Share to:

 

อักษรไทใต้คง

อักษรไทใต้คง
Dehong Dai
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ ค.ศ. 1200 – ปัจจุบัน
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดไทเหนือ, ปะหล่อง, ปลัง, Achang
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
ไทอาหม, คำตี้
ISO 15924
ISO 15924Tale (353), ​Tai Le
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Tai Le
ช่วงยูนิโคด
U+1950-U+197F
[a] ต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมียังเป็นที่ยอมรับ
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรไทใต้คง (อังกฤษ: Dehong Dai, Tai Dehong), อักษรไทเหนือ (Tai Nüa) หรือ อักษรไตเหลอ (Tai Le, ᥖᥭᥰ ᥘᥫᥴ, [tai˦.lə˧˥]) พัฒนามาจากอักษรไทโบราณ ซึ่งมาจากอักษรที่เรียกไป่ยี่ มีกำเนิดตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด โดยหลักฐานจากอาหมบุราณจีระบุว่ามีมาก่อน พ.ศ. 1816 [2] อักษรนี้ใช้โดยชาวไทเหนือ ที่อาศัยอยู่ในเขตใต้คง (เต้อหง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของมณฑลยูนนาน และชาวจิ่งพัวนำไปใช้เป็นบางครั้ง [3]

ลักษณะ

พยัญชนะแต่ละตัวมีเสียงอะ ไม่มีช่องว่างระหว่างคำ โดยช่องว่างใช้แสดงการสิ้นสุดของประโยคหรือวลี อักษรไทใต้คงเก่าไม่มีวรรณยุกต์กำกับ ต้องวิเคราะห์จากบริบทเอาเองว่าควรอ่านออกเสียงอย่างไร รูปร่างของอักษรมีการเปลี่ยนแปลงในสมัยราชวงศ์หมิง โดยก่อนหน้านั้นเขียนด้วยก้านผักกูดจุ่มน้ำหมึก ตัวหนังสือจึงมีลักษณะกลมป้อม ต่อมาเปลี่ยนมาเขียนด้วยพู่กัน ตัวอักษรจึงมีลักษณะยาวเหลี่ยม

ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2495-2497 มีการปฏิรูปอักษรไทใต้คงโดยจัดให้มีรูปวรรณยุกต์ และมีการปรับปรุงรูปวรรณยุกต์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2508 เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น

ใช้เขียน

ยูนิโคด

ไทเหลอ (ชื่อตามมาตรฐานยูนิโคด)
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+195x
U+196x    
U+197x                      


อ้างอิง

  1. Daniels 2012, p. 170-171.
  2. เจีย แยนจอง, 2549
  3. Omniglot

ข้อมูล

  • Wharton, David (2017). Language, Orthography and Buddhist Manuscript Culture of the Tai Nuea: An Apocryphal Jātaka Text in Mueang Sing, Laos (วิทยานิพนธ์ PhD). Universität Passau. แม่แบบ:Urn.
  • Daniels, Christian (2012). "Script without Buddhism: Burmese Influence on the Tay (Shan) Script of Mäng2 Maaw2 as Seen in a Chinese Scroll Painting of 1407". International Journal of Asian Studies (ภาษาอังกฤษ). 9 (2): 147–176. doi:10.1017/S1479591412000010.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya