เหวง โตจิราการ
นายแพทย์ เหวง โตจิราการ (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2494) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน และแกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย เป็นอดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ประวัตินายแพทย์ เหวง โตจิราการ สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ยุค 14 ตุลา พ.ศ. 2516 เคยหนีเข้าป่าในยุค "ขวาพิฆาตซ้าย" 6 ตุลา พ.ศ. 2519 มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายเข้ม" และมีสายสัมพันธ์อันดีกับ นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นศิษย์ผู้พี่ ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ธิดา ถาวรเศรษฐ์ มีบุตรธิดา 2 คน คือ นางสาวมัชฌิมา โตจิราการ และนายสลักธรรม โตจิราการ นายแพทย์ เหวง ร่วมเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ซึ่งมีการปรับโครงการการบริหารใหม่ให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น และจัดรายการ คุยกับหมอเหวง ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 21.00 - 22.00 น. ทางสถานีประชาชน พีเพิลแชนแนล ปัจจุบันเป็นวิทยากรประจำรายการ เดินหน้าต่อไป ออกอากาศในวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงบ่าย ทางพีซทีวี การเมืองพฤษภาทมิฬนายแพทย์ เหวง กลับมามีบทบาทในเวทีการเมืองภาคประชาชนอีกครั้ง ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 จากการเป็นแกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย ร่วมกับ นายแพทย์ สันต์ หัตถีรัตน์ และนางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เคยร่วมกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองในการเคลื่อนไหวต่อต้าน พล.อ.สุจินดา คราประยูร จนเป็นผลสำเร็จ ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯเมื่อ พ.ศ. 2549 เคยขึ้นเวทีปราศรัยต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ร่วมคัดค้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ร่วมกับกลุ่ม นปช.ต่อมาหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายแพทย์ เหวง ได้ทำการประท้วงต่อต้านคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งได้ทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 โดยเข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ขึ้นเวทีปราศรัยต่อต้าน คปค. ซึ่งแปรสถานะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นายแพทย์ เหวง ถูกรัฐบาลควบคุมตัววันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในอีก 1 เดือนถัดมา ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายแพทย์เหวง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 19 ของพรรคเพื่อไทย[1] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 35[2] ร่วมงานกับพรรคไทยรักษาชาติในปี พ.ศ. 2561 นายแพทย์เหวง ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย และไปเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักษาชาติ[3] คำสแลงคำว่า "เหวง" กลายมาเป็นศัพท์สแลงของหมู่นักนิยมเล่นอินเทอร์เน็ต อันหมายถึง ผู้ที่พูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งมาจากการที่ในระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 ซึ่ง นายแพทย์ เหวงเป็นหนึ่งในสามแกนนำของของกลุ่ม นปช. เข้าเจรจาขอให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรียุบสภาภายใน 15 วัน ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสงสัยถึงบทบาทของ นายแพทย์ เหวง ถูกมองว่าพูดไม่รู้เรื่องในการเจรจาครั้งนั้น จึงเป็นที่มาของศัพท์สแลงดังกล่าว นายแพทย์เหวงกล่าวว่าชื่อของตัวนั้นแผลงมาจากภาษาจีน หมายถึง สว่างไสว[4] แม้ศัพท์คำว่า "เหวง" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า "มาก" โดยใช้เป็นคำใช้ประกอบคำ เช่น เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่าเบามาก และเมื่อขยายความเพิ่มเติมพบว่า ในภาษาเขมรนั้น คำว่า "เหวง" แปลว่า "หลงทาง" เช่น "ขะยมอัมเหวง" แปลว่า "ดิฉันหลงทาง" ก็ตาม[5]พร้อมกับตำหนิผู้ที่ใช้คำนี้ด้วย พร้อมยืนยันว่าตนไม่ได้พูดไม่รู้เรื่อง[6][7] ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ระบุว่า คำและความหมายของคำว่า "เหวง" มีสิทธิ์ขึ้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มหลักที่กำลังจะตีพิมพ์ใหม่อีกด้วย เนื่องจากความแรงของคำว่า "เหวง" วันนี้เป็นคำที่มีความหมาย ซึ่งคนสังคมส่วนมากเข้าใจได้ว่า หมายถึง อาการพูดจา ไม่รู้เรื่อง ฟังไม่ได้ศัพท์ แตกต่างไปจาก "เหวง" ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ [8] จากเหตุการณ์นี้ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ได้วิจารณ์ไว้ว่า
ส่วน ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|