Share to:

 

อักษรไทใหญ่

อักษรไทใหญ่
လိၵ်ႈတႆး
ชนิด
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาไทใหญ่
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบลูก
ลิก-ไท
ยูนิโคด
ช่วงยูนิโคด
[a] The Semitic origin of the Brahmic scripts is not universally agreed upon.

อักษรไทใหญ่ (ไทใหญ่ː တူဝ်လိၵ်ႈတႆး ตัวลิกไต [โต๋ลิกไต๊], สัทอักษร: /tǒ.lḭk.táj/) พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง (อักษรถั่วงอก) เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ทางอังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวไทใหญ่พัฒนาอักษรของตนขึ้นใหม่ และจัดให้มีการพิมพ์ ทำให้รูปอักษรที่เกิดจากการหล่อตัวพิมพ์มีลักษณะป้อม กลมคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น

พยัญชนะในภาษาไทใหญ่มีทั้งหมด 18 ตัว แต่มีการเพิ่มอีก 5 เสียงจัตวา ไม่มีรูปวรรณยุกต์

ประวัติ

ชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ 2 ชนิดคือ ลิ่กถั่วงอกใช้เขียนเอกสารทั่วไปกับลิ่กยวนใช้เขียนเอกสารทางศาสนา อักษรไทใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์พม่าเชื่อว่ารับมาจากพม่า ในขณะที่ชาวไทใหญ่เชื่อว่าพัฒนามาจากอักษรเทวนาครี และอักษรมอญ โดยอักษร "อ" ของอักษรไทใหญ่ มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนอักษรชนิดใดเลย แต่คล้ายกับตัว"อ" ของอักษรมอญในจารึกภาษามอญที่เจดีย์ปีชเวชานดอ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 โดยทั่วไป ทฤษฎีที่อธิบายที่มาของอักษรไทใหญ่เป็นดังนี้

อักษรของชาวไทเหนือในเขตใต้คงเป็นตัวเหลี่ยมหรือลิ่กถั่วงอก มีหลักฐานว่าในสมัยราชวงศ์หมิง มีการตั้งสำนักงานหยีสี่เป้าเพื่อแปลเอกสารที่เขียนด้วยภาษาไทเหนือ แสดงว่าชาวไทใหญ่มีอักษรเป็นของตนเองมานาน

อักษรไทใหญ่มีพยัญชนะไม่ครบสำหรับเขียนภาษาบาลี ทำให้เป็นไปได้ว่าชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามาถึง เมื่อได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ชาวไทใหญ่จึงรับอักษรพม่าเข้ามาใช้เขียนแทนเสียงที่อักษรไทใหญ่ไม่มี

เอกสารภาษาไทใหญ่ที่เก่าแก่และเขียนด้วยลิ่กถั่วงอกคือ พื้นศาสนาแสน ลิ่กถั่วงอกนี้ผอม รูปเหลี่ยม เอนซ้าย จากนั้นจึงพัฒนาการเขียนมาสู่ระบบกำเยน อักษรกลมมากขึ้น และเริ่มนำอักษรพม่ามาใช้ และเพิ่มสัญลักษณ์เครื่องหมายต่าง ๆ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นระบบตัวมน ซึ่งพบในชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน ส่วนชาวไทมาวยังใช้อักษรแบบเดิม

เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 24 วรรณกรรมภาษาไทใหญ่ได้รับอิทธิพลจากภาษาพม่ามากขึ้น มีการใช้ภาษาพม่าปะปนกับภาษาไทใหญ่มากขึ้น เมื่อมีการพิมพ์ไบเบิลภาษาไทใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2428 ตัวพิมพ์ของอักษรไทใหญ่มีลักษณะกลมมนคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น และมีเครื่องหมายเฉพาะที่ต่างไปจากอักษรไทใหญ่ในคัมภีร์

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 รัฐบาลของสมาพันธรัฐไทใหญ่ได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปอักษรไทใหญ่ที่เมืองตองจี และได้ปรับปรุงอักษรไทใหญ่ใหม่เรียกว่าใหม่สูงลิ่กไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2512 สภาไทใหญ่ได้ปรับปรุงตัวอักษรใหม่อีก และใน พ.ศ. 2517 ก็มีการปรับปรุงอักษรไทใหญ่อีกชุดหนึ่งที่เมืองสีป้อ ทำให้มีประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับอักษรไทใหญ่มากและยังหาข้อสรุปไม่ได้

อักษรไทใหญ่กับภาษาบาลี

แต่เดิม ชาวไทใหญ่ใช้ลิ่กยวนเขียนภาษาบาลี ต่อมาพยายามเปลี่ยนมาใช้ลิ่กถั่วงอกและลิ่กตัวมน แต่อักษรไม่พอ ทำให้ไม่มีระบบการเขียนเป็นมาตรฐาน ต่อมาจึงมีการนำอักษรพม่ามาใช้เขียนภาษาบาลี ในปัจจุบัน ได้มีความพยายามที่จะเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทใหญ่อีกครั้ง มีการจัดประชุมระหว่างพระสงฆ์ไทใหญ่และชาวไทใหญ่หลายครั้งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ใน พ.ศ. 2500 ที่ประชุมเสนอให้เขียนพระไตรปิฎกด้วยอักษรพม่าแล้วแปลเป็นภาษาไทใหญ่ที่เขียนด้วยอักษรไทใหญ่ แต่พระสงฆ์ไทใหญ่ก็ยังไม่พอใจ ใน พ.ศ. 2518 มีการจัดประชุมพระสงฆ์ไทใหญ่ที่เชียงใหม่ และได้มีการประดิษฐ์อักษรไทใหญ่สำหรับเขียนภาษาบาลี แต่ยังไม่มีระบบใดได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ

พยัญชนะ

พยัญชนะหลัก

รูปอักษรไทใหญ่ ชื่ออักษรในภาษาไทใหญ่ เทียบรูปอักษรไทย สัทอักษร หมายเหตุ
ก้ะ ไก่ (ၵ ၵႆႇ) /k/
ข้ะ ไข่ (ၶ ၶႆႇ) ข, ค /kʰ/
ง่ะ งู้ (င ငူး) /ŋ/ งู้ (ငူး) แปลว่า งู ในภาษาไทย
จ้ะ จ้าง (ၸ ၸၢင်ႉ) /t͡s/, /s/ จ้าง (ၸၢင်ႉ) แปลว่า ช้าง (ไม่มีเสียง ช ช้าง)
ส้ะ แสง (သ သႅင်) ซ, ศ, ษ, ส /sʰ/ แสง (သႅင်) แปลว่า อัญมณี
ญ่ะ หญ่อง (ၺ ၺွင်ႇ) /ɲ/ เสียง /ญ/ ในที่นี้เป็นเสียงนาสิก (เสียงขึ้นจมูก) แบบเดียวกับที่ปรากฏในภาษาอีสาน ภาษาคำเมือง ไม่มีในภาษาไทย, หญ่อง (ၺွင်ႇ) แปลว่า ต้นโพธิ์ (มาจากภาษาพม่า ညောင်)
ต้ะ เต่า (တ တဝ်ႇ) ฏ, ต /t/
ถ้ะ ไถ (ထ ထႆ) ฐ, ถ, ท, ฑ /tʰ/ ไถ (ထႆ) แปลว่า คันไถ
น่ะ หนู (ၼ ၼူ) น, ณ /n/
ป้ะ ป๋า (ပ ပႃ) /p/ ป๋า (ပႃ) แปลว่า ปลา ในภาษาไทย (ไม่มีเสียง ล ควบกล้ำ)
ผ้ะ ผึ้ง (ၽ ၽိုင်ႈ) ผ, พ /pʰ/
ฟ่ะ ไฟ้ (ၾ ၾႆး) ฝ, ฟ /f/, /pʰ/ ไฟ้ (ၾႆး) แปลว่า ไฟ
ม่ะ ม่า (မ မႃႉ) /m/ ม่า (မႃႉ) แปลว่า ม้า
ย่ะ ยุ้ง (ယ ယုင်း) /j/ ยุ้ง (ယုင်း) แปลว่า ยุง
ร่ะ ร่ะฮ้าน (ရ ရႁၢၼ်း) /r/, /l/ ร่ะฮ้าน (ရႁၢၼ်း) แปลว่า พระสงฆ์, มาจากภาษาพม่า ရဟန်း, จากภาษาบาลี อรหนฺตฺ
ล่ะ ลิ้ง (လ လိင်း) ล, ฦ, ฬ /l/ ลิ้ง (လိင်း) แปลว่า ลิง
ว่ะ เว้ง (เสียงสั้น) (ဝ ဝဵင်း) /w/ เว้ง (ဝဵင်း) แปลว่า เวียง (ไม่มีเสียงสระเอีย)
ห้ะ หิ่ง (ႁ ႁိင်ႇ) ห, ฮ /h/ หิ่ง (ႁိင်ႇ) แปลว่า ระฆัง
อ้ะ อ่าง (ဢ ဢၢင်ႇ) /ʔ/

พยัญชนะเสริม

รูปอักษรไทใหญ่ ชื่ออักษรในภาษาไทใหญ่ เทียบรูปอักษรไทย สัทอักษร หมายเหตุ
ก้ะ /ɡ/ ก ก้อง คำยืมจากพม่า ไม่มีในภาษาไทย
ค้ะ /gh/ อักษรนี้ถูกสร้างมาเพื่อเขียนบาลีในอรรถาธิบายพุทธศาสนา
ช้ะ /ch/ อักษรนี้ถูกสร้างมาเพื่อเขียนบาลีในอรรถาธิบายพุทธศาสนา
ช้ะ /jh/ อักษรนี้ถูกสร้างมาเพื่อเขียนบาลีในอรรถาธิบายพุทธศาสนา
น้ะ /ṇ/ อักษรนี้ถูกสร้างมาเพื่อเขียนบาลีในอรรถาธิบายพุทธศาสนา
พ้ะ /bh/ อักษรนี้ถูกสร้างมาเพื่อเขียนบาลีในอรรถาธิบายพุทธศาสนา
บ้ะ /b/ คำยืมจากไทยและพม่า
ด้ะ /d/ คำยืมจากไทยและพม่า
ธ้ะ /θ/ ส แลบลิ้น คำยืมจากพม่า ไม่มีในภาษาไทย
ซะ /z/ ซ ก้อง ไม่มีในภาษาไทย

สระ

สระเสียงหลัก มี 12 รูป

รูปสระ ตัวอย่างการผสมสระ ชื่อสระในภาษาไทใหญ่ เทียบรูปสระไทย สัทอักษร หมายเหตุ
- อ๋ะ
ၵႃ อ๋า
ၵိ อิ๋
ၵီ อี๋
ၵု อุ๋
ၵူ อู๋
ၵေ เอ๋
ၵႄ แอ๋
ူဝ် ၵူဝ် โอ๋
ေႃ ၵေႃ อ๋อ ออ
ိုဝ် ၵိုဝ် อื๋อ
ိူဝ် ၵိူဝ် เอ๋อ เ-อ

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่มี 5 รูป 6 เสียง

รูปวรรณยุกต์ ชื่อวรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่ เสียงวรรณยุกต์
- เป่า เสียงจัตวา
ยัก เสียงเอก
ยักจ้ำ เสียงสามัญท้ายโท
จ้ำหน้า เสียงสามัญท้ายตรี
จ้ำใต้ (จ้ำต้ะ-อึ) เสียงโทสั้น
ยักขึ้น เสียงสามัญ

ยูนิโคด

อักษรไทใหญ่ในยูนิโคด ใช้รหัสช่วงเดียวกันกับอักษรพม่า เพียงแต่มีส่วนขยายของอักษรไทใหญ่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าตามปกติ

พม่า
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+100x က
U+101x
U+102x
U+103x
U+104x
U+105x
U+106x
U+107x
U+108x
U+109x


อ้างอิง

  1. Diringer, David (1948). Alphabet a key to the history of mankind. p. 411.
Kembali kehalaman sebelumnya