ขนมหม้อแกง
ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ[1] เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง สร้างสรรโดยท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ส่วนประกอบ ในการทําคือ ไข่ แป้ง และกะทิ เป็นส่วนประกอบสําคัญนำผสมกันในถาดตามสัดส่วน เป็นขนมที่มีแพร่หลายตั้งแต่สมัยอยอยุธยาตอนปลายจนมาถึงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง จะมีให้ชิมกันก็เฉพาะเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่ ปัจจุบันมีการใส่ ถั่วเขียว และหอมเจียวมาผสม[2] ที่ต้องนำถั่วเขียวมาผสมก็เพราะเป็นการลดต้นทุนเพื่อให้ชาวบ้านที่ห่างไกลและมีทรัพย์น้อยได้กินบ้างแม้จะไม่เหมือนในหัวเมือง ก็ยังใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นบ้านมาเป็นส่วนประกอบแทน เพราะในสมัยก่อน ตามหัวเมืองใหญ่หรือกรุงเทพจะไม่มีขนมหม้อแกงที่ใส่ถั่วเลย ประวัติขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ ผู้สร้างสรรคือท้าวทองกีบม้า จากการสันนิษฐาน ขนมกุมภมาศ เป็นขนมที่เรียกชื่อตามภาชนะที่ใช้ใส่ขนม คือ หม้อทอง กุมภ แปลว่า หม้อ และ มาศ แปลว่า ทอง ดังนั้น กุมภมาศ คือ หม้อทอง ชาวบ้านได้ทำถวายพระสงฆ์ในงานบุญงานกุศล และยังคงรักษาส่วนผสมเดิม และเรียกชื่อใหม่ว่า ขนมหม้อแกง เนื่องจากคนสมัยก่อนก็จะเรียกชื่อสิ่ง ต่าง ๆ อย่างง่าย ๆ เช่น กับข้าว ที่มีน้ำจะเรียกว่า แกงขนมบางชนิดที่มีน้ำ มีส่วนผสมของกะทิก็จะเรียกว่าแกง จึงเรียกว่า ขนมหม้อแกง มากกว่าขนมหม้อทอง หรือ ขนมกุมภมาศ[1] อ้างอิง
|