ยศวริศ ชูกล่อมนายยศวริศ ชูกล่อม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เจ๋ง ดอกจิก หนึ่งในแกนนำคนสำคัญของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หนึ่งในคณะทำงานเขตราชการที่ 11[1] เคยเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2501 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเดิมว่า ประมวล ชูกล่อม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เคยทำงานที่ทำการไปรษณีย์ย่านสามแยกไฟฉายในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จากนั้นผันตัวเองไปเป็นนักแสดงตลกในคาเฟ่ หลังเรียนจบปริญญาตรี การแสดงบนเวทีในยุคนั้น เน้นล้อเลียนการเมืองเป็นหลัก เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้าพร้อมกับรู้จักคนไปด้วยทั้งทหาร ตำรวจและนักการเมืองจนได้รับตำแหน่ง เลขาธิการสมาคมตลก และหลังจากนั้นได้เข้าสู่แวดวงการเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่ชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก ด้วยการเป็นคนสนิทของทีมงานรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และเคยเข้าแข่งขันรายการแฟนพันธุ์แท้ ตอน การเมืองไทย ด้วย [2][3] ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2548 มีความพยายามจะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในสังกัดพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ที่เขต 4 จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านเกิดของตัวเอง แต่ไม่ถูกเลือก จึงย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย (ชท.) แทน แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2550 ก็ลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้งที่จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก [2] ในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 เป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาว่าจ้าง ผู้สมัครให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคการเมืองขนาดเล็กที่จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งนำไปสู่คดียุบพรรคไทยรักไทยในที่สุด [2] ในเหตุการณ์มหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 ตกเป็นข่าวว่าเป็นผู้ยึดเรือบริจาคและทำกิริยาไม่เหมาะสมต่อสื่อมวลชนถึงศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลืออุทกภัย (ศปภ.) จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว[2] ในกลางปี พ.ศ. 2555 ถูกตัดสินจำคุกจากการยื่นฟ้องของนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ จากการเปิดเผยเบอร์โทรศัพท์และชื่อที่อยู่ของศาลรัฐธรรมนูญ ในที่ชุมนุม ซึ่งผิดเงื่อนไขของการปล่อยตัวจากคดีการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2553 แต่ได้ถูกประกันตัวออกมาจากการยื่นขอของกรุณา มอริส ภรรยาที่เป็นนักแสดง ด้วยหลักทรัพย์เป็นเงินสด 600,000 บาท[4][5] ในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่ง ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี นับแต่วันที่ 30 มิ.ย.2556 ซึ่งเป็นวันพ้นจากตำแหน่ง กรณีแจ้งทรัพย์สินล่าช้า โทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี ปรับ 4000 บาท[6] วันที่ 7 มีนาคม 2560 ศาลฎีกา ตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปีไม่รอลงอาญา ในคดีหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์[7] เขาเคยเป็นแกนนำคณะสามัคคีประชาชนเพื่อประเทศไทย(ไทยไม่ทน) ทำหน้าที่เป็นทั้งพิธีกรในช่วงบันเทิง รวมถึงร่วมขึ้นปราศรัยหลายครั้ง ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เขาได้ได้ย้ายเข้ามาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับนาย สมหวัง อัสราษี อดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติอีกคน[8] ต่อมาวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เขาได้รับตำแหน่งคณะทำงานเขตราชการที่ 11 ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน เจ๋งมาเป็นข่าวอีกครั้งหลังจากที่ ตำรวจป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากอธิบดีกรมการข้าว อ้างว่าถูกรีดเงิน 3 ล้าน แลกกับไม่กลั่นแกล้งร้องเรียนให้ถูกตรวจสอบ จนนำไปสู่การจับกุม ศรีสุวรรณ จรรยา และมีข่าวว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ผลงานด้านการแสดงภาพยนตร์
อ้างอิง
|