เชิดชัย ตันติศิรินทร์
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2493) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) อดีตกรรมการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประวัติเชิดชัย เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2493 ที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรนายนฤทธิ์ นางมุ้ย ตันติศิรินทร์ เป็นน้องชายแท้ๆ ของ พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เพียงแต่ใช้คนละนามสกุล[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปริญญาโท แพทย์ศาสตรบัณฑิต (พบ.) สาขาแพทย์ศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาศัลยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (นบ.) สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณวดี ตันติศิรินทร์ (สกุลเดิม: ประยูรคำ) ซึ่งเป็นประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอดีตแกนนำคนเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น[2][3][4][5] เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 มีบุตร 2 คน ในขณะที่เขาอยู่ระหว่างการศึกษา เคยได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2516 การทำงานเชิดชัย ตันติศิรินทร์ รับราชการเป็นแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกลาง และเป็นแกนนำภาคอีสาน[7] ในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในนามพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 50 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 43[8] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 17 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[9] อีกสี่ปีต่อมาเขาย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทยและลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 35 และเมื่อณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ลาออกจาก ส.ส. เพื่อดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[10] [11] เชิดชัยจึงได้รับการเลื่อนลำดับบัญชีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[12] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|