Share to:

 

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน
เกิด28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (72 ปี)
จังหวัดพังงา, ประเทศไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
ส่วนสูง1.85 เมตร (6 ฟุต 1 นิ้ว)[1]
พรรคการเมืองความหวังใหม่

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในต่างประเทศ อดีตนักการเมืองชาวไทย เลขาธิการศูนย์กลางประชาชนแห่งประเทศไทยและประธานชมรมคนรู้ใจ ปัจจุบันมีชื่อในกลุ่มผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกออกหมายจับ ในฐานะผู้ที่ไม่ไปรายงานตัวคดีมาตรา 112[2][3] เขาย้ายไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา[4]

ประวัติ

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน และจบโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม[5]

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เป็นเคลื่อนไหวด้านแรงงาน สมาชิกสหภาพรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งร่วมกับทนง โพธิ์อ่าน สมศักดิ์ โกศัยสุข[6] และเป็นอดีตประธานสหภาพแรงงานประปาส่วนภูมิภาค[7] โดยชูพงศ์ ถี่ถ้วน ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นกรรมการฝ่ายลูกจ้าง เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2528[8] และได้ลาออกจากกรรมการแรงงานสัมพันธ์ฝ่ายลูกจ้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2528[9] และกลางปี พ.ศ. 2529 กลุ่มทนง โพธิ์อ่านมีความขัดแย้งกับกลุ่มนายชูพงศ์ ถี่ถ้วน ในเรื่องปัญหาการตีความสถานภาพของกรรมการสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย[10]

บทบาทการเมือง

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เคยเข้าสู่การเมืองโดยเป็นผู้สมัครเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่จังหวัดพังงา สังกัดพรรคความหวังใหม่ ซึ่งแข่งกับ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ผลปรากฏว่าฝ่ายหลังได้รับการเลือกตั้ง[11] ต่อมาเป็นเลขาธิการประจำคณะกรรมาธิการแรงงาน (พ.ศ. 2544-2548)[12] และเป็นคณะที่ปรึกษาประธานประจำคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง (พ.ศ. 2548-2549)[13]

การเคลื่อนไหวทางสังคม

สภาปฏิวัติแห่งชาติ

ชูพงศ์ ถี่ถ้วน เป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เจ้าของทฤษฎีปฏิวัติประชาธิปไตย ที่ยืนอยู่คนละด้านกับแนวทางชนบทล้อมเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและได้มีส่วนร่วมในสภาปฏิวัติแห่งชาติ ซึ่งต่อถูกจับกุมด้วยข้อหาทำลายความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมกับพวกรวม 14 คน

การประท้วงคมชัดลึก

ชูพงศ์ ถี่ถ้วนขึ้นเวทีม็อบแท็กซี่ที่ขนส่งหมอชิต โดยการชักชวนของไกรวัลย์ เกษมศิลป์ จนกลายเป็นแกนนำกลุ่มสมาพันธ์พิทักษ์ประชาธิปไตย[14] ภายหลังย้ายสถานที่ชุมนุมจากหมอชิต มาสมทบกับกลุ่มของนายคำตา แคนบุญจันทร์ เลขาธิการสมัชชาคนจน[15]

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 กลุ่มคาราวานคนจน ที่เป็นกลุ่มที่นำหนังสือพิมพ์มาแสดงเป็นกลุ่มแรก บนเวทีปราศรัยสวนจตุจักร จำนวนนับพันคน นำโดย นายคำตา แคนบุญจันทร์ นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายประยูร ครองยศ นายทองเจือ ชาติกิจเจริญ เป็นต้น[16] เคลื่อนขบวนจากสวนจตุจักร มาชุมนุมหน้าอาคารอินเตอร์ลิงก์ทาวเวอร์ เพื่อประท้วงคมชัดลึก จากการนำเสนอข่าวประจำวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกล่าวในทำนองว่า หากผู้รับสนองพระบรมราชโองการไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดของพระราชกฤษฎีกาแล้ว จะให้ใครรับผิดชอบ ซึ่งทำให้ประชาชนฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายสนธิ และหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นจำนวนมาก ในหลายพื้นที่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงนิสิต นักศึกษา ได้ยกย่องและให้กำลังใจในการแสดงความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และประณามการกระทำของกลุ่มมวลชนบางกลุ่มที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ในการคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชน[17]

ต่อมาวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก นายคำตา แคนบุญจันทร์ สมัชชาเกษตรรายย่อย , นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ เลขาธิการคาราวานคนจน , นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน , นายธนวิชญ์ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา แกนนำคาราวานคนจน , นายชินวัฒน์ หาบุญพาด แนวร่วม นปช. และ นายสำเริง อดิษะ แกนนำคาราวานคนจน เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐาน ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย, กักขัง หน่วงเหนี่ยว และ พรบ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 กรณีนำกลุ่มผู้ชุมนุมไปปิดล้อมอาคารอินเตอร์ลิงก์ ทาวเวอร์[18]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549

ภายหลังเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ชูพงศ์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศกรณีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549[19] ซึ่งต่อมาได้ก่อตั้งวิทยุชุมชนคนรู้ใจ คลื่น 87.75 ร่วมกับไกรวัลย์ เกษมศิลป์[7] และยูนิตี้เรดิโอ เอฟเอ็ม 89.75 วิทยุชุมชนเพื่อความสมานฉันท์ของคนในชาติ ร่วมกับชินวัฒน์ ก็มีชื่อเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับชินวัฒน์ หาบุญพาด จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ[15] ซึ่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ทักษิณ ชินวัตร ไดโทรศัพท์มายังสถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ ในรายการจิ้งจกคาบข่าว[20] ซึ่งได้นำคำสัมภาษณ์ของทักษิณ ชินวัตรในรายการ ไปเผยแพร่ในเว็บ www.chupong.com โดยบนเว็บไซต์ได้จัดทำแบบฟอร์มให้ประชาชนร่วมลงชื่อเป็นมติปวงชนชาวไทย โดยเรียกร้อง 4 ข้อ คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ยินยอมให้มีการทำรัฐประหาร และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ จัดการเลือกตั้งภายในปี 2550[20]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557

ชูพงศ์ ถี่ถ้วนมีชื่อในกลุ่มผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกออกหมายจับ ในฐานะผู้ที่ไม่ไปรายงานตัวคดีมาตรา 112 ซึ่งปัจจุบันชูพงศ์ ถี่ถ้วน ยังคงพักอาศัยอยู่ที่ฝรั่งเศส และจัดรายการออนไลน์ผ่านโลกออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง ผ่านสถานี ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ[21] และในปี พ.ศ. 2560 ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ได้ก่อตั้งพรรคไทยก้าวหน้า ซึ่งมีอุดมการณ์พรรคคือ การเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย และมีหลักการปกครอง 5 ประการ คือ อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชน เสรีภาพ เสมอภาค ยึดหลักกฎหมาย และการเลือกตั้ง[22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ส่วนสูงใบประกาศจับ".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. (รายงาน) เปิด "24ผู้ลี้ภัย" คดีมาตรา112 ซ่อนตัวใน10ประเทศ?
  3. ศาลทหารออกหมายจับ 28 ราย หลังไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง คสช.
  4. "แดงพเนจร "ชูพงศ์" หนีโควิด เผ่นเข้ายุโรป". คมชัดลึกออนไลน์. 2020-08-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. เปิดปูมแดงนอก 'เอนก ซานฟราน' กับคดีบึ้มศาลอาญา
  6. สหภาพกับการเมือง
  7. 7.0 7.1 ยามเฝ้าแผ่นดิน : แฉปูมหลังหัวโจกม็อบไล่ป๋า “เด็กราม-คนใต้-เกลียด ปชป.”
  8. "ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นกรรมการฝ่ายลูกจ้าง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.
  9. ได้ลาออกจากกรรมการแรงงานสัมพันธ์ฝ่ายลูกจ้าง
  10. อัญชลี ค้อคงดา, สหภาพแรงงานและแรงงานสัมพันธ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2532, หน้า 36
  11. เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539 (หน้า 268)
  12. คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร พบประชาชน (หน้า 11)
  13. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร เอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 (หน้า 19)
  14. '8 แกนนำ' เชียร์ทักษิณ รุ่นแรก จากคาราวานคนจน ส่งผล 'แดงทั้งแผ่นดิน'
  15. 15.0 15.1 เบื้องหลังวิทยุชุมชน-คนรักทักษิณ
  16. เว็บไซต์ นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน ศูนย์กลางประชาชนแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ เอฟ.เอ็ม.87.75 MHz.
  17. แถลงการณ์ร่วมสมาคมวิชาชีพสื่อ เรื่อง ขอให้หยุดคุกคามการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เก็บถาวร 2020-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  18. "จำคุก นปช. คาราวานคนจน ล้อมเนชั่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.
  19. ชำแหละชูพงศ์ คนหัวขาด !!
  20. 20.0 20.1 สถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ
  21. เพิ่งตื่น! “จอม” เผย “แดงนอก-แดงหนีคดีหมิ่น” ในสหรัฐฯ จัด “วิ่ง ไล่ ลุง” อ้างเฉย เพื่ออนาคตลูกหลานไทย
  22. จับตา! เครือข่ายล้มเจ้าเคลื่อนไหวรอบใหม่! นับหนึ่งหลังเสร็จพระราชพิธี เริ่มศักราชใหม่การต่อสู้!
  23. "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya