง พระองค์ก็ทรงหันไปปกครองโดยสิทธิ์ขาดตามเดิม
|
ความตกลงทาฟต์-คัตซุระ Taft-Katsura Agreement หรือ Taft-Katsura Memorandum
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับจักรวรรดิญี่ปุ่น เนื้อหา : เพื่อทำความตกลงกันในเรื่อง "วงอิทธิพล" (Sphere of influence) ในเอเชียของแต่ละฝ่าย
|
สนธิสัญญาอึลซา Eulsa Treaty
|
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับจักรวรรดิเกาหลี เนื้อหา : เริ่มการยึดครองเกาหลีโดยญี่ปุ่นเข้ายึดครองแล้วกำหนดให้เป็นอาณานิคมอารักขา ข้อตกลงที่เป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น; ยกเลิก ค.ศ. 1965
|
สนธิสัญญาฉบับที่ 9 Treaty 9 หรือ James Bay Treaty
|
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ประมุขแห่งแคนาดาและกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[16]
|
1906
|
อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สอง Second Geneva Convention
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดูแลรักษาทหารผู้บาดเจ็บ, เจ็บป่วย และ เรือแตกกลางทะเล
|
สนธิสัญญาหมายเลข 10 Treaty 10
|
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ประมุขแห่งแคนาดาและกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[17]
|
1907
|
สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 Franco–Siamese Treaty of 1907
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรสยาม เนื้อหา : สยามมอบดินแดนมณฑลบูรพา (พระตะบอง, เสียมราฐ, ศรีโสภณ) ไปให้เป็นของฝรั่งเศส; ได้ดินแดนคืนในปี พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2489
|
1909
|
สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 Anglo-Siamese Treaty of 1909 หรือ Bangkok Treaty of 1909
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับราชอาณาจักรสยาม เนื้อหา : สยามมอบดินแดนทั้งสี่รัฐมลายู (ดินแดนตอนเหนือของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) ให้แก่อังกฤษอย่างเป็นทางการ; ได้ดินแดนคืนในปี พ.ศ. 2486 ถึง พ.ศ. 2489
|
1910
|
สนธิสัญญาญี่ปุ่น–เกาหลี ค.ศ. 1910 Japan-Korea Annexation Treaty
|
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับจักรวรรดิเกาหลี เนื้อหา : การตกลงการผนวกดินแดนโดยญี่ปุ่น ที่เป็นการยกเลิกการปกครองตนเองของเกาหลี หลังจากที่ก่อนหน้านี้ถูกกำหนดให้เป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่น; เพิกถอนในปี ค.ศ. 1965
|
1911
|
อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์และพิทักษ์แมวน้ำเฟอร์แห่งแปซิฟิคเหนือ (ค.ศ. 1911) North Pacific Fur Seal Convention of 1911
|
คือสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการตกลงควบคุมการล่าแมวน้ำเฟอร์เพื่อการค้าในหมู่เกาะพริบิลอฟในทะเลแบริง อนุสัญญาฉบับนี้เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมและอนุรักษ์สัตว์ป่า
|
1912
|
อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการผลิตและการขายฝิ่นนานาชาติ International Opium Convention
|
ระหว่าง : ประเทศต่างที่รวมทั้งประเทศไทย อนุสัญญาฉบับนี้เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมยาเสพติดนานาชาติโดยมีวัตถุประสงค์ให้ภาคีแต่ละชาติผู้ลงนามพยายามควบคุมผู้ผลิต, นำเข้า, ขาย และส่งมอร์ฟีนและโคเคนออก
|
1913
|
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1913) Treaty of London, 1913
|
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
|
สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1913) Treaty of Bucharest, 1913
|
ระหว่าง : บัลแกเรีย, โรมาเนีย, เซอร์เบีย, มอนเตเนโกร และกรีซ เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ลงนามในข้อ
|
สนธิสัญญามิตรภาพและพันธมิตรระหว่างทิเบตและมองโกเลีย (ค.ศ. 1913) Treaty of friendship and alliance between the Government of Mongolia and Tibet
|
ระหว่าง : ทิเบต, มองโกเลีย
|
1914
|
สนธิสัญญาไบรอัน-ชาโมร์โร Bryan-Chamorro Treaty
|
เนื้อหา : สหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิในคลองที่ขุดในนิการากัว, สิทธิในการสร้างฐานรัฐนาวีในอ่าวฟอนเซคา และสิทธิในการเช่าหมู่เกาะคอร์นเล็กและใหญ่ในคาริบเบียน
|
1915
|
กติกาสัญญาลอนดอน London Pact
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย และฝรั่งเศส กับอิตาลี เนื้อหา : อิตาลีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
|
1916
|
ความตกลงไซค์ส-พิคอท Sykes-Picot Agreement
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส เนื้อหา : เพื่อกำหนดวงอิทธิพบในตะวันออกกลาง
|
สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1916) Treaty of Bucharest, 1916
|
ระหว่าง : โรมาเนียกับพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายพันธมิตร
|
1917
|
ความตกลงแลนซิง-อิชิอิ Lansing-Ishii Agreement
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น เนื้อหา : เนื้อหา : เพื่อตกลงทางการค้า
|
ปฏิญญาคอร์ฟู Corfu Declaration
|
เนื้อหา : เพื่อแสดงความตั้งใจในการก่อตั้งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
|
1918
|
สนธิสัญญาสงบศึกมูโดรส Armistice of Mudros
|
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมันกับพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื้อหา : ออตโตมันเสียดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิ
|
สนธิสัญญาบาตัม Treaty of Batum
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาร์มีเนียกับจักรวรรดิออตโตมัน
|
สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ Treaty of Brest-Litovsk
|
เนื้อหา : รัสเซียถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1
|
สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1918) Treaty of Bucharest, 1918
|
ระหว่าง : : โรมาเนีย และฝ่ายมหาอำนาจกลาง; ไม่ได้รับอนุมัติ
|
1919
|
สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง Treaty of Saint-Germain
|
เนื้อหา : ยุบจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
|
สนธิสัญญาแวร์ซาย Treaty of Versailles
|
เนื้อหา : ยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ
|
สนธิสัญญาเนอยี-ซูร์-แซน Treaty of Neuilly-sur-Seine
|
เนื้อหา : บัลแกเรียกับฝ่ายสัมพันธมิตร
|
ความตกลงไฟซาล-ไวซ์มันน์ Faisal–Weizmann Agreement
|
เนื้อหา : ข้อตกลงเพื่อความร่วมมือระหว่างอาหรับ-ยิวในตะวันออกกลาง
|
สนธิสัญญาราวัลปินดี Treaty of Rawalpindi
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับอัฟกานิสถาน เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ทำกันระหว่างสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่ 3; สหราชอาณาจักรรับรองอิสรภาพและให้เอกราชแก่อัฟกานิสถาน; แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1921
|
1920
|
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1920) Treaty of Paris (1920)
|
ระหว่าง : : ฝ่ายมหาอำนาจ (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี และญี่ปุ่น) กับโรมาเนีย เนื้อหา : เพื่อรับรองเอกราชของโรมาเนียเหนือเบสซาราเบีย
|
สนธิสัญญาบรโน (ค.ศ. 1920) Treaty of Brno (1920)
|
ระหว่าง : ออสเตรียกับเชโกสโลวาเกีย เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงให้สัญชาติแก่ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานและพูดภาษาในเขตแดนของตนเองทั้งหมด ยกเว้นชาวยิว
|
สนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1920) Treaty of Rapallo, 1920
|
ระหว่าง : อิตาลี และราชอาณาจักรเซอร์เบีย, โครเอเชีย และสโลวีเนีย (ต่อมาเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย) เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนในบริเวณภูมิภาคชายแดนจูเลียนระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญามอสโก (ค.ศ. 1920) Treaty of Moscow (1920)
|
ระหว่าง : รัสเซียกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย เนื้อหา : รัสเซียรับรองฐานะของจอร์เจียเป็นการแลกเปลี่ยนกับการไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบอลเชวิค
|
สนธิสัญญาทาร์ทู (รัสเซีย-ฟินแลนด์) Treaty of Tartu (Russian–Finnish)
|
ระหว่าง : รัสเซียกับฟินแลนด์ เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาทาร์ทู (รัสเซีย-เอสโทเนีย) Treaty of Tartu (Russian–Estonian)
|
ระหว่าง : รัสเซียกับเอสโทเนีย เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาทรียานง Treaty of Trianon
|
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฮังการี เนื้อหา : เพื่อกำหนดพรมแดนฮังการีซึ่งเป็นประเทศที่ก่อตั้งขึ้นใหม่
|
สนธิสัญญาแซฟวร์ Treaty of Sèvres
|
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับจักรวรรดิออตโตมัน เนื้อหา : ฝ่ายพันธมิตรตกลงแบ่งแยกจักรวรรดิตามความตกลงลับ
|
สนธิสัญญาสันติภาพลัตเวีย-โซเวียต Latvian–Soviet Peace Treaty หรือ Latvian-Soviet Riga Peace Treaty
|
ระหว่าง : รัสเซียกับสาธารณรัฐลัตเวีย เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามประกาศเอกราชลัตเวียและรักษาสันติภาพระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
|
สนธิสัญญาอเล็กซานโดรโพล Treaty of Alexandropol
|
ระหว่าง : ตุรกีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาร์มีเนีย เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามตุรกี-อาร์มีเนียระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
|
สนธิสัญญาสพิทสแบร์เกิน Spitsbergen Treaty หรือ Treaty concerning Spitsbergen
|
เนื้อหา : เพื่อรับรองสิทธิของนอร์เวย์ในกลุ่มเการสพิทสแบร์เกิน (ปัจจุบัน สฟาลบาร์)
|
สนธิสัญญาไทย-สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2463 Treaty and Protocol (1920)
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับประเทศไทย เนื้อหา : เพื่อรับรองเอกราชทางการศาลและภาษีศุลกากรของไทย และยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเนื้อหาของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ไทยได้ทำกับประเทศอื่นและได้รับผลกระทบ
|
1921
|
สนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ Franco-Polish Military Alliance
|
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับโปแลนด์ เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือกันทางการทหารระหว่างคู่สัญญาระหว่าง ค.ศ. 1921 และ ค.ศ. 1940
|
สนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ Anglo-Irish Treaty หรือ Articles of Agreement for a Treaty Between Great Britain and Ireland
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับไอร์แลนด์ เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-ไอร์แลนด์และก่อตั้งเสรีรัฐไอร์แลนด์
|
สนธิสัญญาสันติภาพริกา Peace of Riga หรือ Treaty of Riga
|
ระหว่าง : รัสเซียบอลเชวิคกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซียน-บอลเชวิค
|
สนธิสัญญาทอมสัน-ยูร์รูเชีย Thomson-Urrutia Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับโคลอมเบีย เนื้อหา : โคลอมเบียรับรองอิสรภาพของอิสรภาพของปานามาเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1921) Treaty of Berlin, 1921
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับเยอรมนี เนื้อหา : ข้อตกลงสันติภาพระหว่างคู่สัญญาที่กระทำสงครามโลกครั้งที่ 1
|
สนธิสัญญาคาร์ส Treaty of Kars
|
ระหว่าง : ขบวนการแห่งชาติตุรกี กับฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างภาคีสัญญา
|
สนธิสัญญาอังการา (ค.ศ. 1921) Treaty of Ankara (1921) หรือ Accord of Ankara หรือ Franklin-Bouillon Agreement หรือ Franco-Turkish Agreement of Ankara
|
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับขบวนการแห่งชาติตุรกี เนื้อหา : ฝรั่งเศสตกลงอพยพออกจากซิลิเซียเป็นการแลกเปลี่ยนกับการลดหย่อนทางเศรษฐกิจโดยตุรกี; ตุรกีรับรองอธิปไตยของฝรั่งเศสต่อซีเรีย
|
สนธิสัญญามิตรภาพรัสเซีย-เปอร์เซีย (ค.ศ. 1921) Russo-Persian Treaty of Friendship (1921)
|
ระหว่าง : อิหร่านกับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : เพื่อมอบสิทธิการเดินเรือในทะเลแคสเปียนอย่างเต็มที่และอย่างเท่าเทียมกันแก่คู่สัญญา
|
สนธิสัญญามอสโก (ค.ศ. 1921) Treaty of Moscow (1921)
|
ระหว่าง : รัฐบาลบอลเชวิคของรัสเซียบอลเชวิคกับสภาแห่งชาติแห่งตุรกี เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาหมายเลข 11 Treaty 11 (Northwest Territories)
|
ระหว่าง : พระเจ้าจอร์จที่ 5 ประมุขแห่งแคนาดาและกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[18]
|
1922
|
สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน Washington Naval Treaty หรือ Five-Power Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, จักรวรรดิญี่ปุ่น, สาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชอาณาจักรอิตาลี เนื้อหา : เพื่อพยายามจำกัดการขยายตัวทางนาวี
|
สนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1922) Treaty of Rapallo, 1922
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐไวมาร์กับรัสเซียบอลเชวิค เนื้อหา : คู่สัญญาแต่ละฝ่ายตกลงยุติการอ้างสิทธิในดินแดนและข้อเรียกร้องทางการเงินต่อกันและกัน
|
1923
|
สนธิสัญญาโลซาน Treaty of Lausanne
|
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนของตุรกีปัจจุบันโดยการเพิกถอนสนธิสัญญาแซฟวร์
|
สนธิสัญญาฮาลิบัท Halibut Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับแคนาดา เนื้อหา : เพื่อทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิการประมงทางตอนเหนือของมหาสมุ่ทรแปซิฟิก
|
1924
|
สนธิสัญญาโรม (ค.ศ. 1924) Treaty of Rome, 1924
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส เนื้อหา : เพิกถอนบางส่วนของสนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1920)ที่ก่อตั้งเสรีรัฐฟิอูเม; ฟิอูเมถูกผนวกโดยอิตาลี ขณะที่ Sušak ตกไปเป็นของยูโกสลาเวีย
|
1925
|
สนธิสัญญาโลคาร์โน Locarno Treaties
|
ระหว่าง : : พันธมิตรยุโรปตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ รัฐใหม่ในยุโรปตะวันออก เนื้อหา : เพื่อตกลงเรื่องพรมแดน
|
1926
|
สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1926) Treaty of Berlin, 1926
|
ระหว่าง : เยอรมนีกับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : คู่สัญญาต่างก็ตกลงให้คำปฏิญาณในการดำรงความเป็นกลางในกรณีที่ถูกรุกรานโดยประเทศที่สามเป็นเวลาห้าปี
|
1927
|
สนธิสัญญาเจดดา Treaty of Jedda
|
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐอธิปไตยจากการเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร
|
1928
|
สนธิสัญญาเคลลอก-บริอองด์ Kellogg-Briand Pact หรือ Pact of Paris
|
ประเภท: สนธิสัญญาพหุภาคี เนื้อหา : เพื่อประณามการใช้สงครามในการเป็น "เครื่องมือของนโยบายแห่งชาติ"[19] ที่เดิมเป็นข้อตกลงระหว่างสหรัฐและฝรั่งเศส
|
สนธิสัญญาอิตาลี-เอธิโอเปีย (ค.ศ. 1928) Italo–Ethiopian Treaty of 1928
|
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอิตาลีกับจักรวรรดิเอธิโอเปีย เนื้อหา : เพื่อตกลงเป็นพันธมิตรกันระหว่างคู่สัญญาเป็นเวลา 20 ปี
|
1929
|
สนธิสัญญาแลเตอรัน Lateran Treaty
|
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอิตาลีกับนครรัฐวาติกัน เนื้อหา : คู่สัญญารับรองอธิปไตยของกันและกัน
|
อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 3 Third Geneva Convention หรือ GCIII
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับดูแลนักโทษสงคราม
|
1930
|
สนธิสัญญาว่าด้วยการจำกัดและการลดอาวุธทางรัฐนาวี London Naval Treaty หรือ Treaty for the Limitation and Reduction of Naval Armament
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร จักรวรรดิญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกา เนื้อหา : เพื่อเป็นการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรบด้วยเรือดำน้ำ และการจำกัดจำนวนการต่อเรือรบ
|
สนธิสัญญาอังกฤษ-อิรัก (ค.ศ. 1930) Anglo-Iraqi Treaty (1930)
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร กับอิรัก เนื้อหา : สหราชอาณาจักร ประนีประนอมในการปกครองอาณานิคมอารักขาอิรัก ก่อนจะรับรองและให้เอกราชและอิสรภาพแก่อิรัก ในปี ค.ศ. 1932
|
1931
|
สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1931) Treaty of Westminster (1931) หรือ Statute of Westminster 1931
|
ประเภท: พระราชบัญญัติของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งเครือจักรภพแห่งชาติแห่งจักรวรรดิอังกฤษ
|
1932
|
กติกาสัญญาว่าด้วยการไม่รุกรานกันระหว่างโซเวียต-โปแลนด์ Soviet-Polish Non-Aggression Pact
|
ระหว่าง : สหภาพโซเวียตกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง เนื้อหา : คู่สัญญาตั้งปฏิญญาในการไม่รุกรานกัน
|
1934
|
กติกาสัญญาว่าด้วยการไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมัน-โปแลนด์ German-Polish Non-Aggression Pact
|
ระหว่าง : นาซีเยอรมนีกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง เนื้อหา : คู่สัญญาตั้งปฏิญญาในการพยายามแก้ข้อพิพาทโดยการเจรจาต่อรอง
|
กติกาสัญญาบอลข่าน Balkan Pact
|
ระหว่าง : กรีซ, ตุรกี และยูโกสลาเวีย เนื้อหา : เพื่อการตกลงในการยุติการพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างภาคีสัญญา
|
1935
|
กติกาสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกันระหว่างฝรั่งเศสและโซเวียต Soviet-French Non-Aggression Pact
|
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : ข้อตกลงที่มีจุดประสงค์เพื่อการหยุดยั้งการก้าวร้าวของเยอรมนี
|
สนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งการค้าและการเดินเรือ Treaty of Establishment, Commerce and Navigation หรือ Treaty of Establishment, Commerce and Navigation with Full Protocols and Annex
|
ระหว่าง : อิหร่านกับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : เพื่อยืนยันข้อตกลงในสนธิสัญญามิตรภาพรัสเซีย-เปอร์เซีย
|
1936
|
สนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ (ค.ศ. 1936) Anglo-Egyptian Treaty of 1936
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับอียิปต์ เนื้อหา : อังกฤษถอนทหารจากอียิปต์นอกจากที่จำเป็นในการรักษาคลองสุเอซและบริเวณแวดล้อม
|
สนธิสัญญาอิสรภาพฝรั่งเศส-ซีเรีย (ค.ศ. 1936) Franco-Syrian Treaty of Independence (1936)
|
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับซีเรีย เนื้อหา : ฝรั่งเศสรับรองอิสรภาพของซีเรีย
|
อนุสัญญามองโทรซ์ Montreux Convention
|
ชื่อทางการ: Montreux Convention Regarding the Regime of the Turkish Straits ภาษาไทย: อนุสัญญามองโทรซ์ว่าด้วยระบบควบคุมช่องแคบตุรกี เนื้อหา : เพื่อรับรองสิทธิในการควบคุมช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์ของตุรกี
|
1937
|
อนุสัญญานานาชาติว่าด้วยกฎการล่าวาฬ International Convention for the Regulation of Whaling
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : อนุสัญญาว่าด้วยการจำกัดวิธี และ กระบวนการในการการล่าวาฬที่ลงนามกันในปี ค.ศ.1938 และอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1945
|
สนธิสัญญาซาดาบัด Treaty of Saadabad หรือ Saadabad Pact
|
ระหว่าง : ตุรกี อิหร่าน อิรัก และอัฟกานิสถาน เนื้อหา : กติกาสัญญาในการไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
|
1938
|
ความตกลงมิวนิก Munich Agreement
|
เนื้อหา : ผู้ลงนามตกลงยกซูเทนแลนด์แก่เยอรมนี
|
1939
|
สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ Molotov-Ribbentrop Pact หรือ Hitler-Stalin Pact หรือ German-Soviet Nonaggression Pact หรือ Nazi-Soviet Pact
|
ชื่อทางการ: Treaty of Nonaggression between Germany and the Union of Soviet Socialist Republics ภาษาไทย: สนธิสัญญาว่าด้วยการไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
|
1940
|
สนธิสัญญาสันติภาพมอสโก Moscow Peace Treaty (1940)
|
ระหว่าง : ฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฤดูหนาว; ฟินแลนด์เสียดินแดนแก่โซเวียตเป็นการแลกเปลี่ยนกับการดำรงตัวเป็นอิสระ
|
สนธิสัญญาว่าด้วยการค้าและการเดินเรือ Treaty of Commerce and Navigation
|
ระหว่าง : อิหร่านกับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : เพื่อรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งการค้าและการเดินเรือ ของ ค.ศ. 1935
|
สนธิสัญญาไทย–ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2483) Treaty between Thailand and Japan (1940)
|
ระหว่าง : ไทยกับจักรวรรดิญี่ปุ่น เนื้อหา : ไทยและญี่ปุ่นยังเป็นสัมพันธมิตรสนิทเสน่หา และจะเคารพบูรณภาพในดินแดนของกันและกัน
|
สนธิสัญญาไครโอวา Treaty of Craiova
|
ระหว่าง : ราชอาณาจักรโรมาเนียกับราชอาณาจักรบัลแกเรีย เนื้อหา : โรมาเนียคืนดินแดนแก่บัลแกเรีย และตกลงการแลกเปลี่ยนประชากร
|
1941
|
อนุสัญญาโตเกียว Tokyu Convention
|
ระหว่าง : ไทยกับวิชีฝรั่งเศส เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฝรั่งเศส-ไทย; ไทยได้ดินแดนพิพาทมาอยู่ในปกครอง
|
1942
|
สนธิสัญญาอังกฤษ-โซเวียต (ค.ศ. 1942) Anglo-Soviet Treaty of 1942
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีทางทหารและทางการเมืองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเวลายี่สิบปี
|
1944
|
กติกาเบรททัน วูดส์ Bretton Woods system หรือ Bretton Woods Agreement
|
ระหว่าง : : ประเทศผู้นำทางอุตสาหกรรม เนื้อหา : เพื่อพยายามหาวิธีวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับระบบการเงินการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างรัฐ เพื่อเตรียมตัวในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจสากลหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[20]
|
สนธิสัญญาวิส Treaty of Vis หรือ Tito-Šubašić Agreement
|
ระหว่าง : : ประเทศตะวันตก เนื้อหา : เพื่อรวมรัฐบาลลี้ภัยของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียกับฝ่ายขบวนการเสรียูโกสลาเวียผู้ได้รับการหนุนหลังจากคอมมิวนิสต์
|
อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ Convention on International Civil Aviation หรือ Chicago Convention
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
|
พิธีสารลอนดอน London Protocol
|
เนื้อหา : เพื่อแบ่งเยอรมนีออกเป็นเขตยึดครองสามส่วนระหว่าง พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
|
1945
|
สนธิสัญญาวาร์คิซา Treaty of Varkiza หรือ Varkiza Pact หรือ Varkiza Peace Agreement
|
ระหว่าง : : รัฐมนตรีต่างประเทศของกรีซ และ ผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์กรีซ เนื้อหา : เพื่อการพยายามยุติสงครามกลางเมืองกรีซอย่างเป็นทางการ; สนธิสัญญาเสนอให้มีจัดการลงประชามติในการหาวิธีทำความตกลงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญภายในหนึ่งปี
|
กฎบัตรสหประชาชาติ UN Charter
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ ที่ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและตราสารในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ
|
ความตกลงวานฟรีด Wanfried agreement
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับเขตเยอรมนีที่ยึดครองโดยพันธมิตรรัสเซีย เนื้อหา : ย้ายหมู่บ้านสามหมู่บ้านในเฮสส์ไปอยู่ในความควบคุมสหภาพโซเวียต และหมู่บ้านสองหมู่บ้านของไอค์สเฟลด์มาอยู่ในความควบคุมของสหรัฐ
|
1946
|
ความตกลงสมบูรณ์แบบ Formal Agreement for The Termination of The State of War Between Siam and Allies ("United Nations")
|
ระหว่าง : ประเทศสมาชิกกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร (ประกอบไปด้วย สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐจีน) กับประเทศไทย เนื้อหา : ความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และภารกิจระหว่างประเทศสมาชิกกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรกับประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อพิจารณากำหนดให้คู่สัญญาทั้งสองที่เคยทำสงครามกันในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นเป็นอันยุติและสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ
|
สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณัฐจีน Treaty of Amity between the Kingdom of Siam and the Republic of China
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐจีนกับประเทศไทย เนื้อหา : สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับประเทศไทย
|
สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย Australian–Thai Peace Treaty
|
ระหว่าง : ออสเตรเลียกับประเทศไทย เนื้อหา : ยุติสถานะสงครามระหว่างไทยกับออสเตรเลีย
|
สนธิสัญญาระงับกรณีฝรั่งเศส–ไทย พ.ศ. 2489 Franco–Thai Settlement Treaty of 1946
|
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับประเทศไทย เนื้อหา : ยุติสถานะสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
|
ความตกลงเบอร์มิวดา Bermuda Agreement
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร เนื้อหา : ความตกลงว่าด้วยการบริการการบินพลเรือนระหว่างคู่สัญญา
|
ความตกลงกรูเบอร์-เดอ กาส์แปรี Gruber-De Gasperi Agreement
|
ระหว่าง : ออสเตรียกับอิตาลี เนื้อหา : เพื่อให้จังหวัดโบลซาโน-โบเซน และเตรนโตยังคงอยู่ในอิตาลี แต่มีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเอง
|
อนุสัญญานานาชาติว่าด้วยกฎการล่าวาฬ International Convention for the Regulation of Whaling
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยการล่าวาฬที่ ที่รวมทั้งการควบคุมวิธีการล่าทางการค้า, ทางการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และ ทางการล่าเพื่อใช้ในการดำรงชีพโดยชนพื้นเมืองในประเทศสมาชิกห้าสิบเก้าประเทศ; ลงนาม ค.ศ.1938 และ ค.ศ.1945
|
พิธีสารเลคซัคเซส (ค.ศ. 1946) 1946 Lake Success Protocol หรือ '
|
ชื่อทางการ: Protocol Amending the Agreements, Conventions and Protocols on Narcotic Drugs concluded at The Hague on 23 January 1912, at Geneva on 11 February 1925 and 19 February 1925, and 13 July 1931, at Bangkok on 27 November 1931 and at Geneva on 26 June 1936 ภาษาไทย: พิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลง อนุสัญญา และพิธีสารว่าด้วยยาเสพติดซึ่งทำขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 1912 ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1925 และวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1925 และวันที่ 13 กรกฎาคม 1931 ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 1931 และ ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 26 กรกฎษคม 1936 เนื้อหา : เพื่อย้ายความรับผิดชอบจากสันนิบาตชาติไปยังสหประชาชาติ
|
สนธิสัญญามะนิลา (ค.ศ. 1946) Treaty of Manila (1946) หรือ Treaty of General Relations Between The United States Of America And The Republic Of The Philippines[21]
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับประเทศฟิลิปปินส์ เนื้อหา : เพื่อรับรองอิสรภาพและให้เอกราชแก่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
|
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1946) Treaty of London (1946)
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับทรานสจอร์แดน เนื้อหา : สหราชอาณาจักรรับรองอิสรภาพของอาณาจักรอีเมียร์ทรานสจอร์แดน
|
1947
|
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า General Agreement on Tariffs and Trade หรือ GATT
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์ทางการค้าสากล ที่ดำเนินมาจนถึง ค.ศ. 1995 เมื่อมาแทนด้วยองค์การการค้าโลก
|
สนธิสัญญาสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1947) Paris Peace Treaties, 1947
|
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ
|
สนธิสัญญาให้ความช่วยเหลือกันระหว่างรัฐในทวีปอเมริกา[22] Inter-American Treaty of Reciprocal Assistance หรือ Rio Treaty หรือ Rio Pact
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในประเทศภาคพื้นอเมริกา เนื้อหา : เพื่อทำความตกลงในหลักการ (doctrine) การป้องกันร่วมกันที่เรียกว่า "การป้องกันระดับภูมิภาค" (hemispheric defense)
|
1949
|
สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ North Atlantic Treaty หรือ Treaty of Washington
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในประเทศภาคพื้นยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ
|
อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4 Fourth Geneva Convention หรือ GCIV
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพิทักษ์พลเรือนในระหว่างยามสงคราม
|
สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1949) Treaty of Den Haag (1949)
|
ระหว่าง : เนเธอร์แลนด์กับอินโดนีเซีย เนื้อหา : เนเธอร์แลนด์มอบอิสรภาพและให้เอกราชแก่อินโดนีเซียยกเว้นหมู่เกาะโมลุกกะและนิวกินีตะวันตก
|
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1949) Treaty of London, 1949
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในประเทศภาคพื้นยุโรปตะวันตก เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสภาแห่งยุโรป (Council of Europe)
|
1950
|
กติกาสัญญาลิอาควัต-เนห์รู Liaquat-Nehru Pact
|
ระหว่าง : ปากีสถานกับอินเดีย เนื้อหา : ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีปากีสถานลิอาควัต อาลี ข่าน และนายกรัฐมนตรีอินเดียชวาหระลาล เนห์รู เพื่อพยายามบรรเทาสถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อชนกลุ่มน้อยต่างศาสนาในประเทศคู่สัญญา, เพื่อเพิ่มความสันติในประชาคม และ เพื่อการสร้างบรรยากาศที่เหมาะแก่การแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาซกอร์เซอเล็ค Treaty of Zgorzelec
|
ชื่อทางการ: Treaty between the Republic of Poland and the German Democratic Republic concerning the demarcation of the established and existing Polish-German state border ภาษาไทย: สนธิสัญญาระหว่างสาธารณรัฐโปแลนด์ และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีว่าด้วยการกำหนดเขตแดนโปแลนด์-เยอรมัน
|
1951
|
สนธิสัญญาเพื่อการป้องกันทางทหารร่วมกันระหว่างฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกา Mutual Defense Treaty between the Republic of the Philippines and the United States of America
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับฟิลิปปินส์ เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือกันในการป้องกันทางทหารร่วมกันระหว่างคู่สัญญา
|
อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมพันธุฆาต Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อระบุนิยามของคำว่าพันธุฆาตและ กำหนดว่าเป็นอาชญากรรมที่ผิดกฎหมาย
|
สนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโก Treaty of San Francisco หรือ San Francisco Peace Treaty หรือ Treaty of Peace with Japan
|
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับญี่ปุ่น เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ
|
สนธิสัญญาความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น Security Treaty Between the United States and Japan
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือกันในการป้องกันทางทหารร่วมกันระหว่างคู่สัญญา
|
ความตกลงเพื่อการช่วยเหลือกันและกันทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น U.S. and Japan Mutual Defense Assistance Agreement
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น เนื้อหา : ข้อตกลงที่มอบสิทธิให้แก่สหรัฐอเมริกาในการตั้งฐานทัพในประเทศญี่ปุ่น ขณะที่สนับสนุนให้ญี่ปุ่นเริ่มขยายตัวทางการทหารเพื่อป้องกันตนเอง
|
1952
|
สนธิสัญญาแอนซัส ANZUS Treaty หรือ Australia, New Zealand, United States Security Treaty
|
ระหว่าง : ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญา
|
สนธิสัญญาไทเป Treaty of Taipei หรือ Sino-Japanese Peace Treaty
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐจีนกับญี่ปุ่น เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาปลดแอกเยอรมนี Generalvertrag Treaty หรือ Deutschlandvertrag
|
สนธิสัญญาระหว่าง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันกับพันธมิตรตะวันตก (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา) เนื้อหา : เพื่อยุติการเป็นเขตยึดครองของพันธมิตรตะวันตก และเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐอธิปไตยภายใต้ข้อแม้บางประการ
|
1954
|
องค์การสนธิสัญญากลาง Central Treaty Organization หรือ CENTO หรือ Middle East Treaty Organization หรือ METO' หรือ Baghdad Pact
|
ระหว่าง : : กลุ่มประเทศพันธมิตรในตะวันออกกลางและสหราชอาณาจักร เนื้อหา : ก่อตั้งพันธมิตรในภูมิภาค; ยุบเลิก ค.ศ. 1979
|
สนธิสัญญาเพื่อการป้องกันร่วมกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia Collective Defense Treaty หรือ Manila Pact
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, (SEATO); เพื่อการเป็นพันธมิตรทางการทหารระหว่าง ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, เวียดนามใต้, ประเทศไทย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
|
1955
|
การประชุมเอเชีย-แอฟริกา Asian-African Conference หรือ Bandung Conference
|
ประเภท: การประชุมระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกา เนื้อหา : เพื่อการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และการต่อต้านอิทธิพลของลัทธิอาณานิคมนิยม หรือ ลัทธิอาณานิคมนิยมใหม่โดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต หรือชาติ "จักรวรรดินิยม" อื่น
|
สนธิสัญญารัฐออสเตรีย Austrian State Treaty หรือ Austrian Independence Treaty
|
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต) ยุติการยึดครองออสเตรีย และก่อตั้งเป็นรัฐอิสระ, รัฐอธิปไตย และ รัฐประชาธิปไตย
|
ความตกลงไซมอนทาวน์ Simonstown Agreement
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสหภาพแอฟริกาใต้ เนื้อหา : ราชนาวีแห่งสหราชอาณาจักรคืนฐานทัพทางเรือที่ไซมอนทาวน์แก่รัฐบาลของสหภาพแอฟริกาใต้
|
สนธิสัญญาวอร์ซอ Warsaw Pact หรือ Warsaw Treaty หรือ Treaty of Friendship, Co-operation and Mutual Assistance
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรทางการทหารระหว่างกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกภาคีสัญญา
|
1956
|
แถลงการณ์ร่วมระหว่างโซเวียต-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1956) Soviet-Japanese Joint Declaration of 1956
|
ระหว่าง : สหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่น เนื้อหา : เพื่อฟื้นฟูสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างคู่สัญญาขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
|
1957
|
ความตกลงเพื่อการป้องกันทางทหารระหว่างอังกฤษ และมาลายู Anglo-Malayan Defence Agreement หรือ Anglo-Malaysian Defence Agreement
|
เนื้อหา : เพื่อป้องกันความมั่นคงของสหพันธรัฐมาลายูที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐอธิปไตยใหม่
|
สนธิสัญญาโรม Treaties of Rome
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาค เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
|
สนธิสัญญาพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ International Atomic Energy Treaty
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
|
1958
|
ความตกลงร่วมกันทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ 1958 US-UK Mutual Defence Agreement
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร เนื้อหา : เพื่อตกลงร่วมมือในการออกแบบ และพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
|
อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง Convention on the Territorial Sea and Contiguous Zone
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์ทางกฎหมายสากลเกี่ยวกับเขตทางทะเลประเภทต่าง ๆ เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและควบคุมมลพิษ
|
1959
|
ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติกา Antarctic Treaty System หรือ ATS
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อจำกัดทวีปแอนตาร์กติกาไว้เป็นบริเวณสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสรีภาพในการศึกษา และห้ามการใช้สำหรับกิจการทหาร
|
1960
|
สนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือร่วมกันและความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น Treaty of Mutual Cooperation and Security between the United States and Japan หรือ Treaty of Mutual Cooperation and Security
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น เนื้อหา : เพื่อเพิ่มความแน่นหนาของความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาในช่วงระหว่างสงครามเย็น
|
สนธิสัญญาเครือลำน้ำสินธุ Indus Waters Treaty
|
ระหว่าง : อินเดียกับปากีสถาน เนื้อหา : เพื่อการตกลงร่วมใช้ระบบลำน้ำสินธุ ที่มอบสิทธิให้อินเดียใช้ลำน้ำทุกสายของแม่น้ำทางตะวันออกและแควก่อนที่จะถึงจุดที่เข้าไปยังปากีสถาน
|
สนธิสัญญามอนเตวิเดโอ Treaty of Montevideo
|
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสมาคมการรวมกลุ่มของละตินอเมริกา (Latin American Integration Association (ALADI) ) ซึ่งเป็นสมาคมการค้าเสรีของละตินอเมริกา
|
ความตกลงซือริชและลอนดอน Zürich and London Agreement
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร, ตุรกี และกรีซ เนื้อหา : เพื่อการตกลงเรื่องอิสรภาพของไซปรัส
|
1961
|
องค์การเพื่อการควบคุมและปลดอาวุธ Arms Control and Disarmament Agency
|
ประเภท: องค์การอิสระจากรัฐบาลภายในประเทศของสหรัฐ เนื้อหา : เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของสหรัฐโดยการดำเนินนโยบายอันมีประสิทธิภาพในการควบคุมและปลดอาวุธ
|
สนธิสัญญาแม่น้ำโคลัมเบีย Columbia River Treaty
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับแคนาดา เนื้อหา : เพื่อการพัฒนาและบริหารเขื่อนในบริเวณทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำโคลัมเบีย
|
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต Vienna Convention on Diplomatic Relations
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ และ เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูตแก่คณะผู้แทนทางการทูต
|
พันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า Alliance for Progress
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับอเมริกาใต้ เนื้อหา : ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีพยายามวางรากฐานของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
|
อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ[23] Single Convention on Narcotic Drugs
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อการต่อต้านการผลิตและการค้ายาเสพติด
|
อนุสัญญาว่าด้วยการลดจำนวนผู้ไร้สัญชาติ (ค.ศ. 1961) 1961 Convention on the Reduction of Statelessness
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางนิยามของผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ไร้ชาติ และหาวิธีต่าง ๆ ในการพยายามลดจำนวนผู้ไร้ชาติในประเทศต่าง ๆ ลง
|
1962
|
ความตกลงนาซอ Nassau Agreement
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร เนื้อหา : สหรัฐมอบขีปนาวุธโพลาริส (Polaris missiles) แก่สหราชอาณาจักรเป็นการแลกเปลี่ยนกับฐานทัพสำหรับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่โฮลีล็อกไม่ไกลจากกลาสโกว์
|
1963
|
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล Vienna Convention on Consular Relations
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : ว่าด้วยการวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยการกงสุล
|
อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายอันเกิดจากนิวเคลียร์ Vienna Convention on Civil Liability for Nuclear Damage
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : ว่าด้วยการวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากนิวเคลียร์ไม่ว่าในรูปใด
|
สนธิสัญญาด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์บางส่วน Partial Test Ban Treaty หรือ Limited Test Ban Treaty หรือ Nuclear Test Ban Treaty หรือ Treaty Banning Nuclear Weapon Tests In The Atmosphere, In Outer Space And Under Water
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อห้ามกาทดลองการระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดนอกจากการทดลองใต้ดิน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอการแข่งขันการมีอาวุธ และการยุติการปล่อยฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ (Nuclear fallout) ขึ้นไปในบรรยากาศของโลก
|
สนธิสัญญาความร่วมมือฝรั่งเศส-เยอรมัน Franco-German cooperation หรือ Elysée Treaty หรือ Franco-German Partnership
|
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับเยอรมนี เนื้อหา : เพื่อการสร้างความร่วมมือร่วมกันในนโยบายด้านการต่างประเทศ, การเศรษฐกิจ, การทหาร และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างคู่สัญญา
|
อนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก Convention on the Unification of Certain Points of Substantive Law on Patents for Invention หรือ Strasbourg Patent Convention
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในกลุ่มประเทศยุโรป เนื้อหา : เพื่อวางผสานมาตรฐานกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรในกลุ่มประเทศยุโรป
|
1965
|
สนธิสัญญารวมองค์กร Merger Treaty หรือ
Merger Treaty'
|
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในกลุ่มประเทศยุโรป เนื้อหา : เพื่อจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป, ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป (Euratom); ก่อตั้งคณะกรรมการยุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
|
สนธิสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลี Treaty on Basic Relations between Japan and the Republic of Korea
|
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับเกาหลี เนื้อหา : เพื่อวางรากฐานของความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างคู่สัญญา
|
1967
|
สนธิสัญญาเพื่อการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในลาตินอเมริกาและคาริบเบียน Treaty of Tlatelolco หรือ Treaty for the Prohibition of Nuclear Weapons in Latin America and the Caribbean
|
เนื้อหา : เพื่อการรักษาบริเวณของภาคีสัญญาให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
|
ปฏิญญาอาเซียน ASEAN Declaration หรือ Bangkok Declaration
|
เนื้อหา : เอกสารเพื่อการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
อนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก Convention Establishing the World Intellectual Property Organization หรือ WIPO Convention
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
|
สนธิสัญญาห้วงอวกาศ Outer Space Treaty
|
ชื่อทางการ: Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space, including the Moon and Other Celestial Bodies ภาษาไทย: สนธิสัญญาว่าด้วยพื้นฐานการการควบคุมกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้ห้วงอวกาศ รวมทั้งดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น ประเภท: อนุสัญญาระหว่างประเทศ เนื้อหา : ห้ามการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทำลายล้างระดับสูงบนเทห์ฟากฟ้าและในห้วงอวกาศโดยทั่วไป
|
1968
|
สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ Nuclear Non-Proliferation Treaty หรือ Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อจำกัดการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ โดยการห้ามการครอบครอง หรือการให้ความช่วยเหลือในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์[24]
|
1969
|
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา Vienna Convention on the Law of Treaties หรือ VCLT
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสนธิสัญญา จากกฎหมายที่มีอยู่เกี่ยวกับ โดยการเพิ่มเติมเนื้อหาที่บกพร่อง หรือขยายความเนื้อหาที่ไม่กระจ่างแจ้ง
|
ความตกลงอารูชา Arusha Agreement
|
ระหว่าง : สหภาพยุโรป กับเคนยา ยูกานดา และแทนซาเนีย เนื้อหา : เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างภาคีสัญญา
|
1970
|
สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร Patent Cooperation Treaty หรือ PCT
|
ประเภท: กฎหมายนานาชาติเกี่ยวกับสิทธิบัตร เนื้อหา : เพื่อวางมาตรฐานของกระบวนการในการจดทะเบียนสิทธิบัตร เพื่อป้องกันสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ; ใช้บังคับ ค.ศ. 1978; แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1979; ขยายความ ค.ศ. 1984 และ ค.ศ. 2001. .
|
สนธิสัญญาเขตแดน (ค.ศ. 1970) Boundary Treaty of 1970
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก เนื้อหา : เพื่อการตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาวอร์ซอว์ (ค.ศ. 1970) Treaty of Warsaw (1970)
|
ระหว่าง : ประเทศเยอรมนีตะวันตกกับสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงการไม่ใช้ความรุนแรงและยอมรับแนวโอเดอร์และไนส์เซอ
|
1971
|
อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท Convention on Psychotropic substances[25] Convention on Psychotropic Substances
|
ประเภท: สนธิสัญญาสหประชาชาติ เนื้อหา : เพื่อพยายามควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เช่น แอมเฟตามีน, barbiturates และแอลเอสดี
|
ข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างสมาชิก 5 ประเทศ Five Power Defence Arrangements หรือ FPDA
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์ และมาเลเซีย เนื้อหา : ข้อตกลงด้านการป้องกันทางทหารระหว่างภาคีสัญญา ที่ตกลงกันให้การปรึกษากันในกรณีที่สิงคโปร์และมาเลเซียถูกรุกรานจากภายนอก
|
อนุสัญญาแรมซาร์ Ramsar Convention
|
ประเภท: อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เนื้อหา : เพื่อการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) อย่างยั่งยืน
|
ความตกลงสตราสบวร์กว่าด้วยหมวดหมู่สิทธิบัตรนานาชาติ Strasbourg Agreement Concerning the International Patent Classification หรือ IPC Agreement
|
ระหว่าง : : ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งมาตรฐานการจัดระบบหมวดหมู่ของสิทธิบัตรสิทธิบัตร สำหรับ สิ่งประดิษฐ์, ใบรับรองการประดิษฐ์, utility models and utility certificates; ใช้บังคับ ค.ศ. 1975; แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1979
|
สนธิสัญญาว่าด้วยการควบคุมอาวุธบนพื้นท้องทะเล Seabed Arms Control Treaty หรือ Seabed Treaty
|
ชื่อทางการ: Treaty on the Prohibition of the Emplacement of Nuclear Weapons and other Weapons of Mass Destruction on the Sea-Bed and the Ocean Floor and in the Subsoil Thereof ภาษาไทย: สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการติดตั้งอาวุธนิเคลียร์และอาวุธเพื่อการทำลายล้างระดับสูงอื่น ๆ บนพื้นท้องทะเล และ พื้นมหาสมุทร และ ฝังใต้ดิน ระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักร และประเทศอื่นอีก 84 ประเทศ
|
สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างอินเดียและโซเวียต Indo-Soviet Treaty of Friendship and Cooperation
|
ระหว่าง : สหภาพโซเวียตกับอินเดีย เนื้อหา : เพื่อระบุความร่วมมือทางยุทธศาสตร์
|
1972
|
สนธิสัญญาขีปนาวุธต่อต้าน Anti-Ballistic Missile Treaty หรือ ABM Treaty or ABMT
|
ระหว่าง : : ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อจำกัดการใช้ระบบขีปนาวุธต่อต้าน (Anti-ballistic missile (ABM) ) ในการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ (US PL 92-448).
|
สนธิสัญญาพื้นฐาน (ค.ศ. 1972) Basic Treaty (1972) หรือ Treaty concerning the basis of relations between the Federal Republic of Germany and the German Democratic Republic
|
ระหว่าง : สหพันธ์สาธารัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐประชาชนเยอรมนี เนื้อหา : คู่สัญญารับรองอธิปไตยของกันและกันเป็นครั้งแรก
|
อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ Biological Weapons Convention
|
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapons and on their Destruction ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามการพัฒนา, การผลิต, และการสะสมอาวุธชีวภาพ และ ท็อกซิน และการทำลายอาวุธดังกล่าว ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
|
อนุสัญญาเพื่อการอนุรักษ์แมวน้ำอาร์ติค Convention for the Conservation of Antarctic Seals
|
เนื้อหา : เพื่อการพิทักษ์แมวน้ำในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา
|
อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น Convention on the Prevention of Marine Pollution by Dumping of Wastes and Other Matter หรือ London Convention
|
เนื้อหา : ข้อตกลงในการพยายามควบคุมมลพิษทางทะเลจากการจงใจกำจัดของเสียจากเรือ, ยานบิน และ สถานีขุดน้ำมันกลางทะเล
|
แถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน Joint Communiqué of the Government of Japan and the Government of the People's Republic of China หรือ Sino-Japanese Joint Communiqué
|
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื้อหา : เพื่อการจัดตั้งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างคู่แถลงการณ์ ซึ่งเท่ากับการยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีน
|
ความตกลงซิมลา Simla Agreement หรือ Simla Pact หรือ Simla Treaty
|
ระหว่าง : อินเดียและปากีสถาน เนื้อหา : เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันเป็นปกติระหว่างคู่สัญญาหลังจากสงครามประกาศเอกราชบังกลาเทศ
|
1973
|
อนุสัญญาสิทธิบัตรยุโรป European Patent Convention หรือ Convention on the Grant of European Patents
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อตกลงในการก่อตั้งองค์การสิทธิบัตรแห่งยุโรป (European Patent Organisation)
|
ข้อตกลงสันติภาพปารีส Paris Peace Accords
|
ระหว่าง : สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม, สาธารณรัฐเวียดนาม และสหรัฐอเมริกา เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัฐเวียดนาม และเพื่อการถอนตัวของสหรัฐจากเวียดนาม
|
สนธิสัญญาเวียงจันทน์ Vientiane Treaty
|
ระหว่าง : : ฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลราชอาณาจักรลาว และรัฐบาลคอมมิวนิสต์ประเทศลาว เนื้อหา : เพื่อการกำจัดกองทหารต่างประเทศออกจากลาว, การตกลงในการก่อตั้งรัฐบาลผสม และการรักษาความปลอดภัยของเมืองหลักโดยกองกำลังร่วมของคู่สัญญา
|
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora หรือ CITES หรือ Washington Convention
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อการรับรองว่าการค้าดังว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อความอยู่รอดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ และ สอดคล้องกับกฎการอนุรักษ์พืชและสัตว์อีกกว่า 33,000 สปีซีส์
|
ความตกลงว่าด้วยนกย้ายถิ่นระหว่างญี่ปุ่นและออสเตรเลีย Japan Australia Migratory Bird Agreement หรือ JAMBA
|
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับออสเตรเลีย เนื้อหา : เพื่อลดอันตรายต่อบริเวณสำคัญที่ใช้โดยนกที่ย้ายถิ่นฐานระหว่างสองประเทศ
|
สนธิสัญญาจำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใต้ดิน Threshold Test Ban Treaty หรือ Treaty on the Limitation of Underground Nuclear Weapon Tests
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื้อหา : เพื่อกำหนดเพดาน (threshold) อำนาจการทำลาย โดยการห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอำนาจการทำลายที่เกินกว่า 150 กิโลตัน (เท่ากับราว 150,000 ตันทีเอ็นที)
|
1975
|
สนธิสัญญาโอซิโม Treaty of Osimo
|
ระหว่าง : อิตาลีกับยูโกสลาเวีย เนื้อหา : เพื่อแบ่งแคว้นปกครองตนเองทรีเอสเตระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาลาโกส Treaty of Lagos
|
เนื้อหา : เพื่อการก่อตั้งกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจในแอฟริกาตะวันตก
|
ข้อตกลงเฮลซิงกิ Helsinki Accords หรือ Helsinki Final Act Helsinki Declaration
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : ข้อตกลงจากกรรมสาร (Act) ขั้นสุดท้ายของการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Conference on Security and Cooperation in Europe) โดยมีผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมทั้งหมด 35 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ และ กลุ่มประเทศตะวันตก
|
1976
|
อนุสัญญาว่าด้วยการแปรสภาพสิ่งแวดล้อม Environmental Modification Convention หรือ ENMOD Convention
|
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of Military or Any Other Hostile Use of Environmental Modification Techniques เนื้อหา : Prohibits the military or other hostile use of environmental modification techniques
|
สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia
|
ระหว่าง : : ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อวางรากฐานในการเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของแต่ละบุคคลที่รวมทั้งสิทธิในการดำรงชีวิต, เสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, เสรีภาพในการชุมนุม, เสรีภาพในการเลือกตั้ง และ เสรีภาพในระบบการได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมในศาล
|
1977
|
สนธิสัญญาทอร์ริโฮส-คาร์เตอร์ Torrijos-Carter Treaties
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับปานามา เนื้อหา : เพิกถอนHay-Bunau Varilla Treaty และการันตีการควบคุมคลองปานามาโดยปานามาหลัง ค.ศ.1999
|
1978
|
ความตกลงแคมพ์เดวิด Camp David Accords
|
ระหว่าง : อียิปต์กับอิสราเอล เนื้อหา : กรอบข้อตกลงที่ปูทางไปสู่สันติภาพระหว่างอียิปต์และอิสราเอล
|
สนธิสัญญาสันติภาพและมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน Treaty of Peace and Friendship between Japan and the People's Republic of China
|
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื้อหา : ข้อตกลงสันติภาพระหว่างคู่สัญญา
|
1979
|
สนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล-อียิปต์ Israel-Egypt Peace Treaty
|
ระหว่าง : อียิปต์กับอิสราเอล เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงรับรองฐานะของกันและกัน; อิสราเอลตกลงถอนทัพออกจากคาบสมุทรไซนายเป็นการแลกเปลี่ยนกับการใช้คลองซุเอซ.
|
สนธิสัญญาจันทรา Moon Treaty หรือ Moon Agreement
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : การพยายามมอบอำนาจในการควบคุมเทห์ฟากฟ้าอื่นไปอยู่ในมือของประชาคมนานาชาติ
|
สนธิสัญญามอนเตวิเดโอ Treaty of Montevideo
|
ระหว่าง : อาร์เจนตินากับชิลี เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนอย่างสันติที่ช่องแคบบีเกิล
|
1983
|
ความตกลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ Australia New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement หรือ ANZCERTA
|
เนื้อหา : ความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลของคู่สัญญา
|
1984
|
แถลงการณ์ร่วมระหว่างจีน-อังกฤษ Sino-British Joint Declaration
|
ชื่อทางการ: Joint Declaration of the Government of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and the Government of the People's Republic of China on the Question of Hong Kong ภาษาไทย: แถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยปัญหาฮ่องกง เนื้อหา : สหราชอาณาจักรคืนฮ่องกงแก่สาธารณรัฐประชาชนจีน
|
ความตกลงนโคมาติ Nkomati Accord
|
ระหว่าง : โมซัมบิกกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เนื้อหา : ข้อตกลงเพื่อการไม่รุกรานซึ่งกันและกันระหว่างคู่สัญญา
|
สนธิสัญญาสหภาพอาหรับ-แอฟริกา Arabic-African Union Treaty
|
ระหว่าง : โมร็อกโกกับลิเบีย เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสหภาพอาหรับ-แอฟริกา
|
สนธิสัญญาสันติภาพและมิตรภาพระหว่างชิลีกับอาร์เจนตินา (ค.ศ. 1984) Treaty of Peace and Friendship of 1984 between Chile and Argentina
|
ระหว่าง : ชิลีกับอาร์เจนตินา เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องความเป็นเจ้าของหมู่เกาะ Picton, Lennox and Nueva
|
1985
|
ความตกลงพลาซา Plaza Accord หรือ Plaza Agreement
|
เนื้อหา : ฝรั่งเศส, เยอรมนีตะวันตก, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรตกลงลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตามอัตราส่วนของเยนและมาร์กเยอรมันในการแทรกแซงตลาดการเงิน
|
ความตกลงเชงเกน Schengen Agreement
|
ระหว่าง : : ประเทศในสหภาพยุโรป เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งนโยบายร่วมกันเกี่ยวกับการเดินทางข้ามพรมแดนของสมาชิกในสหภาพยุโรปโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง
|
พิธีสารว่าด้วยการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก Sulphur Emissions Reduction Protocol
|
ชื่อทางการ: Protocol to the 1979 Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution on the Reduction of Sulphur Emissions or Their Transboundary Fluxes by at Least 30% ภาษาไทย: พิธีสารของอนุสัญญาว่าด้วยมลพิษข้ามแดนระยะยาวเกี่ยวกับการลดการปล่อยซัสเฟอร์หรือการทำให้ก๊าซดังกล่าวไหลนองข้ามแดนลงอย่างน้อยร้อยละสามสิบ ค.ศ. 1979 ประเภท: อนุสัญญาระหว่างประเทศ เนื้อหา : ลดปริมาณการปล่อยแก๊สลงตามปริมาณที่ระบุภายในปี ค.ศ. 1993
|
สนธิสัญญาราโรโตงา Treaty of Rarotonga หรือ South Pacific Nuclear Free Zone Treaty
|
ระหว่าง : : ประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ เนื้อหา : เพื่อการตกลงอย่างเป็นทางการในการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคของผู้ลงนามโดยการห้ามการใช้, การทดสอบ และการเป็นเจ้าของภายในเขตแดนของผู้ลงนาม
|
1986
|
ความตกลงว่าด้วยนกย้ายถิ่นระหว่างจีนและออสเตรเลีย China Australia Migratory Bird Agreement
|
ระหว่าง : จีนกับออสเตรเลีย เนื้อหา : เพื่อลดอันตรายต่อบริเวณสำคัญที่ใช้โดยนกที่ย้ายถิ่นฐานระหว่างสองประเทศ
|
1987
|
สนธิสัญญาเพื่อกำจัดกองกำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty
|
เนื้อหา : เพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธรัศมีระหว่าง 500 ถึง 5,500 กิโลเมตร
|
1988
|
พิธีสารว่าด้วยการควบคุมปริมาณการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ Nitrogen Oxide Protocol
|
ชื่อทางการ: Protocol to the 1979 Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution Concerning the Control of Emissions of Nitrogen Oxides or Their Transboundary Fluxes ภาษาไทย: พิธีสารของอนุสัญญาว่าด้วยมลพิษข้ามแดนระยะยาวเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์หรือการทำให้ก๊าซดังกล่าวไหลนองข้ามแดน ค.ศ. 199
|
[[อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท]] United Nations Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances
|
เนื้อหา : ใช้บังคับ ค.ศ. 1961 อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และ ค.ศ. 1971 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
|
1989
|
พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารที่ทำลายชั้นโอโซน Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer หรือ Montreal Protocol
|
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ เนื้อหา : ข้อตกลงในการพยายามพิทักษ์ชั้นโอโซนโดยการลดปริมาณการผลิตสารที่เชื่อกันว่ามีส่วนในการทำลายโอโซน
|
สนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรป Treaty on Conventional Armed Forces in Europe]]หรือ CFE
|
เนื้อหา : เพื่อการจำกัดอาวุธสามัญทางทหารตามที่ระบุในยุโรป และ การทำลายอาวุธที่เกินจากจำนวนที่กำหนด
|
สนธิสัญญาติมอร์แกป Timor Gap Treaty
|
ระหว่าง : ออสเตรเลียกับอินโดนีเซีย
|
1990
|
ความตกลงมาเลเซีย-สิงคโปร์ (ค.ศ. 1990) Malaysia-Singapore Points of Agreement of 1990
|
ระหว่าง : มาเลเซียกับสิงคโปร์ เนื้อหา : ข้อตกลงระหว่างกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกี่ยวกับอนาคตของที่ดินรถไฟที่เป็นของรัฐบาลมาเลเซียในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกรณีที่ทำให้บรรยากาศขอความสัมพันธ์ของคู่สัญญาอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างตึงเครียด
|
สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany
|
ระหว่าง : สี่มหาอำนาจ เนื้อหา : สี่มหาอำนาจที่รวมทั้งรัสเซีย, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกาผู้ยึดครองเยอรมนีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองประกาศสละสิทธิที่มีอยู่ในเยอรมนี และเยอรมนีสละการอ้างสิทธิในดินแดนทางตะวันออกของแนวโอเดอร์และไนส์เซอ ซึ่งเป็นการเปิดทางไปสู่การรวมตัวของเยอรมนี
|
1991
|
ความตกลงบริโอนิ Brioni Agreement
|
ระหว่าง : สโลวีเนีย, โครเอเชีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสิบวัน ในสโลวีเนีย
|
สนธิสัญญาอบูจา Abuja Treaty
|
เนื้อหา : ข้อตกลงนานาชาติในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา.
|
สนธิสัญญาอาซุนซิออน Treaty of Asunción
|
ระหว่าง : อาร์เจนตินา, บราซิล, อุรุกวัย และปารากวัย เนื้อหา : ข้อตกลงนานาชาติที่ลงนามโดยภาคีสัญญาเพื่อเป็นพื้นฐานในการก่อตั้งเขตการค้าร่วมเมร์โกซูร์หรือ 'ตลาดร่วมตอนใต้' (Southern Common Market) โดยการเริ่มกำจัดค่าธรรมเนียมขาเข้า/ขาออกที่มีเป้าหมายให้เป็นเขตปลอดค่าธรรมเนียมภายในปี ค.ศ. 1994
|
1992
|
สนธิสัญญามาสทริคท์ Maastricht Treaty หรือ Treaty on European Union
|
ระหว่าง : : ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งสหภาพยุโรป
|
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC หรือ FCCC
|
ระหว่าง : : ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เนื้อหา : เพื่อการพยายามลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพื่อการบรรเทาอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่โลกจากปรากฏการณ์โลกร้อน
|
สนธิสัญญาเบิกฟ้า Treaty on Open Skies
|
เนื้อหา : ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการก่อตั้งโครงการนานาชาติในการใช้อากาศยานลาดตระเวนไร้นักบิน (Unarmed surveillance aircraft) ในดินแดนของภาคีสมาชิก วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความเชื่อมั่นระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นขนาดใดโดยการมีบทบาทโดยตรงในการรวบรวมข้อมูลทางการทหารและกิจการทางทหารในประเทศที่ร่วมในสัญญา
|
องค์กรสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน Collective Security Treaty Organization
|
ระหว่าง : อาร์มีเนีย, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, รัสเซีย, ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เนื้อหา : เพื่อวางรากฐานในการก่อตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States)
|
ความตกลงโซชิ Sochi agreement
|
ระหว่าง : จอร์เจียกับออสเซเชียใต้ เนื้อหา : เพื่อตกลงการหยุดยิงในสงครามกลางเมือง
|
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ Convention on Biological Diversity หรือ Biodiversity Convention
|
เนื้อหา : เพื่อดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ, เพื่อการใช้อย่างยั่งยืน และ เพื่อความยุติธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรทางพันธุกรรม
|
1993
|
ข้อตกลงออสโล Oslo Accords หรือ Declaration of Principles on Interim Self-Government Arrangements หรือ Declaration of Principles (DOP)
|
ระหว่าง : รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ เนื้อหา : เพื่อเป็นกรอบสำหรับการเจรจาต่อรองและความสัมพันธุ์ระหว่างคู่สัญญา
|
อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี Chemical Weapons Convention
|
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Development, Production, Stockpiling and Use of Chemical Weapons and on their Destruction ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามการพัฒนา, การผลิต, การสะสม และการใช้อาวุธเคมี และการทำลายอาวุธดังว่า ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อการห้ามการผลิตและการใช้อาวุธเคมี
|
1994
|
สนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล-จอร์แดน Israel-Jordan Peace Treaty หรือ Treaty of Peace Between the State of Israel and the Hashemite Kingdom of Jordan
|
ระหว่าง : อิสราเอลกับจอร์แดน เนื้อหา : เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันเป็นปกติ และ แก้ปัญหาข้อพิพาทในเรื่องพรมแดนระหว่างคู่สัญญา
|
ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ North American Free Trade Agreement
|
ระหว่าง : แคนาดา, สหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก เนื้อหา : เพื่อตกลงในการค้าเสรีระหว่างภาคีสัญญา
|
ข้อตกลงเครมลิน Kremlin accords
|
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับรัสเซีย เนื้อหา : เพื่อยกเลิกการใช้ขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่ได้มีการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า และเพื่อวางแผนการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียในยูเครน
|
อนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล United Nations Convention on the Law of the Sea หรือ UNCLOS
|
ระหว่าง : : อนุสัญญาระหว่างประเทศ เนื้อหา : อนุสัญญาระบุสิทธิ และความรับผิดชอบในการใช้มหาสมุทร โดยการกำหนดหลักการทั่วไปทางกฎหมายในการบริหารทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและการควบคุมมลพิษ
|
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย United Nations Convention to Combat Desertification
|
ชื่อทางการ: United Nations Convention to Combat Desertification in Those Countries Experiencing Serious Drought and/or Desertification, Particularly in Africa ภาษาไทย: อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายในประเทศที่ประสพกับความแห้งแล้งอย่างรุนแรง และ/หรือ การแปรสภาพเป็นทะเลทราย, โดยเฉพาะในแอฟริกา ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ เนื้อหา : อนุสัญญาเพื่อการต่อต้านและเพื่อการบรรเทาผลที่เกิดสภาวะที่เกิดจากความแห้งแล้ง
|
1995
|
ความตกลงเดย์ตัน Dayton Agreement หรือ Dayton Accords หรือ Dayton-Paris Agreement หรือ General Framework Agreement for Peace in Bosnia and Herzegovina
|
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามบอสเนียระหว่างบอสเนียเซิร์บ, บอสเนียโครแอท และ บอสเนียบอสเนียค, ข้อตกลงระบุดินแดนในการครอบครองของแต่ละกลุ่ม
|
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ General Agreement on Trade in Services หรือ GATS
|
เนื้อหา : เป็นความตกลงขององค์การการค้าโลกที่ขยายระบบการค้าพหุภาคี เพื่อรวมกิจการค้าบริการ (service sector) ก่อนหน้าที่จะมีความตกลง กิจการค้าบริการมิได้อยู่ในเครือข่ายขององค์การการค้าโลก
|
1996
|
สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [26] Comprehensive Test Ban Treaty หรือ CTBT
|
ระหว่าง : : อนุสัญญาระหว่างประเทศรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เนื้อหา : เพื่อห้ามการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นการระเบิดโดยมีวัตถุประสงค์ทางการทหารหรือทางพลเรือน
|
ความตกลงคาซาฟ-เยิร์ท Khasav-Yurt Accord
|
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามเชชเนียครั้งที่หนึ่งเป็นการชั่วคราว
|
สนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก WIPO Copyright Treaty หรือ World Intellectual Property Organization Copyright Treaty
|
องค์กร: องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก เนื้อหา : เพื่อให้การพิทักษ์ลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น เนื่องจากความจำเป็นอันเกิดจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงของขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก WIPO Performances and Phonograms Treaty]] หรือ WPPT
|
องค์กร: องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก เนื้อหา : เพื่อกำหนดสิทธิและอภิสิทธิ์สำหรับนักแสดงและผู้สร้างงาน audio-visual
|
1997
|
สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม Amsterdam Treaty
|
ชื่อทางการ: Treaty of Amsterdam amending the Treaty of the European Union, the Treaties establishing the European Communities and certain related acts ภาษาไทย: สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัมเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาสหภาพยุโรป, สนธิสัญญาเพื่อก่อตั้งประชาคมยุโรป และกิจการที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหา : แก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญามาสทริคท์เป็นอันมาก
|
อนุสัญญาออตตาวา Ottawa Convention on Landmines หรือ Mine Ban Treaty หรือ Ottawa Treaty
|
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Use, Stockpiling, Production and Transfer of Anti-Personnel Mines and on their Destruction ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และขนย้ายระเบิดต่อต้านบุคคล และว่าด้วยการทำลายระเบิดเช่นว่า ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
|
อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี Chemical Weapons Convention
|
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Development, Production, Stockpiling and Use of Chemical Weapons and on their Destruction ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเช่นว่า ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
|
พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol
|
ชื่อทางการ: Kyoto Protocol to the United Nations Framework Convention on Climate Change ภาษาไทย: พิธีสารเกียวโตแนบท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ เนื้อหา : เพื่อกำหนดการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก; เริ่มเจรจา ค.ศ. 1997, รับรองข้อตกลง ค.ศ. 2004 และมีผลปฏิบัติ ค.ศ. 2005
|
1998
|
ความตกลงเบลฟาสต์ Belfast Agreement หรือ Good Friday Agreementหรือ Stormont Agreement
|
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับไอร์แลนด์ เนื้อหา : เพื่อการพัฒนาทางการเมือของกระบวนการสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ
|
พิธีสารมวลพิษตกค้างยาวนาน POP Air Pollution Protocol หรือ
|
ชื่อทางการ: Protocol to the 1979 Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution on Persistent Organic Pollutants ภาษาไทย: พิธีสารของอนุสัญญาว่าด้วยมลพิษข้ามแดนระยะยาวอันเกี่ยวกับมลพิษอินทรีย์ประเภทตกค้างยาวนาน ค.ศ. 1979' ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ เนื้อหา : ข้อตกลงเพื่อการควบคุมและการลดปริมาณการปล่อยมลพิษอินทรีย์ประเภทตกค้างยาวนาน
|
ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ Rome Statute of the International Criminal Court หรือ Rome Statute
|
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ
|
1999
|
ข้อตกลงว่าด้วยการปรับสนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรป Adapted Conventional Armed Forces in Europe Treaty
|
เนื้อหา : เพื่อการปรับสนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรปแทนจำนวนที่ให้ไว้กับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือและสนธิสัญญาวอร์ซอ
|
สนธิสัญญาประชาคมอีสต์แอฟริกา East African Community Treaty
|
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อก่อตั้งประชาคมอีสต์แอฟริกา ระหว่าง ยูกันดา, เคนยา และแทนซาเนีย ที่มีผลปฏิบัติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2000
|