ป้ายไชนาโพสต์ในอักษรไทลื้อใหม่ (ข้างบนอักษรจีน) ที่บ่อหาน มณฑลยูนนาน อ่านว่า hoŋ⁴ faːk¹ haːi¹ tsoŋ⁵ ko⁶ ("โฮงฝากหายโจ๋งโก่" แปลว่า สำนักงานการไปรษณีย์ประเทศจีน)
อักษรไทลื้อใหม่ (ᦟᦲᧅᦷᦎᦺᦑᦟᦹᧉ "หลิกโต๊ไตหลื่อ" ) หรือเรียกอีกชื่อว่า สิบสองปันนาไต่[ 4] และอักษรไทตัวย่อ เป็นอักษรสระประกอบ ที่ใช้เขียนภาษาไทลื้อ โดยพัฒนาในประเทศจีน ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 อักษรไทลื้อใหม่มีฐานจากอักษรธรรมล้านนา ที่พัฒนาขึ้นใน ป. ค.ศ. 1200 รัฐบาลจีนสนับสนุนอักษรนี้ไว้แทนที่อักษรแบบเก่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการบังคับสอนด้วยอักษรนี้ ทำให้หลายคนไม่สามารถอ่านอักษรไทลื้อใหม่ได้ นอกจากนี้ ชุมชนชาวไทลื้อในประเทศพม่า , ลาว , ไทย และเวียดนาม ยังคงใช้อักษรธรรมล้านนา ต่อไป
ประวัติ
อักษรไทลื้อเก่า
มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรล้านนา เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธ จากอาณาจักรล้านนา
อักษรไทลื้อใหม่
พัฒนามาจากอักษรไทลื้อเก่าเมื่อราว พ.ศ. 2493 เพื่อใช้แทนอักษรเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 1743 อักษรแบ่งเป็นอักษรสูงกับอักษรต่ำ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดจะมีรูปเฉพาะ รัฐบาลจีน ได้รณรงค์ให้ชาวไทลื้อในจีนใช้อักษรนี้ แต่หลังจาก พ.ศ. 2523 ชาวไทลื้อได้รื้อฟื้นอักษรแบบเดิมขึ้นมาอีก ส่วนชาวไทลื้อในลาว พม่าและไทย ยังใช้อักษรแบบเดิมอยู่
พยัญชนะ
ต้น
พยัญชนะมักมาเป็นคู่เพื่อระบุเสียงวรรณยุกต์ 2 อัน (สูงและต่ำ) ซึ่งคล้ายกับอักษรไทย และอักษรลาว [ 4]
สัทอักษรสากล
อักษรสูง (ไทลื้อใหม่)
เทียบรูปอักษรไทย
อักษรต่ำ (ไทลื้อใหม่)
เทียบรูปอักษรไทย
/ka/
ᦂ
ก
ᦅ
ค
/xa/
ᦃ
ข
ᦆ
ฅ
/ŋa/
ᦄ
หฺง
ᦇ
ง
/t͡sa/
ᦈ
จ
ᦋ
ช
/sa/
ᦉ
ส
ᦌ
ซ
/ja/
ᦊ
ย, อฺย (ตรงกับ ຢ ຢາ ในอักษรลาว)
ᦍ
ย
/da/
ᦡ
ด
ᦤ
ด
/ta/
ᦎ
ต
ᦑ
ท
/tʰa/
ᦏ
ถ
ᦒ
ธ
/na/
ᦐ
หฺน
ᦓ
น
/ba/
ᦢ
บ
ᦥ
บ
/pa/
ᦔ
ป
ᦗ
พ
/pʰa/
ᦕ
ผ
ᦘ
ภ
/fa/
ᦚ
ฝ
ᦝ
ฟ
/ma/
ᦖ
หฺม
ᦙ
ม
/la/
ᦜ
หฺล
ᦟ
ล
/wa/
ᦛ
หฺว
ᦞ
ว
/ha/
ᦠ
ห
ᦣ
ร/ฮ
/ʔa/
ᦀ
อ
ᦁ
อ
/kʷa/
ᦦ
กฺว
ᦨ
คฺว
/xʷa/
ᦧ
ขฺว
ᦩ
ฅฺว
/sʷa/
ᦪ
สฺว
ᦫ
ซฺว
ท้าย
พยัญชนะท้ายไม่มีเสียงท้ายดั้งเดิมเป็นสระ /a/[ 4] แต่จะมีรูปพยัญชนะหน้าดัดแปลงเป็นเครื่องหมายวิราม ลักษณะคล้ายตะขอ:
สัทอักษรสากล
รูปอักษรไทลื้อใหม่
เทียบรูปอักษรไทย
หมายเหตุ
/k̚/
ᧅ
ก
มาตราตัวสะกดแม่ กก
/t̚/
ᧆ
ด
มาตราตัวสะกดแม่ กด
/p̚/
ᧇ
บ
มาตราตัวสะกดแม่ กบ
/ŋ/
ᧂ
ง
มาตราตัวสะกดแม่ กง
/n/
ᧃ
น
มาตราตัวสะกดแม่ กน
/m/
ᧄ
ม
มาตราตัวสะกดแม่ กม
/w/
ᧁ
ว
มาตราตัวสะกดแม่ เกอว
/ʔ/
ᦰ
ะ
เครื่องหมายวิสรรชนีย์ สำหรับพยางค์ที่ ไม่มีพยัญชนะท้าย (มาตราตัวสะกดแม่ ก กา)
สระ
พยัญชนะมีสระดั้งเดิมเป็นสระ /a/
ในตารางข้างล่าง '◌' แสดงเป็นพยัญชนะและใช้ระบุที่ตั้งของสระหลายแบบ:
สระเสียงสั้น
สระเสียงยาว
สระประสม เสียง i (มาตราตัวสะกดแม่ เกอย)
อักษรไทลื้อใหม่
เทียบรูปอักษรไทย
สัทอักษรสากล
อักษรไทลื้อใหม่
เทียบรูปอักษรไทย
สัทอักษรสากล
อักษรไทลื้อใหม่
เทียบรูปอักษรไทย
สัทอักษรสากล
ไม่มี
ไม่มี
/a/
ᦺ◌
ไ-
/aj/
◌ᦰ
-ะ
/aʔ/
◌ᦱ
-า
/aː/
◌ᦻ
-าย
/aːj/
◌ᦲᦰ
-ิ
/iʔ/
◌ᦲ
-ี
/i(ː)/
◌ᦹᦰ
-ึ
/ɯʔ/
◌ᦹ
-ื
/ɯ(ː)/
◌ᦿ
-ืย
/ɯj/
ᦵ◌ᦰ
เ-ะ
/eʔ/
ᦵ◌
เ-
/e(ː)/
ᦶ◌ᦰ
แ-ะ
/ɛʔ/
ᦶ◌
แ-
/ɛ(ː)/
◌ᦳ
-ุ
/u(ʔ)/
◌ᦴ
–ู
/uː/
◌ᦼ
–ูย
/uj/
ᦷ◌ᦰ
โ-ะ
/oʔ/
ᦷ◌
โ-
/o(ː)/
◌ᦽ
-วย
/oj/
◌ᦸᦰ
เ-าะ
/ɔʔ/
◌ᦸ
-อ
/ɔ(ː)/
◌ᦾ
-อย
/ɔj/
ᦵ◌ᦲᦰ
เ-อะ
/ɤʔ/
ᦵ◌ᦲ
เ-อ, เ-ิ
/ɤ(ː)/
ᦵ◌ᧀ
เ-อย, เ-ย
/ɤj/
วรรณยุกต์
อักษรไทลื้อใหม่มีสัญลักษณ์วรรณยุกต์สองแบบที่ท้ายพยางค์: ᧈ และ ᧉ [ 4]
เนื่องจากการแสดงวรรณยุกต์ 2 เสียงต้องใช้พยัญชนะ 2 ตัว เครื่องหมายเสียงวรรณยุกต์จึงสามารถแสดงรูปวรรณยุกต์เฉพาะได้ 6 เสียง:
เสียงสูง
เสียงต่ำ
สัญลักษณ์
ᧈ
ᧉ
ᧈ
ᧉ
แสดงด้วยอักษรเสียง k
ᦂ
ᦂᧈ
ᦂᧉ
ᦅ
ᦅᧈ
ᦅᧉ
เทียบรูปอักษรไทย
ก
ก่
ก้
ค
ค่
ค้
สัทอักษรสากล
/ka˥/
/ka˧˥/
/ka˩˧/
/ka˥˩/
/ka˧/
/ka˩/
ทับศัพท์
ka¹
ka²
ka³
ka⁴
ka⁵
ka⁶
อักษรย่อ
มีการใช้อักษรย่อแค่สองตัวอักษร:
คำว่า ᦶᦟᦰ และ (/lɛʔ˧/) สามารถย่อได้เป็น ᧞
คำว่า ᦶᦟᧁᧉ แล้ว (/lɛu˩/) สามารถย่อได้เป็น ᧟
ตัวเลข
อักษรไทลื้อมีชุดตัวเลขของตัวเอง:
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
᧐
᧑/᧚
᧒
᧓
᧔
᧕
᧖
᧗
᧘
᧙
ถ้าเลข ᧑ อาจสับสนกับสระ ᦱ จะมีการใช้รูปอักขระเลขหนึ่งอีกแบบ (᧚ ) แทน[ 4]
ยูนิโคด
ดูเพิ่ม
อ้างอิง