สมบัติ บุญงามอนงค์
สมบัติ บุญงามอนงค์ (ชื่อเล่น: หนูหริ่ง) หรือนามแฝงบนอินเทอร์เน็ตว่า บ.ก.ลายจุด เป็นอดีตแกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์เพื่อสังคมหลายแห่ง และอดีตประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา[1] ที่มาของนามแฝง บ.ก.ลายจุดมาจากภาพยนตร์เรื่อง 101 ดัมเมเชี่ยน [2] ประวัติสมบัติเกิดเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2511 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของประสงค์ (บิดา) กับกาญจนา (มารดา) จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 1-4 จากโรงเรียนโรจน์ปัญญา ประถมปีที่ 5-6 จากโรงเรียนสายน้ำทิพย์ และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนปทุมคงคา เขาสมรสกับเกศสุดา และมีบุตรสาวคนเดียว คือ ธาราทร งานด้านการเมืองสมบัติ เป็นแกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ ต่อต้านรัฐประหารและรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คมช. โดยก่อนหน้านั้นเป็นหนึ่งในแกนนำเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร และต่อมาได้ร่วมกับกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ โดยมีชื่อกลุ่มที่ตั้งใหม่ว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยสมบัติเป็นแกนนำ นปก.รุ่น 2 ภายหลังแกนนำ นปก.รุ่นแรก ถูกคุมขัง อีกทั้งยังเป็นผู้เสนอการรณรงค์ "แดงไม่รับ" เป็นสีตรงข้ามกับสีเขียวรับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำให้ผู้ที่ต่อต้านรัฐประหาร โดยเฉพาะคณะรัฐประหารของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน นิยมใส่เสื้อสีแดงมาร่วมชุมนุมหรือกิจกรรมการเมืองจนถึงปัจจุบัน หลังจากการเลือกตั้งและ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับเมืองไทย และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาประท้วง ในช่วงเวลานั้น สมบัติร่วมจัดตั้ง ศูนย์เฝ้าระวังการรัฐประหารแห่งชาติ เพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ สมบัติยังเป็นผู้จัดทำสติกเกอร์ข้อความ "เบื่อม็อบ พันธมิตร" สมบัติ เคยถูกจับที่สถานีขนส่งเชียงราย ขณะที่เขารณรงค์ปราศรัยไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คมช. ก่อนที่จะมีการลงประชามติ เนื่องจากจังหวัดเชียงรายมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก เขาและเพื่อนอีก 1 คนถูกควบคุมตัวในค่ายทหารบกเชียงรายเป็นเวลา 1 วันก่อนถูกปล่อยตัวออกมาเนื่องจากมีแรงกดดันจากสาธารณะและมวลชน นปก ที่หน้ากองทัพภาคที่ 1 นอกจากนั้นยังเคยถูกพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร และ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ฟ้องหมิ่นประมาทกรณีซุ้มปาเป้าที่สนามหลวง เขาเข้ามอบตัวและไม่ขอประกันตัวในช่วงแรก ๆ และอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ 11 วัน ก่อนขอประกันตัวต่อศาลโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ ภายหลังเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 และ 19 พฤษภาคม 2553 เขาได้เดินทางไปผูกผ้าสีแดงบริเวณป้ายแยกราชประสงค์ โดยเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กระชับพื้นที่ ที่นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิตและมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากออกมาแสดงความรับผิดชอบ ทำให้เขาถูกคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยถูกคุมตัวที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 จังหวัดปทุมธานี เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับสู่ปกติแล้วศาลจึงอนุญาตปล่อยตัว ขณะที่ถูกควบคุมตัวอยู่นั้นเขาได้กล่าววาทกรรมหนึ่ง ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นหน้าปกมติชนรายสัปดาห์ในสัปดาห์นั้นว่า
ภายหลังได้รับการปล่อยตัวสมบัติได้เดินทางมาที่แยกราชประสงค์ และได้นำผ้าสีแดงไปผูกที่ป้ายแยกราชประสงค์อีกครั้ง นอกจากนี้ได้ทำกิจกรรม “ที่นี่มีคนตาย” แสดงการเสียชีวิตของประชาชน ที่ราชประสงค์ประกอบด้วย โดยนายสมบัติระบุว่าจะทำกิจกรรมทำนองนี้ทุกวันอาทิตย์แต่จะเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ[4] ต่อมาเป็นพิธีกรรายการ ประชาชน 3.0 ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเชียอัปเดต ต่อมาย้ายการออกอากาศไปยังสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมยูดีดี (ยูดีดีทีวี) โดยออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเย็น (ปัจจุบันหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ยูดีดีทีวีเปลี่ยนขื่อเป็นพีซทีวี รายการได้ลดวันและเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 13:00 น.) ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2558 สมบัติร่วมกับ อุสมาน ลูกหยี ดำเนินรายการ มีคำถาม ออกอากาศทางช่องเดียวกัน ออกอากาศในช่วงดึกวันจันทร์-อังคาร (ต่อมาย้ายการออกอากาศไปไว้ช่วงบ่ายและช่วงเย็นวันเสาร์-อาทิตย์ตามลำดับ) เหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทยปี 2557
21 พ.ค.2557 หลังจากเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 20 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ประกาศใช้กฏอัยการศึกทั่วประเทศ พร้อมนำกองกำลังทหารและอาวุธเข้าควบคุมในจุดสำคัญทั่วกรุงเทพและสถานีโทรทัศน์ พร้อมปิดสถานีโทรทัศน์หลายช่อง ในช่วงเย็นวันเดียวกันที่บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพ ได้มีกลุ่มประชาชนซึ่งส่วนมากแต่งชุดดำรวมตัวถือป้าย จุดเทียน ประท้วงและเรียกร้องให้เร่งยกเลิกการประกาศใช้กฏอัยการศึก โดยระบุว่านอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหา ยังเป็นการซ้ำเติมปัญหาความขัดแย้ง ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน[5] 22 พ.ค.2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 นาฬิกา เป็นต้นไป 23 พ.ค.2557 เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น.ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่ง คสช.ที่ 3/2557 ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มอีก 114 คน ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 23 พ.ค.57 เวลา 10.00 น. โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่เคยร่วมรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งแกนนำการชุมนุมทั้งฝ่าย นปช. และ กปปส.ซึ่งรวมไปถึง บก.ลายจุดอีกด้วย[6]
23 พ.ค.2557 ประมาณ 17.00 น.ที่บริเวณลานด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน ประชาชนหลายร้อยคนเดินทางมาชุมนุมคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในระหว่างนั้น เกิดเหตุชุลมุนขึ้นเมื่อมีรถบรรทุกทหารเดินทางเข้ามาเพื่อพยายามควบคุมพื้นที่หอศิลป์กรุงเทพ แต่ถูกประชาชนขับไล่จนต้องต้องถอยร่นไปบริเวณสะพานหัวช้าง มีรายงานจากผู้สื่อข่าวว่า ประมาณ 19.30 น.มีประชาชนที่มาร่วมการประท้วงถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมตัวไปอย่างน้อย 5 คน ทราบชื่อ 3 คนประกอบด้วย อภิชาติ พงษ์สวัสดิ์, ธนาพล อิ๋วสกุล บก.บห.นิตยสารฟ้าเดียวกัน, บุณยรักษ์ วัฒนะรัตน์ อายุ 20 ปี ส่วนอีก 2 คนไม่ทราบชื่อ ถูกคุมตัวขึ้นรถทหารไป[8] 24 พ.ค.2557 เวลา 17.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประชาชนประมาณ 1,000 คน รวมตัวประท้วงการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ควบคุมสถานการณ์โดยรอบ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าเจ้าหน้าที่ทหารได้ควบคุมตัวผู้ประท้วง 2 ราย ทราบชื่อคือนายนพพร นามเชียงใต้ หรือ เต้ มดแดง ซึ่งถูกควบคุมตัว ก่อนผู้ชุมนุมเข้าแย่งตัวกลับ ขณะที่อีกรายคือนายทนงศักดิ์ พัฒนพงษ์ไพบูลย์ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารรวบตัว หลังชูป้ายกระดาษ A4 ข้อความว่า “ประชาชนอยู่ไหน” บริเวณหน้าประตูทางเข้ากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2.รอ.) สนามเป้า ทั้งนี้กลุ่มผู้ชุมนุมได้กดดันและเจรจากับเจ้าหน้าที่ทหารให้ปล่อยตัวนายทนงศักดิ์ออกมา จนกระทั่งเวลา 18.40 น. หรือ 10 นาทีหลังถูกจับทหารจึงปล่อยตัวออกมา โดยนายทนงศักดิ์ได้เขามาโพสต์แจ้งในเฟซบุ๊กแฟนเพจประชาไทด้วยว่า “ผมยืนถือป้าย ประชาชนอยู่ไหน อยู่หน้ากรมทหารสนามเป้า ผมไม่ได้ตะโกน ผมอยู่อย่างสงบ ทหารพุ่งเข้าชาร์คตัวผม ชกผม แล้วกดผมลงให้หน้าแนบพื้น เอามือไขว้หลัง แล้วลากผมเข้าในบวิเวณที่กั้นม่านไว้ แล้วก็รุมกระทืบผม เสร็จแล้วก็อุ้มผมคว่ำหน้าขึ้นท้ายกระบะหน้าผมแนบพื้น มีทหารนั่งอยู่ขอบกระบะบังอยู่เกือบ 10 คน”[9] 27 พ.ค.2557 หลังจ่าประสิทธิ์-สมบัติ บุญงามอนงค์ ไม่เข้ารายงานตัว คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงออกคำสั่ง 26/2557 ระงับทำธุรกรรม พร้อมเรียกสถาบันการเงิน-นิติบุคคลส่งข้อมูลการทำธุรกรรมของทั้งสองที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 มี.ค. - 27 พ.ค. 57 มาให้หัวหน้า คสช. ภายใน 3 วัน ฝ่าฝืนคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่น และเวลาประมาณ 17.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิกลุ่มประชาชนหลานร้อยคนรวมตัวเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วและคัดค้านการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลุ่มดังกล่าวสลายการชุมนุมไปอย่างสงบในเวลา 18.10 น. ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ ทั้งบริเวณสกายวอล์คและด้านลางมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจควบคุมรอบพื้นที่ รวมทั้งมีผู้เดินทางมาให้กำลังใจและมอบอาหาร ดอกไม้ให้กับเจ้าทหาร พร้อมสนับสนุนการทำรัฐประหารด้วย [10] 6 มิ.ย. 2557 สังคมออนไลน์เฟสบุ๊คมีการเผยแพร่ข้อความพร้อม คลิปเสียงของสมบัติ แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ให้สานต่อภารกิจฟื้นฟูประชาธิปไตย หลังจากมีการนำเสนอข่าวว่า เมื่อเวลา 21.30 นายสมบัติ ถูกควบคุมตัวที่พานทอง จ.ชลบุรี โดยการนำทีมของ ผบก.ปอท.ร่วมกับ ร.21 และการตรวจไอพีโดย สขช. (สำนักข่าวกรองแห่งชาติ) พร้อมกับมีภาพขณะนายสมบัติ ถูกควบคุมตัวในบ้านหลังหนึ่ง พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการจับกุมนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ว่า ลำดับแรกใช้วิธีการควบคุมตัวในพื้นที่พิเศษ ไม่เกิน 7 วัน จากนั้นส่งต่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามขั้นตอน สำหรับการควบคุมตัวในพื้นที่พิเศษ เพื่อปรับทัศนคติ เป็นการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตาม สำหรับนายสมบัตินั้น เบื้องต้นกระทำผิดฐานขัดคำสั่ง คสช. ยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบโดยเผยแพร่ข้อมูลผ่านสังคมออนไลน์ [11] 9 มิ.ย. 2557 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการศึกษา ช่วยราชการกองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดี นายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) ที่ถูกทหารควบคุมตัว ว่า จะต้องถูกดำเนินการฐานที่ไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. และ กฎหมายอาญา มาตรา 116 ยุยงให้คนมาชุมนุม ส่วนคดีอื่นๆ ที่ทหารไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่มารายงานตัวนั้น จะมีการตั้งทีมมาตรวจสอบคดีนี้ โดยมอบหมายให้ สถานีตำรวจนครบาลสามเสน รวบรวมคดีที่มีการแจ้งความตามสถานีตำรวจต่างๆ ซึ่งมีประมาณ 3-4 ราย โดยจะแยกกับส่วนที่มีการแจ้งความไว้ที่กองปราบปราม ทั้งนี้ จะมีการสืบสวนทุกคดีไปพร้อมกัน หากแล้วเสร็จจะขออนุมัติศาลออกหมายจับในคราวเดียวกัน สำหรับผู้ขัดคำสั่งไม่มารายงานตัวนั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นอีกครั้ง ว่าสมเหตุผลหรือไม่ ส่วนการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้าน คสช. เมื่อวานนี้ (8 มิ.ย.) ตำรวจสามารถบันทึกภาพผู้แสดงสัญลักษณ์ชูสามนิ้วต่อต้านได้ทั้งหมด 7 คน และชัดเจนพอที่จะขออนุมัติศาลออกหมายจับ ส่วนที่เริ่มพบการแสดงออกด้วยการนัดกินแซนวิช ประกอบการอ่านแถลงการณ์ คงต้องมีการพิจารณาอีกครั้งว่า มีเนื้อหาหรือมีลักษณะต่อต้าน คสช. เหมือนกันหรือไม่ สำหรับการโพสต์ข้อความเชิญชวนให้ต่อต้าน คสช. ถือว่ามีความผิดแน่นอน เพราะ เป็นการชวนคนให้มาชุมนุม หรือการแสดงความชื่นชอบด้วยการกดไลค์ถือว่ามีความผิดเช่นกัน เพราะเป็นการกระจายข่าวโดยคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้เขียนขึ้นเองตาม[12] 10 มิ.ย.2557 เกศสุดา บุญงามอนงค์ ภรรยาสมบัติ บุญงามอนงค์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ ได้ประสานงานกับคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อประสานงานกับ คสช. ขอเข้าเยี่ยม นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ผู้ถูก คสช.เรียกรายงานตัว โดยได้รับการแจ้งว่า ให้ไปที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ แต่เมื่อไปถึง กลับได้รับคำตอบว่านายสมบัติไม่เคยมาที่นี่ เกศสุดา กล่าวต่อว่า เนื่องจากเคยข่าวในสื่อต่างๆ ว่ามีการนำตัวสมบัติไปไว้ที่ ค่ายทหาร ร.21 รอ. ชลบุรี จึงเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อไปถึง เจ้าหน้าที่ทหารที่ทำหน้าที่ดูแลคนที่รายงานตัวแจ้งว่า นายสมบัติไม่เคยอยู่ที่นี่ ทำให้วันนี้ เธอไม่ได้พบกับสามี จึงอยากเรียกร้องถึง คสช. ขอให้คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของสามี โดยควรแจ้งให้ญาติได้รู้ว่าอยู่ที่ไหนอย่างไร [13] 11 มิ.ย. 2557 ศาลทหาร อนุมัติหมายจับ นายสมบัติ แล้วใน 2 ข้อหา คือ ยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และ ความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยได้รับการประสานจากทางทหารว่า จะคุมตัวนายสมบัติให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท.ในช่วงบ่ายวันนี้ เพื่อให้ดำเนินคดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปอท.ดำเนินคดี และแจ้งข้อกล่าวหากับนายสมบัติแล้ว กองปราบปรามจะอายัดตัว เพื่อนำไปดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. พร้อมกับควบคุมตัวไว้สอบสวนตามกำหนด ก่อนที่จะนำไปฝากขังที่ศาลทหารต่อไป และ เกศสุดา บุญงามอนงค์ ภรรยาของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด นำจดหมายเปิดผนึกที่ลูกสาวเขียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. มามอบให้สื่อมวลชน ขณะเดินทางมารอพบและประกันตัวสามีที่ศาลทหาร[14] 30 มิถุนายน 2559 ศาลอุทธรณ์ พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 25/2557 และ 29/2557 ให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 3000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 ตำรวจได้ออกหมายเรียกและแจ้งข้อกล่าวหาเขาในความผิดขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558 และอีกหลายข้อหา เนื่องจากชุมนุมทางการเมืองเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561 [15] เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561 สมบัติ บุญงามอนงค์ เดินทางเข้าจดแจ้งชื่อ พรรคเกรียน กับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเป็นพรรคการเมืองที่ยื่นจดแจ้งลำดับที่ 68 และมีสโลแกนว่า ‘เป็นผู้นำความบันเทิงสู่การเมืองไทย’ เพราะคิดว่าการเมืองไทยนั้นเครียดเกินไป [16] ข้าวสารบรรจุถุง "ลายจุด"ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 นายสมบัติได้มีสินค้าของตนเองออกจำหน่าย เป็นข้าวสารบรรจุถุง ยี่ห้อ "ลายจุด" โดยนายสมบัติโฆษณาว่าข้าวยี่ห้อดังกล่าวรับซื้อจากชาวนาในราคาเกวียนละ 15,000 บาท เช่นเดียวกับนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยจำหน่ายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และให้ผู้ขับแท็กซี่ เป็นผู้จัดส่งสินค้า[17] ซึ่งต่อมา พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาตำหนิการจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงยี่ห้อดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง [18] งานด้านสังคม
รางวัลทางสังคม
อ้างอิงวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สมบัติ บุญงามอนงค์
แหล่งข้อมูลอื่น
|