ทอม ดันดี เดิมมีชื่อจริงว่า พันทิวา ภูมิประเทศ ปัจจุบันใช้ชื่อว่า ธานัท ธนวัชรนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 เป็นชาวอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักร้องวงซูซู ที่มีผลงานเพลงที่รู้จักอยู่หลายเพลง เช่น บ่อสร้างกางจ้อง, มยุรา, สาวมอญแม่เหมย โดยชื่อทอม ดันดี นั้นตั้งมาจาก ทอม โจนส์ ในภาพยนตร์เรื่อง อินเดียน่าโจนส์ และ เมืองดันดีเมืองหนึ่งในแคว้นสกอตแลนด์ของสหราชอาณาจักร [1]
ทอม ดันดี จบการศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส มีผลงานอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 ชื่อ อย่างนี้ต้องตีเข่า มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ในสังกัดดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ทอม ดันดียังมีธุรกิจของตนเองมากมาย เช่น เสื้อยืด ร้านขายต้นไม้ รวมถึงเคยเปิดร้านเนื้อย่างเกาหลีในชื่อ "ทอม ดันดี หมูย่างเกาหลี" และทอม ดันดี ยังได้พยามยามผลิตถุงยางอนามัยของตนเองออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อ ถุงยางอนามัยทอม ดันดี รุ่น ลีลาวดี โดยนำรายได้จากการจำหน่ายมอบให้กับวัดพระบาทน้ำพุ เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ แต่สินค้าของเขาไม่ผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมได้ท้วงติงว่าชื่อสินค้าเป็นการใช้คำแบบสองแง่สองง่าม ยั่วยุให้ผู้บริโภคใช้สินค้าเกินความจำเป็น ส่งผลให้เด็กและเยาวชนที่มีวุฒิภาวะที่ไม่เพียงพอหมกมุ่นอยู่กับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทางกระทรวงวัฒนธรรมจึงทำหนังสือให้ อย. ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นชื่อสินค้า[1]
เขาติดคุกฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยศาลอาญาลงโทษจำคุก 7 ปี 6 เดือน นายทอม ดันดี ไม่ขออุทธรณ์ คดีจึงจบที่ศาลชั้นต้นในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[2] และนอกจากนี้เขายังโดนดำเนินคดีฐานขัดคำสั่งที่ 53/2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย[3][4]
ปัจจุบัน ทอม ดันดี ได้ออกจากเรือนจำมาใช้ชีวิตในโลกภายนอกอย่างปกติแล้ว หลังได้รับการพักโทษเนื่องจากเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม โดยศาลได้พิพากษาจำคุกรวม 10 ปี 10 เดือน แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษกึ่งหนึ่งลดเหลือ 5 ปี 5 เดือน [1]
สตูดิโออัลบั้ม
- ร่วมกับวงซูซู
- สู่ความหวังใหม่ (พ.ศ. 2532)
- ปะการังไปไหน (พ.ศ. 2533)
- คนเค็มเลคาว (พ.ศ. 2534)
- ราชาสามช่า (พ.ศ. 2535)
- อัลบั้มภาคปกติ
- อย่างนี้ต้องตีเข่า (มิถุนายน พ.ศ. 2536) : ดี - เดย์ เอนเตอร์เทนเม้นท์
- มันเขี้ยว (พ.ศ. 2537) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- เหรียญกล้าหาญ (พ.ศ. 2538) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- ลายเสือ (พ.ศ. 2540) : MOM
- นกเขานาตู (พฤศจิกายน พ.ศ. 2542) : กระบือแอนด์โค
- ไอ้ทิดอุ้มบุญ (พฤษภาคม พ.ศ. 2544) : กระบือแอนด์โค
- สุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2548) : เจเคมิวสิค
- บันทึกการแสดงสด
- รายการ 7 สีคอนเสิร์ต ปีใหม่ 2534 (29 ธันวาคม พ.ศ. 2533)
- กระทิง คอนเสิร์ต เขาใหญ่ มหกรรมคอนเสิร์ตเพลงเพื่อชีวิต (23 ตุลาคม พ.ศ. 2536)
- ลำตะคอง มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิต ครั้งประวัติศาสตร์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2537)
- ปากมอม (พ.ศ. 2539)
- ปิดทองหลังพระ (รับเชิญ) (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539)
- มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 (29-30 มกราคม พ.ศ. 2542)
- ปากมอม 2 (พ.ศ. 2542)
- มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 8 (8 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
- มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 9 (5 เมษายน พ.ศ. 2546)
- มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2550)
- มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2550)
- กระทิงดนตรีเพื่อสัตว์ป่าคู่พงไพร ครั้งที่ 5 (24 มกราคม พ.ศ. 2552)
- หอบรักมาห่มป่า (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
- รำลึก แดง คาราวาน (22 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
- ขึ้นหิ้ง (12 มีนาคม พ.ศ. 2565)
- FOR GUITAR KING (5 กันยายน พ.ศ. 2565)
- Road For Life (4 มีนาคม พ.ศ. 2566)
- Pazan Music Festival ตอน ริมเล (24 มิถุนายน พ.ศ. 2566)
- Rock Legends by ลุยเล (14 ตุลาคม พ.ศ. 2566)
- หนึ่งใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
- ล้อมวงมันส์ ปากน้ำปราณบุรี (5 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
- Perfect Music Festival 2023 (9 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
- เพื่อชีวิต เพื่อกวนอู (20 มกราคม พ.ศ. 2567)
- Road For Life 2 (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)
- บันทึกตำนานบทเพลงเพื่อชีวิต ลงมือทำคือคำตอบ 2 (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)
- H Two มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต (28 มีนาคม พ.ศ. 2567)
- AYUTTHAYA Music Festival 2024 (2 เมษายน พ.ศ. 2567)
- PAZAN MUSIC FESTIVAL ตอน ริมเล 2 (1 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
- ทอม ดันดี 35 ปีแล้วนะที่รักจ๋า (21 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
- คาราบาว และ ผองเพื่อน รีเทิร์น เพื่อชีวิต เพื่อคนกีฬา (รับเชิญ) (3 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
- เพื่อนไม่ทิ้งกัน เพื่อหารายได้ช่วยเหลือ สีเผือก คนด่านเกวียน (26 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
- 1 ใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย (9 กันยายน พ.ศ. 2567)
- ให้มันส์หรอย (20 กันยายน พ.ศ. 2567)
- Pazan Music Festival ตอน RIMHAT ริมหาดใหญ่ (21 กันยายน พ.ศ. 2567)
- Rock Legends by ลุยเล 2 (12 ตุลาคม พ.ศ. 2567)
- Lui Khao Music Festival (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
- คอ-ฅน-90 Perfect Music Festival 2024 (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
- ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อชีวิตเพื่อชาวใต้ (23 ธันวาคม พ.ศ. 2567)
- Road For Life 3 (1 มีนาคม พ.ศ. 2568)
- อัลบั้มรวมเพลง
- 12 ที 36 ช่า (พ.ศ. 2540) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- 12 ชีวิต หัวใจสัมพันธ์ (กรกฏาคม พ.ศ. 2540) : กระบือแอนด์โค
- นักรักเดือน ๑๒ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- 13 ชีวัน มันกว่ากันเยอะ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) : กระบือแอนด์โค
- 12 คน 12 แบบ ทั้งแสบทั้งคัน (สิงหาคม พ.ศ. 2541) : กระบือแอนด์โค
- ฅ.ฅนดนตรี ชุด 1 (พ.ศ. 2541) : MOM
- สายใยชีวิต (พ.ศ. 2542) : กระบือแอนด์โค
- น้ำเอ๋ยน้ำใจ (กันยายน พ.ศ. 2543) : กระบือแอนด์โค
- อัลบั้มรวมเพลงที่ดีที่สุด ของ TOM DUNDEE (ตุลาคม พ.ศ. 2548) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- 3 ช่าแดนซ์ (มีนาคม พ.ศ. 2549) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- 3 ช่า สามัคคี (เมษายน พ.ศ. 2553) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- เพื่อชีวิตฮิตเกินร้อย ชุด 3 (พ.ศ. 2556) : โรส มีเดีย
- เพื่อชีวิตฮิตเบรคแตก ชุด 2 (พ.ศ. 2556) : โรส มีเดีย
- รวมบทเพลงเพื่อชีวิต ค.ควาย 3 ช่า รำวง (มิถุนายน พ.ศ. 2558) : เอ็มดีเทป
- ขั้นเทพ (ธันวาคม พ.ศ. 2558) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์
- เพื่อชีวิตฮิตเต็มร้อย ชุด 1 (มีนาคม พ.ศ. 2561) : โรส มีเดีย
- อัลบั้มพิเศษ
- จังหวะไทย - จังหวะ ๑ (พ.ศ. 2537) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- น้ำใจพี่น้องผองเพื่อน ประเสริฐ จันดำ (พ.ศ. 2538) : IPS
- จังหวะไทย - จังหวะ ๓ (พ.ศ. 2539) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
- เพลงดังอาจารย์ดี (มีนาคม พ.ศ. 2540) : กระบือแอนด์โค
- 3 ตะกร้าลีลาไทย - ร่วมกับ สามารถ พยัคฆ์อรุณ , กษาปณ์ จำปาดิบ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) : กระบือแอนด์โค
- สี่เหน่อผู้ยิ่งใหญ่ (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543) - ร่วมกับ ชาย เมืองสิงห์ , จรัล มโนเพ็ชร , สามารถ พยัคฆ์อรุณ : อิน - เค มิวสิค
ศิลปินรับเชิญ
- เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง ขุนเขา สายธาร ในอัลบั้ม ซานตานอย ของ น้อย ซานตานอย (พ.ศ. 2534)
- เป็นนักร้องประสานเสียงในอัลบั้ม รักและหวัง ของ หงา คาราวาน & สุนทรี เวชานนท์ (พ.ศ. 2535)
- เป็นนักร้องประสานเสียงในอัลบั้ม อี๊ด เป็น อี๊ด คิดเอาเอง ของ ยิ่งยง โอภากุล (พ.ศ. 2535)
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ
- เพลง ไฟเพื่อชีวิต ร้องโดย มงคล อุทก (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ น้าทอม เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย พยัพ คำพันธุ์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "เสี่ยหำน้อย")
หนังสือ
ผลงานการแสดงภาพยนตร์
- มังกรเจ้าพระยา (2537) รับบท ไมค์
- สุดขีดมังกรเจ้าพระยา 2 (2539) รับบท ไมค์
- หักศอกมัจจุราช (2546) รับบท ผู้ติดตามหรือบอดี้การ์ด
- คนส่งกรรม ตอน สายพิณ (2547) รับบท โชค
- จอมขมังเวทย์ (2548) รับบท พ.ท. ธีระศักดิ์
- เณรแอ จอมขมังเวทย์ (2548) รับบท เณรแอ
- หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553) รับบท หัวหน้าแท็กซี่ 2
ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์
อ้างอิง
|
---|
กลุ่มเคลื่อนไหวในช่วงปี พ.ศ. 2550–2553 และ พ.ศ. 2556–2557 |
|
|
|
ผู้เป็นแนวร่วมที่มีชื่อเสียง |
---|
การเมือง | |
---|
ศิลปินและดารา | |
---|
ทหาร/ตำรวจ | |
---|
นักธุรกิจ | |
---|
นักวิชาการ | |
---|
สื่อมวลชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|
|
|
|
|