อักษรมอญ (มอญ : အက္ခရ်မန် , အခဝ်မန် ; พม่า : မွန်အက္ခရာ ) เป็นตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ และเป็นแม่แบบของอักษรอื่น เช่น อักษรพม่า อักษรไทย อักษรลาว อักษรล้านนา อักษรไทลื้อ และอักษรธรรมที่ใช้เขียนคัมภีร์ในอักษรธรรมล้านนา และอักษรธรรมลาว อักษรมอญ เป็นอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรพม่ามาก และสามารถนำไปใช้แทนอักษรพม่าได้ทุกตัว แต่อักษรพม่าไม่สามารถใช้แทนอักษรมอญได้ทุกตัว เพราะอักษรมอญมีตัวอักษรที่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าปกติ
ประวัติ
อักษรมอญโบราณ (มอญ : မအခဝ်လိက်မန်တြေံ ) พัฒนามาจากอักษรยุคหลังปัลลวะ พบจารึกอักษรนี้ในเขตหริภุญชัย เช่นที่ จารึกแม่หินบดเวียงมะโน[ 2] เวียงเถาะ อักษรมอญถูกพัฒนาขึ้นใช้ก่อนอักษรขอม และแตกต่างจากอักษรขอมที่พัฒนาจากอักษรในอินเดียใต้เช่นเดียวกันคือ อักษรมอญตัดบ่าอักษรออกไป ทำให้รูปอักษรค่อนข้างกลม ส่วนอักษรขอม เปลี่ยนบ่าอักษรเป็นศกหรือหนามเตย
อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบที่จังหวัดนครปฐม ในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึก วัดโพธิ์ร้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบอุษาคเนย์ ทั้งหมด ปรากฏเป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ แสดงว่ามอญใช้อักษรปัลลวะในการสื่อสาร[ 3] อักษรที่ประดิษฐ์เพิ่มนี้ยังได้พบในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ 14–15 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ[ 4]
สมัยกลาง
อักษรมอญเก่า 35 ตัว
จารึกในประเทศพม่าภาคเหนือ ส่วนมากได้จากเมืองพะขัน และเมืองแปร ศิลาจารึก เหล่านี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา กษัตริย์พุกาม ประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก
ศิลาจารึกพบที่วัดมหาวันจังหวัดลำพูน ลักษณะอักษรเป็นจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนจารึกเมียเซดี ของพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์พุกาม ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 1628 และ 1630 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน[ 5]
จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว) จารึกหลักนี้ถูกพบเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยบัญชีทะเบียนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ระบุว่าพบจารึกดังกล่าวที่วัดดอน ซึ่งอยู่ราว 250 เมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ในบริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[ 6]
จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด ) พบที่ฐานพระเจดีย์ด้านทิศตะวันออกของวัดจามเทวีหรือกู่กุด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[ 7]
จารึกธรรมมิกราชา พบจารึกดังกล่าวที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว) และจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด) ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[ 8]
จารึกวิหารโพธิ์ลังกา พบจารึกหลักนี้ที่วิหารโพธิ์ลังกา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2514 พบว่าภาษาที่ใช้ในจารึกมีทั้งภาษามอญโบราณและพม่าโบราณ โดยมีคำบาลี สันสกฤต ปะปน สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19[ 9]
จารึกในประเทศพม่าตอนใต้ เป็นจารึกของพระเจ้าธรรมเจดีย์ (พ.ศ. 2003–2034)
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16–17 ตัวอักษรมอญแบบปัลลวะได้คลี่คลายมาเป็นตัวอักษรสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าอักษรมอญโบราณและเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนกลายเป็นอักษรมอญปัจจุบันซึ่งมีลักษณะกลม ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน
อักษรมอญและพม่า
พยัญชนะมอญและพม่า
က (k)
ခ (hk)
ဂ (g)
ဃ (gh)
င (ng)
စ (c)
ဆ (hc)
ဇ (j)
ဈ (jh)
ည (ny)
ဋ (t)
ဌ (ht)
ဍ (d)
ဎ (dh)
ဏ (n)
တ (t)
ထ (ht)
ဒ (d)
ဓ (dh)
န (n)
ယ (y)
ရ (r)
လ (l)
ဝ (w)
သ (s)
ဟ (h)
ဠ (l)
(b)*
အ (a)
(b)*
สระลอยพม่า
အ (a)
ဣ (i)
ဤ (ii)
ဥ (u)
ဦ (uu)
ဧ (e)
ဩ (o)
ဪ (au)
สระลอยมอญ
အ (a)
အာ (aa)
ဣ (i)
(ii)*
ဥ (u)
ဥႂ (uu)
၉ (e)
အဲ (ua)
ဩ (au)
(aau)*
အံ (aom)
အး (a:)
สระประสม
ဢာ (aa)
ဢိ (i)
ဢီ (ii)
ဢု (u)
ဢူ (uu)
ေဢ (e)
ဢဲ (ua)
ေဢာ (au)
เครื่องหมาย และอักขระพิเศษ
ဢံ (อนุนาสิก )
ဢ့ (อนุสวาร )
ဢး (Visarga)
ဢ္ (Virama)
၊ (Little Section)
။ (Section)
၌ (Locative)
၍ (Completed)
၏ (Genitive)
၎ (Aforementioned)
ၐ (sha)
ၑ (ssa)
ၒ (r)
ၓ (rr)
ၔ (l)
ၕ (ll)
ၖ (r)
ၗ (rr)
ဢၘ (l)
ဢၙ (ll)
ตัวเลข
၀၁၂၃၄၅၆၇၈၉
ดูที่เลขมอญ และเลขพม่า
* มีใช้เฉพาะในภาษามอญ ไม่มีในชุดอักษรพม่า
?????
หน้านี้มีตัวอักษรพม่า ที่อาจจะไม่แสดงผล ควรติดตั้งฟอนต์ยูนิโคด 5.1 สำหรับอักษรพม่า
สมัยปัจจุบัน
ภาษามอญปัจจุบัน เป็นภาษาในระยะพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปีเศษ ในยุคนี้เป็นจารึกในใบลาน
ลักษณะ
พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ เสียงขุ่น) พื้นเสียงเป็นอะ พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ เสียงใส) พื้นเสียงเป็นเอียะ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน มีรูปพยัญชนะซ้อน เมื่อเป็นตัวควบกล้ำ
ยูนิโคด
อักษรมอญในยูนิโคด ใช้รหัสช่วงเดียวกันกับอักษรพม่า เพียงแต่มีส่วนขยายของอักษรมอญเพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าตามปกติ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
เชิงอรรถ
↑ Aung-Thwin 2005: 157
↑ พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกแม่หินบดเวียงมะโน" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
↑ ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย, ดอกรัก พยัคศรี, บ.ก. (24 มิถุนายน 2021). "จารึกวัดโพธิ์ร้าง" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
↑ ตรงใจ หุตางกูร (บ.ก.). "จารึกเสาแปดเหลี่ยม (ลพบุรี)" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 12 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2016 .
↑ พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (15 กรกฎาคม 2021). "จารึกวัดมหาวัน (ลำพูน)" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
↑ พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว)" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
↑ พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด)" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
↑ พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกธรรมมิกราชา" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
↑ พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (15 กรกฎาคม 2021). "จารึกวิหารโพธิ์ลังกา" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย . ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
บรรณานุกรม
พวน รามัญวงศ์ (2005). พจนานุกรมมอญ-ไทย ฉบับมอญสยาม . ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. ISBN 978-974-323-544-3 .
สุจิตต์ วงษ์เทศ (2005). อักษรไทย มาจากไหน . ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. ISBN 978-974-323-547-4 .
Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-824-82886-8 .
Bauer, Christian (1991). "Notes on Mon Epigraphy". Journal of the Siam Society . 79 (1): 35. ISSN 0304-226X .
Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland . Cambridge University Press. p. 136. ISBN 978-0-521-80496-7 .
Stadtner, Donald M. (2008). "The Mon of Lower Burma". Journal of the Siam Society . 96 : 198. ISSN 0304-226X .
Sawada, Hideo (พฤษภาคม–มิถุนายน 2013). Some Properties of Burmese Script (PDF) . 23rd Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 1–36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 20 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017 .
Jenny, Mathias (กรกฎาคม 2015). Foreign Influence in the Burmese Language (PDF) . International Conference on Burma/Myanmar Studies Burma/Myanmar in Transition: Connectivity, Changes and Challenges . Chiangmai, Thailand. pp. 1–21.
แหล่งข้อมูลอื่น