ชุดตัวอักษรอิสมาน
ชุดตัวอักษรอิสมาน (โซมาลี: Farta Cismaanya, 𐒍𐒖𐒇𐒂𐒖 𐒋𐒘𐒈𐒑𐒛𐒒𐒕𐒖) มีอีกชื่อว่า ฟาร์ซอมาลี (𐒍𐒖𐒇 𐒘𐒝𐒈𐒑𐒛𐒘, "ระบบการเขียนโซมาลี") และในภาษาอาหรับว่า อัลกิตาบะฮ์ อัลอุษมานียะฮ์ (الكتابة العثمانية; "ระบบการเขียนอุษมาน") เป็นอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1920 ถึง 1922 โดยอิสมาน ยูซุฟ เคนาดีด (Cismaan Yuusuf Keenadiid) โอรสในสุลต่านยูซุฟ อาลี เคนาดีด และพระอนุชาในสุลต่านอาลี ยูซุฟ เคนาดีด แห่งรัฐสุลต่านฮอบยอ เพื่อใช้เขียนภาษาโซมาลี ประวัติในขณะที่อักษรอิสมานได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางพอสมควรในประเทศโซมาเลีย และมีการผลิตวรรณกรรมจำนวนมากอย่างรวดเร็ว แต่เป็นเรื่องยากที่อักษรนี้จะแพร่หลายในหมู่ประชากร เนืองจากการแข่งขันที่รุนแรงกับอักษรอาหรับที่ดำรงมาอย่างยาวนาน กับชุดตัวอักษรละตินโซมาลีที่เกิดขึ้นใหม่ ได้รับการพัฒนาโดยนักวิชาการภาษาโซมาลีชั้นนำ เช่น Musa Haji Ismail Galal, B. W. Andrzejewski และ Shire Jama Ahmed[1][2] เมื่อความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากภาษาโซมาเลียสูญเสียอักษรโบราณไปนานแล้ว[3] การนำระบบการเขียนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาปรับใช้สำหรับภาษาโซมาลีกลายเป็นประเด็นสำคัญของการสนทนา หลังเป็นเอกราช การพูดคุยในเรื่องนี้ไม่ค่อยมีความก้าวหน้า เนื่องมีความเห็นต่างกันว่าควรใช้อักษรอาหรับหรืออักษรละตินในการเขียนภาษานี้ เนื่องด้วยความเรียบง่ายของอักษรละติน การรองรับเสียงในภาษานี้ทั้งหมด และการมีอยู่ของเครื่องจักรและเครื่องพิมพ์ดีดที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานอย่างกว้างขวาง[4][5] ทำให้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1972 ประธานาธิบดีมาฮัมเหม็ด ซิยาด บาร์รี ต้องการให้ใช้อักษรละตินในการเขียนภาษาโซมาลีแทนอักษรอาหรับหรืออิสมาน[6] รายละเอียดอักษรอิสมานเขียนและอ่านจากซ้ายไปขวา ชื่อตัวอักษรอิงมาจากชื่ออักษรในอักษรอาหรับ และสระยาว uu และ ii แทนที่ด้วยอักษร waaw และ yaa ตามลำดับ อักษร
ตัวเลข
อ้างอิง
ข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่น |