Share to:

 

อักษรสินธุ

อักษรสินธุ
ตราที่มีอักษรสินธุ 5 ตัวอักษร
ชนิด
ถอดความไม่ได้; น่าจะเป็นตัวหนังสือยุคสัมฤทธิ์หรือตัวหนังสือดั้งเดิม
ช่วงยุค
ป. 3500–1900 ปีก่อน ค.ศ.[1][2][a]
ทิศทางขวาไปซ้าย, boustrophedon Edit this on Wikidata
ภาษาพูดไม่ทราบ (ดูภาษาฮารัปปา)
ISO 15924
ISO 15924Inds (610), ​Indus (Harappan)

อักษรสินธุ หรือ อักษรฮารัปปา เป็นคลังของสัญลักษณ์ที่ผลิตโดยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ จารึกส่วนใหญ่มีสัญลักษณ์ที่มีความยาวไม่มาก ทำให้ตัดสินได้ยากว่าอารยธรรมนี้มีระบบการเขียนในการบันทึกภาษาในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่ยังไม่ได้รับการยืนยันหรือไม่[3] แม้ว่าจะมีความพยายามมากเพียงใด[4] 'อักษร' นี้ยังไม่สามารถถอดความได้ แต่ก็ยังมีความพยายามต่อไป โดยไม่มีจารึกสองภาษาที่จะช่วยถอดอักษรนี้[5] และอักษรนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม วากยสัมพันธ์บางส่วนมีความหลากหลายไปตามพื้นที่[3]

มีการเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ฮารัปปาครั้งแรกใน ค.ศ. 1875[6] บนภาพวาดของอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม[7] ใน ค.ศ. 1992 พบวัตถุที่มีการจารึกประมาณ 4,000 ชิ้น[8] ซึ่งบางส่วนพบได้ไหลถึงเมโสโปเตเมียเนื่องจากความสัมพันธ์สินธุ–เมโสโปเตเมียโบราณ และมีสัญลักษณ์เฉพาะมากกว่า 400 รูปบนจารึกที่เป็นที่รู้จัก[9][5]

นักวิชาการบางคน อย่าง จี. อาร์. ฮันเตอร์,[10] เอส. อาร์. ราว, จอห์น นิวเบอร์รี,[11] และ กฤษณะ ราว[12] โต้แย้งว่า อักษรพราหมีบางส่วนมีความเชื่อมโยงกับระบบอักษรสินธุ เรย์มอน ออลชิน[13] ได้สนับสนุนอย่างระมัดระวังว่า มีความเป็นไปได้ที่อักษรพราหมีจะได้รับอิทธิพลจากอักษรสินธุ[14][15] ความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งสำหรับความต่อเนื่องของธรรมเนียมสินธุอยู่ในสัญลักษณ์กราฟฟิตีวัฒนธรรมหินตั้งในอินเดียตอนใต้และตอนกลาง (และศรีลังกา) ซึ่งอาจไม่ถือเป็นอักษรทางภาษาศาสตร์ แต่อาจมีบางส่วนที่ทับซ้อนกับคลังสัญลักษณ์สินธุ[16][17] นักภาษาศาสตร์อย่าง Iravatham Mahadevan, Kamil Zvelebil และ Asko Parpola ได้โต้แย้งว่า อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับภาษาดราวิเดียน[18][19]

จารึกและการถอดความ

หลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการเขียนในบริเวณนี้คือจารึกพบราว 2,000 ชิ้น แต่การถอดความทำได้ช้า เพราะ

  • เป็นจารึกขนาดสั้นและเป็นข้อความแบบย่อ สั้นสุดมีเครื่องหมาย 5 ตัว ยาวสุด 26 ตัว
  • ไม่รู้ว่าจารึกด้วยภาษาใด
  • ไม่มีจารึก 2 ภาษา

ภาษาที่เขียนด้วยอักษรสินธุ

แนวคิดเกี่ยวกับภาษาที่เขียนด้วยอักษรสินธุมีหลายทฤษฎี

  • ภาษานี้ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาใดในปัจจุบัน
  • ภาษานี้เป็นภาษาของเผ่าอารยัน ซึ่งใช้พูดในอินเดียเหนือและปากีสถาน เช่นเดียวกับ ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต โดยภาษาของชาวสินธุอาจเป็นภาษาโบราณของภาษากลุ่มนี้ ข้อด้อยของทฤษฎีนี้คือ คำว่า ม้า ซึ่งมีความสำคัญในวัฒนธรรมของเผ่าอารยัน กลับปรากฏในอักษรนี้เก่าสุดเพียง 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าไม่มีชาวอารยันก่อนช่วงเวลาดังกล่าว
  • ภาษานี้เป็นภาษาตระกูลมุนดา ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดในอินเดียตะวันออกและใกล้เคียงกับภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่คำศัพท์ของภาษาตระกูลมุนดาพบน้อยในวัฒนธรรมฮารัปปัน ทำให้ความเป็นไปได้ค่อนข้างคลุมเครือ
  • ภาษานี้เป็นภาษาดราวิเดียนซึ่งใช้พูดในอินเดียใต้ ยกเว้นภาษาบราฮุอีในปากีสถาน นอกจากนั้นยังพบอิทธิพลของภาษาดราวิเดียนมากมายในยุคพระเวท โดยคำจากภาษากลุ่มอารยันเข้ามาแทนที่คำจากภาษาดราวิเดียน พยัญชนะบางตัวพบในภาษาอารยันและดราวิเดียนแต่ไม่พบในภาษากลุ่มอิหร่าน แสดงว่าภาษาดราวิเดียนอาจเป็นภาษาเริ่มต้นของภาษาอารยัน อักษรที่พบยังมีลักษณะของการเขียนภาษารูปคำติดต่อโดยบางเครื่องหมายเป็นปัจจัยต่อท้ายคำซึ่งเป็นลักษณะของภาษาดราวิเดียน

อักษรสินธุเป็นอักษรชนิดใด

โดยทั่วไปถ้าเป็นอักษรแทนหน่วยเสียงจะมีสัญลักษณ์ไม่เกิน 40 ตัว ระบบพยางค์เช่นอักษรไลเนียร์เอหรืออักษรเชอโรกี มีราว 40 -100 ตัว ถ้าเป็นระบบแทนคำมีมากกว่า 100 ตัว อักษรสินธุมีสัญลักษณ์ 400 ตัว โดยทั่วไปใช้ 200 ตัว จึงน่าเป็นอักษรคำ

ระบบตัวเลข

ระบบตัวเลขของอักษรสินธุเป็นเลขฐาน 8 ซึ่งพบในภาษาดราวิเดียนโบราณก่อนเปลี่ยนเป็นเลขฐาน 10 เมื่อได้รับอิทธิพลจากอารยัน ระบบนี้จะนับตั้งแต่ 1 – 7 เลข 8 ใช้คำว่า จำนวน เลข 9 คือ มาก-1 และ 10 คือ มาก

หมายเหตุ

  1. Bryant (2001), p. 178: "proto‐Indus writing on shards of pottery from the Ravi phase that are as early as 3500 B.C.E."

อ้างอิง

  1. Kenoyer (2006), pp. 10–11.
  2. Bryant (2001), p. 178.
  3. 3.0 3.1 Locklear, Mallory (25 January 2017). "Science: Machine learning could finally crack the 4,000-year-old Indus script". The Verge. Manhattan, New York, NY: Vox Media. สืบค้นเมื่อ 25 January 2017. After a century of failing to crack an ancient script, linguists turn to machines.
  4. Possehl (1996).
  5. 5.0 5.1 Robinson (2015).
  6. Wright (2009), p. 7.
  7. Cunningham (1875), pp. 105–108.
  8. Fairservis (1992), p. 5.
  9. Ghosh (1990).
  10. Hunter (1934).
  11. Newberry (1980), pp. 10–20.
  12. Ghosh (1990), p. 361–364.
  13. Allchin & Erdosy (1995), p. 336.
  14. Goody (1987), pp. 301–302, note 4.
  15. Salomon (1995).
  16. Mahadevan (2004).
  17. Ray (2006), pp. 121–122.
  18. Rahman, Tariq. "Peoples and languages in pre-Islamic Indus valley". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-09. สืบค้นเมื่อ 2008-11-20. most scholars have taken the 'Dravidian hypothesis' seriously
  19. "The Indus Script | Harappa". www.harappa.com. สืบค้นเมื่อ May 22, 2020.

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya