Share to:

 

บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี

บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี

British Indian Ocean Territory (อังกฤษ)
คำขวัญ"In tutela nostra Limuria"   (Latin)
"Limuria is in our charge"
เพลงชาติGod Save the King
เพลงประจำชาติ:I Vow to Thee, My Country
ที่ตั้งของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี
เมืองหลวงดีเอโกการ์ซีอา (ฐานทัพ)
เมืองใหญ่สุดดิเอโกการ์เซีย
ภาษาราชการอังกฤษ
กลุ่มชาติพันธุ์
95.88% บริติชและอเมริกัน, 4.12% อื่น ๆ[1]
การปกครองอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
• ประมุข
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
• ข้าหลวง
Paul Candler
• ผู้บริหาร
Balraj Dhanda
พื้นที่
• รวม
60 ตารางกิโลเมตร (23 ตารางไมล์)
99.89
ประชากร
• พ.ศ. 2555 ประมาณ
≈ 2,500[2]
58.3 ต่อตารางกิโลเมตร (151.0 ต่อตารางไมล์)
สกุลเงิน
เขตเวลาUTC+6
ขับรถด้านright
รหัสโทรศัพท์246
โดเมนบนสุด.io
ภาพถ่ายทางอากาศมองเห็นดีเอโกการ์ซีอา

บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี (อังกฤษ: British Indian Ocean Territory) หรือ หมู่เกาะชาโกส เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างแอฟริกากับอินโดนีเซีย อาณาเขตครอบคลุมอะทอลล์ทั้ง 6 แห่งที่เชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะชาโกส มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร[4] เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะดีเอโกการ์ซีอา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของกองกำลังผสมสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

ประวัติ

ชาวเกาะมัลดีฟส์ รู้จักหมู่เกาะชาโกสเป็นอย่างดี[7] ในตำนานของมัลดีฟส์ พวกเขารู้จักในชื่อ Feyhandheebu (มัลดีฟส์: ފޭހަންދީބު) หรือ Hollhavai (ชื่อหลังเป็นคำเรียกโดยชาวเกาะมัลดีฟส์ทางใต้ ที่อยู่ใกล้กับหมู่เกาะชาโกส) จากเรื่องเล่าของชาวเกาะมัลดีฟส์ทางใต้ เมื่อมีพ่อค้าหรือชาวประมงประสบเหตุสูญหายในทะเล ก็มักจะพบว่าติดอยู่บนเกาะของหมู่เกาะชาโกส และในที่สุดพวกเขาจะถูกช่วยเหลือและได้เดินทางกลับบ้าน อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะนี้ถูกพิจารณาว่าอยู่ไกลเกินไปจากศูนย์อำนาจของราชวงศ์มัลดีฟส์ในการที่จะตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ดังนั้นหมู่เกาะชาโกสจึงถูกละเลยจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าว

เกาะต่าง ๆ ของหมู่เกาะชาโกสถูกทำแผนที่โดยวัชกู ดา กามา (โปรตุเกส: Vasco da Gama) ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษี่ 18 ฝรั่งเศสได้อ้างสิทธิ์ในดินแดนโดยเป็นส่วนหนึ่งของมอริเชียส พวกเขาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกโดยชาวฝรั่งเศสในอาณานิคมมอริเชียส ได้นำแรงงานทาสชาวแอฟริกันและแรงงานชาวอินเดียมาทำการปลูกสวนมะพร้าว[8] ในปี พ.ศ. 2353 มอริเชียสได้ถูกยึดครองโดยสหราชอาณาจักรโดยฝรั่งเศสยอมยกดินแดนให้ตามสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1814), (เพื่อการยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6)

ในปี 2508 สหราชอาณาจักรแยกหมู่เกาะชาโกสออกจากมอริเชียส และแยกเกาะ Aldabra, Farquhar และ Desroches (Des Roches) จากเซเชลส์ มาจัดตั้งเป็น บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนในการก่อสร้างหน่วยงานทางทหาร เพื่อดูแลผลประโยชน์ของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะถูกจัดตั้งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508[9] ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2519 เกาะ Aldabra, Farquhar และ Desroches ได้กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเซเชลส์ ซึ่งเป็นผลของการประกาศเอกราช หลังจากนั้นบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี จึงประกอบด้วยเกาะหลักเพียงหกกลุ่มของหมู่เกาะชาโกสเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2533 ธงของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ผืนธงประกอบด้วยภาพสัญลักษณ์ของธงสหภาพ (Union Jack), มีภาพของมหาสมุทรอินเดียซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่เกาะในรูปแบบของริ้วคลื่นสีขาวและน้ำเงิน และมีภาพต้นมะพร้าวเหนือภาพของมงกุฎแห่งบริเตน[10]


อ้างอิง

  1. Ben Cahoon. "British Indian Ocean Territory". worldstatesmen.org.
  2. "The Overseas Territories – Security, Success and Sustainability" (PDF). UK Foreign and Commonwealth Office. สืบค้นเมื่อ 27 October 2016.
  3. "FCO country profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-03-27.
  4. 4.0 4.1 "British Indian Ocean Territory". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-09-16.
  5. "British Indian Ocean Territory Currency". GreenwichMeantime.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2013.
  6. Pobjoy Mint Ltd (17 May 2009). "Launch of First Commemorative British Indian Ocean Territory Coin". coinnews.net. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
  7. Xavier Romero-Frias (1999). "1 A Seafaring Nation". The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom. Barcelona: Nova Ethnographia Indica. p. 19. ISBN 84-7254-801-5.
  8. Vine, David (17 April 2008). "Introducing the other Guantanamo". Asia Times. atimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 5 April 2013.
  9. United States Dept. of State. Office of the Geographer (1968). Commonwealth of Nations. U.S. Government Printing Office. p. 15. สืบค้นเมื่อ 7 November 2013.
  10. "British Indian Ocean Territory". WorldAtlas.com. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya