เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) ชื่อเล่น แดง อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธาน ส.ส.ภาคเหนือ พรรคเพื่อไทย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอรัปชั่น จำกัด[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย[2] และหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน พรรคไทยรักไทย เป็นภริยาของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 เป็นน้องสาวคนรองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 และเป็นพี่สาวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ประวัติเยาวภาเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 6 และเป็นบุตรสาวคนที่ 4 ในจำนวน 10 คน ของนายเลิศ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) [3][4][5] จบการศึกษาชั้นประถม จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย, ชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จบหลักสูตรพยาบาล โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยแมคคอร์มิคเชียงใหม่ สำเร็จปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สำเร็จรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ด้านชีวิตครอบครัว เยาวภาสมรสกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขณะที่ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีบุตร 1 คนคือ ยศธนัน (เชน) และธิดา 2 คนคือ ชินณิชา (เชียร์) กับชยาภา (เชอรี่) โดยชินณิชาเป็นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง รวมถึงบริษัท แอสคอน คอนสตรักชั่น จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เยาวภาเปิดบริษัท สตรอง พอยต์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (Strong Point Entertainment) ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายดนตรี (ค่ายเพลง) เพื่อออกอัลบั้มแรกให้ชยาภา บุตรสาวคนสุดท้อง ใช้ชื่อว่า เชอรี่ ซีเครท ซี (Cherry - SECRET C)[7] งานการเมืองเยาวภาเป็นนักการเมือง ระดับผู้นำของพรรคไทยรักไทย โดยเป็นหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน และได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 โดยเอาชนะบรรจง ตะริโย จากพรรคประชาธิปัตย์ ถึงกว่า 20,000 คะแนน[8][9] จากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เยาวภาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ โดยพายัพ ชินวัตร ลงสมัครแทนในเขตเลือกตั้งเดิม ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10] เพิกถอนสิทธิทางการเมืองเยาวภาเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (บ้านเลขที่ 111) ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง เป็นเวลา 5 ปี[11] แม้ต้องยุติบทบาททางการเมือง แต่เยาวภายังมีบทบาทในฐานะ แกนนำกลุ่มวังบัวบาน ซึ่งต่อมาสมชาย ผู้เป็นสามี ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และชินณิชา ผู้เป็นบุตรสาว ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จึงทำให้ครอบครัวของเธอ มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ พ.ศ. 2556เยาวภา ลงสมัครในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 แทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเกษม นิมมลรัตน์ ขอลาออก โดยให้เหตุผลว่า ต้องการทำงานการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่มากกว่า แต่มีการกล่าวหาว่า เพื่อเปิดทางให้เยาวภา ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเตรียมไว้เป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง[12][13] แต่เยาวภาและเกษม ปฏิเสธข่าวดังกล่าว[14] การเลือกตั้งมีขึ้น ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยเยาวภาจับสลากได้หมายเลข 2 และได้ 67,101 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 64.92 จึงได้รับการเลือกตั้ง[15] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น
|