จำลอง ครุฑขุนทด
จำลอง ครุฑขุนทด รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2 สมัย จำลองเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553[1] นอกจากนี้จำลองยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม 16[2] ประวัติจำลอง เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง เนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา การทำงานจำลอง เคยทำงานเป็นทนายความ ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมือง โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งซ่อมแทนนายมงคล สุคนธขจร ที่ได้ถึงแก่กรรมแล้ว หลังจากนั้น จำลองได้ย้ายมาสังกัดพรรคปวงชนชาวไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2535 และย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และพรรคชาติพัฒนา ที่ต่อมาได้ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย จำลอง เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 และดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2535 กระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จำลองได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ[3] และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง ในรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 และเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4] ในปี พ.ศ. 2561 จำลองได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] กระทั่งปี พ.ศ. 2565 จำลองได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและย้ายมาสังกัด พรรครวมแผ่นดิน และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค[6] ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เขาได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมแผ่นดิน พร้อมลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคและตำแหน่งเลขาธิการพรรค[7] จากนั้นจำลองได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติพร้อมกับได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[8] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |