อักษรมายา (อังกฤษ : Maya script ) หรือ รูปอักขระมายา (Maya glyphs ) เป็นระบบการเขียน ในอดีตของอารยธรรมมายา ในมีโซอเมริกา และเป็นระบบการเขียนมีโซอเมริกา อันเดียวที่มีการถอกรหัสแล้ว จารึกแรกสุดที่ถูกบันทึกเป็นอักษรมายาอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชที่ซันบาร์โตโล ประเทศกัวเตมาลา [ 1] [ 2] อักษรมายายังคงมีผู้ใช้งานทั่วมีโซอเมริกาจนกระทั่งการพิชิตมายาของสเปน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17
อักษรมายาใช้ตัวหนังสือคำ ที่เติมเต็มด้วยชุดรูปอักขระ พยางค์ ซึ่งคล้ายกับระบบในอักษรญี่ปุ่น สมัยใหม่ นักสำรวจชาวยุโรปยุคแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 เคยเรียกอักษรมายาเป็น "ไฮเออโรกลีฟ " เพราะพบว่ามีรูปร่างทั่วไปที่ทำให้นึกถึงไฮเออโรกลีฟอียิปต์ ถึงแม้ว่าทั้งสองระบบการเขียนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ก็ตาม
ถึงแม้ว่าตระกูลภาษามายา สมัยใหม่เกือบทั้งหมดเขียนด้วยอักษรละติน มากกว่าอักษรมายา ในปัจจุบัน มีการพัฒนาและส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูรูปอักขระมายาแบบดั้งเดิม
การค้นพบ
อักษรมายารุ่นแรกที่พบอายุราว พ.ศ. 293 แต่อาจพัฒนามาก่อนหน้านี้ การค้นพบของนักโบราณคดีในปัจจุบันพบว่า อารยธรรมมายาน่าจะเริ่มต้นราว 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช ราว พ.ศ. 2109 บิช็อปคนแรกแห่งยูกาตัน ดีโก เด ลันดา เรียบเรียงวิธีเขียนภาษามายา ด้วยอักษรละติน แบบสเปน 27 ตัว และรูปอักษรมายาที่มีเสียงเดียวกัน เป็นที่รู้จักในเวลาต่อมาว่าอักษรลันดา และช่วยในการถอดความจารึกภาษามายา
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอักษรมายาไม่ใช่ระบบการเขียนที่สมบูรณ์ ต่อมา พ.ศ. 2493 นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซีย ยูริ วาเลนติโนวิช คโนโรซอฟ (Yuri Valentinovich Knorosov) เสนอว่า อักษรมายาใช้เขียนภาษามายายูคาแทซ แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก จนช่วง พ.ศ. 2513 – 2532 มีความก้าวหน้าในการถอดความมากขึ้น จนส่วนใหญ่สามารถอ่านได้แล้วในปัจจุบัน
ลักษณะ
ข้อความภาษามายาส่วนใหญ่มักเขียนเป็นแนวตั้งกว้างสองรูปอักษร โดยแต่ละคู่แนวตั้งจะอ่านจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง
อักษรมายามี 550 ตัว (แทนคำทั้งคำ) และ 150 ตัวแทนพยางค์ 100 ตัวแทนชื่อสถานที่และชื่อเทพเจ้า ราว 300 ตัวใช้โดยทั่วไป ตัวอย่างของอักษรพบตามจารึกหินและเขียนบนเปลือกไม้ เครื่องปั้นดินเผา และเอกสารบางส่วนในกัวเตมาลา เม็กซิโก และภาคเหนือของเบลีซ หลายพยางค์เขียนด้วยรูปอักษรมากกว่า 1 ตัว เขียนในคอลัมน์คู่ อ่านจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างในแนวซิกแซ็ก
พยางค์
พยางค์มักอยู่ในรูปพยัญชนะ + สระ โดยแนวนอนข้างบนประกอบด้วยรูปสระ ส่วนแนวตั้งซ้ายเป็นรูปพยัญชนะที่มีวิธีการออกเสียง รูปอะพอสทรอฟี (') แสดงเป็นเสียงหยุด เส้นเสียง รูปอักขระในช่องตารางเดียวกันมีรูปเขียนแตกต่างกัน ช่องว่างคือส่วนที่ยังไม่ทราบรูปอักขระ[ 4]
a
e
i
o
u
b’
ch /tš/
ch’
h /h/
j /x/
k
k’
l
m
n
p
s
t
t’
tz /ts/
tz’
w
x /š/
y /j/
a
e
i
o
u
ตัวอย่าง
จากสุสานของKʼinich Janaabʼ Pakal :
maya exx
ทับศัพท์
แถว
รูปอักขระ
เสียงอ่าน
I
J
I
J
4
ya k’a wa
ʔu(?) K’UH hu lu
yak’aw
ʔuk’uhul
5
PIK
1-WINAAK-ki
pik
juʔn winaak
6
pi xo ma
ʔu SAK hu na la
pixoʔm
ʔusak hunal
7
ʔu-ha
YAX K’AHK’ K’UH?
ʔuʔh
Yax K’ahk’ K’uh?
8
ʔu tu pa
K’UH? ?
ʔutuʔp
k’uh(ul)? ...l
9
ʔu KOʔHAW wa
?[CHAAK] ...m
ʔukoʔhaw
Chaahk (‘GI’)
10
SAK BALUʔN
-
Sak Baluʔn
-
ข้อความ: Yak’aw ʔuk’uhul pik juʔn winaak pixoʔm ʔusak hunal ʔuʔh Yax K’ahk’ K’uh(?) ʔutuʔp k’uh(ul)? ...l ʔukoʔhaw Chaahk (‘GI’) Sak Baluʔn.
แปล: «เขาประทานเครื่องแต่งกายแก่เทพเจ้า [ประกอบด้วย] เครื่องสวมศีรษะยี่สิบเก้าอัน, ริบบิ้นสีขาว, สร้อยคอ, ต่างหูของเทพแห่งไฟองค์แรก และหมวกตราทรงสี่เหลี่ยมของเทพเจ้า ให้แก่ Chaahk Sak-Balun»
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
บรรณานุกรม
Coe, Michael D. ; Van Stone, Mark L (2005). Reading the Maya Glyphs . London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28553-4 .
Coe, Michael D. (1992). Breaking the Maya Code . London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05061-9 .
Gronemeyer, Sven (2012). "Statements of Identity: Emblem Glyphs in the Nexus of Political Relations". ใน Jarosław Źrałka; Wiesław Koszkul; Beata Golińska (บ.ก.). Maya Political Relations and Strategies. Proceedings of the 14th European Maya Conference, Cracow, 2009 . Contributions in New World Archaeology. Vol. 4. Cracow: Polska Akademia Umiejętności and Uniwersytet Jagielloński. pp. 13–40.
Guéguen-Leclair, Guy (2012). Écriture maya. L’Alphabet consonantique dans les anciens textes mayas (Research papers).
Houston, Stephen D. (1993). Hieroglyphs and History at Dos Pilas: Dynastic Politics of the Classic Maya . Austin: University of Texas Press . ISBN 0-292-73855-2 .
Houston, Stephen D. (1986). Problematic Emblem Glyphs: Examples from Altar de Sacrificios, El Chorro, Rio Azul, and Xultun . Research Reports on Ancient Maya Writing, 3. (Mesoweb online facsimile ed.). Washington D.C.: Center for Maya Research. ASIN B0006EOYNY . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15 .
Kettunen, Harri; Helmke, Christophe (2020). Introduction to Maya Hieroglyphs (PDF) (ภาษาอังกฤษ, สเปน, ฝรั่งเศส, โปแลนด์, เดนมาร์ก, สโลวัก และ อิตาลี). Wayeb. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11 .
Lacadena, Alfonso; Wichmann, Søren (2004). "On the Representation of the Glottal Stop in Maya Writing". The Linguistics of Maya Writing . Salt Lake City: University of Utah Press. pp. 103–162.
Lacadena García-Gallo, Alfonso; Ciudad Ruiz, Andrés (1998). "Reflexiones sobre la estructura política maya clásica". ใน Andrés Ciudad Ruiz; Yolanda Fernández Marquínez; José Miguel García Campillo; Maria Josefa Iglesias Ponce de León; Alfonso Lacadena García-Gallo; Luis T. Sanz Castro (บ.ก.). Anatomía de una Civilización: Aproximaciones Interdisciplinarias a la Cultura Maya (ภาษาสเปน). Madrid: Sociedad Española de Estudios Mayas. ISBN 84-923545-0-X .
de Landa, Diego (1566) [From 1958 Porrua edition, with page numbers in parenthesis]. Prager, Christian (บ.ก.). "Relacion de las Cosas de Yucatán" (PDF) (ตีพิมพ์ 2002) – โดยทาง Wayeb.org.
Lebrun, David (Director) Guthrie, Rosey (producer) (2008). Breaking the Maya Code (Documentary). Night Fire Films. ASIN B001B2U1BE .
Mathews, Peter (1991). "Classic Maya emblem glyphs". ใน Culvert, T. Patrick (บ.ก.). Classic Maya Political History: Hieroglyphic and Archaeological Evidence . School of American Research Advanced Seminars. Cambridge and New York: Cambridge University Press . pp. 19 –29. ISBN 0-521-39210-1 .
Marcus, Joyce (1976). Emblem and State in the Classic Maya Lowlands: an Epigraphic Approach to Territorial Organization . Dumbarton Oaks Other Titles in Pre-Columbian Studies. Washington D.C.: Dumbarton Oaks Research Library and Collection , Harvard University Press . ISBN 0-88402-066-5 .
McKillop, Heather (2004). The ancient Maya : new perspectives . New York, N.Y.: W. W. Norton & Company, Inc. ISBN 978-0-393-32890-5 .
Montgomery, John (2004). How to Read Maya Hieroglyphs . Hippocrene Practical Dictionaries. New York: Hippocrene Books. ISBN 978-0-7818-1020-3 .
Montgomery, John (2002). Dictionary of Maya Hieroglyphs . New York: Hippocrene Books. ISBN 978-0-7818-0862-0 .
Saturno, William A.; Stuart, David ; Beltrán, Boris (3 March 2006). "Early Maya writing at San Bartolo, Guatemala" (PDF Science Express republ.) . Science . 311 (5765): 1281–3. Bibcode :2006Sci...311.1281S . doi :10.1126/science.1121745 . PMID 16400112 . S2CID 46351994 . สืบค้นเมื่อ 2007-06-15 .
Schele, Linda ; Miller, Mary Ellen (1992) [1986]. Blood of Kings: Dynasty and Ritual in Maya Art . Justin Kerr (photographer) (reprint ed.). New York: George Braziller. ISBN 0-8076-1278-2 .
Schele, Linda ; Freidel, David (1990). A Forest of Kings: The Untold Story of the Ancient Maya . New York: William Morrow. ISBN 0-688-07456-1 .
Soustelle, Jacques (1984). The Olmecs: The Oldest Civilization in Mexico . New York: Doubleday and Co. ISBN 0-385-17249-4 .
Stuart, David ; Houston, Stephen D. (1994). Classic Maya Place Names . Dumbarton Oaks Pre-Columbian Art and Archaeology Series. Vol. 33. Washington D.C.: Dumbarton Oaks Research Library and Collection , Harvard University Press . ISBN 0-88402-209-9 .
Tedlock, Dennis (2010). 2000 Years of Mayan Literature . California: University of California Press. ISBN 978-0-520-23221-1 .
Thompson, John Eric Sidney (1978). Maya hieroglyphic writing: An introduction (Civilization of the American Indian series) . California: University of Oklahoma Press. ISBN 978-0-8061095-8-9 .
Van Stone, Mark L (2010). 2012: Science and Prophecy of the Ancient Maya . California: Tlacaelel Press. ISBN 978-0-9826826-0-9 .
แหล่งข้อมูลอื่น