รหัสมอร์สรหัสมอร์ส (อังกฤษ: Morse code) เป็นวิธีการส่งข้อความเป็นชุดสัญญาณเสียง, ไฟ หรือเสียงเคาะ และจะมีลักษณะเป็นขีด และจุด เป็นภาษาที่ใช้กันได้ทั่วโลก สามารถเทียบเคียงเสียงอักษรได้ เริ่มแรกรหัสนี้เริ่มต้นขึ้นในราวกลาง ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส (Samuel F. B. Morse) และ อัลเฟรต เวล (Alfred Vail) ได้คิดค้นเครื่องส่งโทรเลขโดยใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมสนามแม่เหล็กของเครื่องรับปลายทางผ่านทางสายส่งสัญญาณ แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากมีโอกาสผิดพลาดสูง รหัสมอร์สในปัจจุบันปัจจุบันยังมีการใช้งานรหัสมอร์สอย่างมากในวงการวิทยุสมัครเล่น การติดต่อบางรูปแบบรหัสมอร์สยังสามารถใช้งานได้ดีที่สุด เช่นการติดต่อ สะท้อนออโรรา เป็นต้น ข้อดีอีกประการของการติดต่อแบบรหัสมอร์สผ่านวิทยุสื่อสารคือ ใช้แถบความถี่น้อยมากเมื่อเทียบกับการสื่อสารระบบอื่น ๆ เป็นการประหยัดความถี่ สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้โดยไม่มีการรบกวนกัน
รหัสมอร์สมาตรฐานสากลตัวอักษรและตัวเลข
เครื่องหมาย
รหัสมอร์สภาษาไทยรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกเริ่มกิจการโทรเลขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยใช้วิธีการรับส่งโทรเลขด้วยรหัสสัญญาณมอร์สสากล อักษรโรมัน ข้อความที่ใช้ในการส่งโทรเลขจึงต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษเท่านั้น หากต้องการส่งข้อความเป็นภาษาไทย ก็ต้องแปลข้อความนั้นเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วส่งไปเป็นตัวอักษรโรมัน หรือเขียนเป็นข้อความภาษาไทยด้วยตัวอักษรโรมัน ซึ่งวิธีดังกล่าวทำให้ล่าช้า และอาจคลาดเคลื่อนได้ง่าย กรมไปรษณีย์โทรเลข จึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อีกทั้งทหารกับกรมรถไฟหลวง ก็จำเป็นต้องใช้รหัสสัญญาณโทรเลขแบบเดียวกัน จึงได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ฝ่ายกลาโหม ฝ่ายกรมรถไฟหลวง และฝ่ายกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อพิจารณาจัดทำรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย กระทั่งสำเร็จและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การจัดทำรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยนั้น คณะกรรมการได้อาศัยรหัสสัญญาณมอร์สสากลเป็นหลัก โดยเพิ่มเติมรหัสสัญญาณให้มากขึ้น เนื่องจากภาษาไทยมีจำนวนตัวพยัญชนะและสระมากกว่าตัวอักษรโรมันในภาษาอังกฤษ รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยจึงมีพยัญชนะ 30 ตัว สระและวรรณยุกต์ 21 ตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการมิได้กำหนดรหัสสัญญาณประจำทุกตัวพยัญชนะและสระในภาษาไทย เพราะหากพยัญชนะหรือสระตัวใดมีเสียงเหมือนกัน เช่น ค – ฆ , ด – ฎ , ส – ศ – ษ , ท – ธ – ฑ – ฒ , สระ ไ - ไ ก็จะกำหนดให้ใช้สัญญาณเดียวกัน ส่วนตัวเลขและเครื่องหมายวรรคตอน ยังคงใช้อย่างรหัสสัญญาณมอร์สสากล กิจการโทรเลขของไทย ได้มีระบบวิธีการรับส่งด้วยรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยที่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วยให้หน่วยงานราชการ และประชาชน สามารถติดต่อสื่อสารด้วยโทรคมนาคมสมัยใหม่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น พยัญชนะโปรดสังเกตว่ารหัสมอร์สอักษรไทยบางตัวตรงกับอักษรโรมัน โดยเฉพาะอักษรที่อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน เช่น M กับ ม หรือ N กับ น เป็นต้น
สระ
วรรณยุกต์
เครื่องหมาย
รหัสมอร์สญี่ปุ่นรหัสมอร์สสำหรับตัวอักษรญี่ปุ่นเรียกว่า 和文モールス符号(วาบุนโมรุซุฟุโก) เมื่อต้องใช้ร่วมกับรหัสมอร์สสากล ให้ใช้ DO ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ เพื่อบอกเริ่มรหัสวาบุน และใช้ SN ▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄ เพื่อกลับไปรหัสมอร์สสากล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|