Share to:

 

มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย)

มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย)
ชื่อย่อม.ว.ท. / WTUT
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา18 ธันวาคม พ.ศ. 2540[1]
อธิการบดีดร. เอลิซาเบ็ท (เบ็ท) เจ. สโตรเบิล
ผู้ศึกษา178 คน (2551)[2]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตชะอำ/หัวหิน
เลขที่ 143 หมู่ 5 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
ศูนย์วิชาการกรุงเทพฯ
เลขที่ 1 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 4 (เอ็ม สเปซ โซน) ถนนสาทร แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
สี████ สีน้ำเงิน สีเหลือง
เว็บไซต์www.webster.ac.th

มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) (อังกฤษ: Webster University Thailand) เป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย โดยผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2540[3][4] โดยเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และได้เลิกกิจการตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2564[5][6]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยเวบสเตอร์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งมีสาขาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรีย, เบอร์มิวดา, จีน, อังกฤษ, สวิตเซอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย สำหรับในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเวบสเตอร์เคยเปิดทำการเรียนการสอนใน 2 แห่ง ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยเวบสเตอร์ ศูนย์วิชาการกรุงเทพฯ
  • มหาวิทยาลัยเวบสเตอร์ วิทยาเขตชะอำ/หัวหิน

โดยมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ต้นสังกัดตั้งอยู่ที่เมือง เว็บสเตอร์โกรฟซ์ (ชานเมืองเซ็นต์หลุยส์) ในรัฐมิสซูรี

หลักสูตร

มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ เคยเปิดสอนในประเทศไทย ดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย)
ที่ตั้งสาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

ศูนย์วิชาการกรุงเทพฯ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ

หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน

วิทยาเขตชะอำ/หัวหิน

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการจัดการการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการการบริหารทรัพยากรบุคคล
  • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
  • สาขาวิชาจิตวิทยา

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ

หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya