อักษรเบรลล์
อักษรเบรลล์ (อังกฤษ: Braille) เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็ก ๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลต (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป ประวัติหลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) เกิดที่เมืองกูเฟร (Coupvray) ใกล้กับปารีส ในประเทศฝรั่งเศส แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กของเขาที่เมืองลิล (Lisle) บิดาคือ ซิมง-เรเน เบรลล์ (Simon-René Braille) มีอาชีพทำอานม้า เมื่ออายุได้ 3 ปี เบรลล์ประสบอุบัติเหตุจากเข็มของบิดา ทำให้ตาข้างซ้ายบอด เมื่ออายุได้ 4 ปี โรคตาอักเสบอย่างรุนแรงทำให้เบรลล์ตาบอดทั้ง 2 ข้าง แต่เบรลล์ก็ยังได้เข้าเรียน ด้วยการสนับสนุนจากพ่อ ในปี ค.ศ. 1821 กัปตันชาร์ล บาบิเยร์ นายทหารแห่งกองทัพบกฝรั่งเศสได้มาเยี่ยมโรงเรียน และนำวิธีการส่งข่าวสารของทหารในเวลากลางคืน เรียกว่า night-writing มาลองใช้ ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้จุด 12 จุด และใช้ค่อนข้างยาก ในปีนั้นเอง เบรลล์ได้เริ่มประดิษฐ์อักษรที่ใช้ระบบจุดเช่นกัน เบรลล์ใช้จุดเพียง 6 จุด และใช้เพียงนิ้วเดียววางบนจุดทั้งหมด อักษรเบรลล์ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1868 เมื่อนายแพทย์โทมัส อาร์มิเทจ (Thomas Armitage) กับเพื่อนอีก 5 คน ผู้ก่อตั้ง British and Foreign Society for Improving the Embossed Literature of the Blind (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Royal National Institute of the Blind) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Braille's system ปัจจุบันอักษรเบรลล์ได้ถูกนำไปใช้ทั่วโลก ที่มาอักษรเบรลล์มาจากลำดับอักษรละตินในภาษาฝรั่งเศส โดยตัว w อยู่ท้ายสุด อักษรสิบตัวแรก a-j ใช้จุดสี่จุดบน (⠁|⠃|⠉|⠙|⠑|⠋|⠛|⠓|⠊|⠚) ซึ่งใช้แทนเลข 1-9 และ 0 ได้ คล้ายกับตัวเลขกรีก แม้ว่าจุดไม่ได้เรียงอย่างเห็นได้ชัด อักษรสามตัวแรกมีจุดน้อยที่สุด abc = 123 (⠁|⠃|⠉) อักษรที่เป็นสระสามตัว aei (⠁|⠑|⠊) และเลขคู่ 4, 6, 8, 0 (⠙|⠋|⠓|⠚) เรียงเป็นมุมฉาก อักษรสิบตัวถัดมา k–t จะเหมือนกับ a–j, แต่เพิ่มจุด 3 (จุดแดงในตารางด้านล่าง) ⠅|⠇|⠍|⠝|⠕|⠏|⠟|⠗|⠎|⠞
สิบตัวถัดมาเหมือนเดิม แต่เพิ่มจุด 3 และจุด 6 (จุดเขียวในตารางด้านล่าง) w ยังไม่เป็นอักษรฝรั่งเศสทางการในช่วงชีวิตของเบรลล์ ลำดับอักษรเบรลล์ฝรั่งเศสคือ u v x y z ç é à è ù (|⠥|⠧|⠭|⠽|⠵|⠯|⠿|⠷|⠮|⠾).[หมายเหตุ 1] สิบตัวถัดมา จบที่w เหมือนเดิม แต่ใช้จุด 6 (จุดม่วงตามตารางด้านบน) ไม่มีจุด 3. อนุกรม a–j เลื่อนลงหนึ่งจุด (⠂|⠆|⠒|⠲|⠢|⠖|⠶|⠦|⠔|⠴) ใช้เป็นเครื่องหมายวรรคตอน
ตอนแรกอักษรเบรลล์มีเก้าแถว แถวที่ห้าถึงเก้าใช้ขีดเช่นเดียวกับจุด แต่ใช้งานลำบากจึงถูกยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นเครื่องหมายบอกตัวเลข (⠼) ประวัติเบรลล์ในประเทศไทยอักษเบรลล์เริ่มมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยอาจารย์เจนีวีฟ คอลฟิลด์ (Genevieve Caulfield) ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดขึ้นในประเทศไทย 12 มกราคม พ.ศ. 2482 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสอนคนตาบอด นับว่าเป็นโรงเรียนสำหรับคนพิการแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ร่วมกำหนดรหัสโค้ดอักษรเบรลล์ไทยขึ้น ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด มีนักเรียนคนแรก คือ หม่อมเจ้าพวงมาศผกา ดิศกุล และได้ทำการเผยแพร่ในระบบการศึกษาและการประกอบอาชีพยาวนานกว่า 70ปี ในวันที่ 13-15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดทำร่างคู่มือมาตรฐานการใช้อักษรเบรลล์ในประเทศไทย และเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตาม อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร BANA (The Braille Authority Of North America) ซึ่งเป็นตัวแทนของ 14 องค์กรได้มีการเปลี่ยนแปลงรหัสอักษรเบรลล์บางตัว ทำให้ในประเทศไทยต้องปรับปรุงคู่มือมาตรฐานการใช้อักษรเบรลล์ในไทยด้วย ในปี พ.ศ. 2558 อักษรเบรลล์ในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยรับอักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษ UEB (Unified English Braille) มาใช้ในประเทศไทย อักษรเบรลล์ส่วนประกอบตัวอักษรเบรลล์จะมีจุดทั้งหมด 6 จุด เรียงกันเป็น 2 แถวในแนวตั้ง นับจากด้านซ้าย จากบนลงล่าง เป็น 1-3 และด้านขวา จากบนลงล่าง เป็น 4-6 โดยใช้การมีจุดและไม่มีจุดเป็นรหัส กล่าวคือวงกลมทึบ ● หมายถึงจุดนูน และวงกลมโปร่ง ○ หมายถึงจุดที่ไม่ใช้ วิธีนี้สามารถทำได้ถึง 63 ตัวอักษร (มาจาก (26) -1) การกำหนดรหัสตัวอักษร 10 ตัวแรก A-J จะใช้จุด 1 2 4 และ 5 สลับกันไป 10 ตัวต่อมา K-T จะเติมจุดที่ 3 ลงไปในอักษร 10 ตัวแรก และ 5 ตัวสุดท้าย (ไม่นับ W เพราะ ณ เวลานั้นภาษาฝรั่งเศสไม่ใช้ W) เติมจุดที่ 3 และ 6 ลงไปในอักษร 5 ตัวแรก อักษรเบรลล์ของอักษรละตินอักษรเบรลล์ร่วมอักษรเบรลล์ในหลายภาษาจะใช้อักษรเบรลล์เดียวกันแทนเสียงที่ใกล้เคียงกัน
อักษรเบรลล์ไทย-ลาวอักษรเบรลล์ภาษาไทย ประดิษฐ์ดัดแปลงเพิ่มเติมโดย เจนีวีฟ คอล์ฟิลด์ และนายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว (ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ในปี ค.ศ. 1966) อักษรเบรลล์ไทยกลายเป็นต้นแบบของอักษรเบรลล์ภาษาลาว และเขมร ในเวลาต่อมา ตารางอักษรเบรลล์ไทยพยัญชนะอักษรเบรลล์ไทยมาจากอักษรเบรลล์ละตินในวงเล็บ อักษรต่ำคู่มาจากอักษรสูงเพิ่มจุด6(,) อักษรที่มาจากอักษรละตินเพิ่มสองจุดล่าง (_) อักษรที่มาจากการสะท้อน (\) ป มาจาก บ ซ้อนกับ ผ อักษรที่มีเสียงซ้ำกัน ให้ใช้ ⠠ หรือ ⠤ หรือ ⠴ นำหน้า
ตารางสระเบรลล์สระ อะ อิ อุ เอ โอ มาจากอักษรเบรลล์ญี่ปุ่น และสระ อา อี อู แปลงจาก อะ อิ อุ สระอุลาวเบรลล์จะเป็นคนละแบบกับไทย สระทุกตัวจะเขียนไว้หลังพยัญชนะต้น ตารางวรรณยุกต์
เครื่องหมายวรรคตอน
อักษรเบรลล์ของตัวเลขสำหรับการเขียนตัวเลข จะต้องมีเครื่องหมายนำเลขเสมอ
อักษรเบรลล์ญี่ปุ่น
อักษรเบรลล์เกาหลี
*อักษรเบรลล์จะไม่เขียน ng ในรูปพยัญชนะต้น พยัญชนะหนักให้ใช้ ㅅ นำหน้า[1]
ยูนิโคด
หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|