พะแนง เป็นอาหารไทยประเภทแกงข้นที่เน้นรสชาติเค็มและหวาน โดยมีส่วนผสมหลักของเครื่องแกง คือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เมล็ดผักชี เมล็ดยี่หร่า กระเทียม อบเชย และเกลือ ใส่เนื้อสัตว์ได้ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และอื่น ๆ
ศัพทมูลวิทยา
ที่มาของชื่อ พะแนง หรือ ผะแนง ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ในภาษามลายูมีคำว่า panggang แปลว่า "ย่าง" ซึ่งอาจสื่อความหมายถึงไก่ย่าง อย่างไรก็ตามมีการตีความไว้หลายแนวทางบ้างว่าเป็นคำไทย[ 1] เป็นคำเขมร[ 2] หรือเพี้ยนมาจากคำมลายู[ 3]
ความหมายของคำ พะแนง หมายถึง ไขว้ขา[ 2] พับขา พับเท้า[ 4] ขัดไขว้กัน[ 5] ส่วนความหมายในด้านอาหาร หมายถึง แกงคั่วชนิดหนึ่ง[ 6] คำไวพจน์ที่มีความหมายเดียวกันคือคำว่า พระนัน พนัญ พนัง แพนง และ พแนง [ 2] [ 7]
คำ พะแนง เทียบกับคำในภาษาอื่น ดังนี้
ภาษามลายู เช่น คำว่า ปังกัง (panggang )[ 8] แปลว่า การคั่ว การปิ้งย่าง การทำอาหาร และคำว่า ปีนัง (penang )[ 3] แปลว่า หมากสง[ 9]
กฤช เหลือสมัย อธิบายว่าการพะแนงเป็นลักษณะการปรุงกับข้าวแบบหนึ่ง เช่น ไก่พะแนงคือการเอาขาไก่ขัดไขว้กันกับไม้ประกบย่างทาเครื่องพริกตำ[ 5]
ประวัติ
พะแนง ปรากฏครั้งแรกเท่าที่พบได้ในด้านท้ายของ จดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ 3 จุลศักราช 1210 (พ.ศ. 2391) เลขที่ 190 ร่างสารตราพระยามหาอำมาตย์ เรื่องให้เอาตัวขุนวิเศษนายอำเภอมาไต่สวน ซึ่งเป็นสมุดไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2391 บันทึกชื่อแกงไว้ว่า "พระนัน"[ 12] [ 13] มีลักษณะเป็นแกงน้ำ เครื่องแกงประกอบด้วยพริก พริกไทย ขิง ลูกผักชี กะทิ ลูกกระวาน ลูกยี่หร่า กระเทียม น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา และถั่วลิสง น้ำแกงมีรสชาติออกหวานเล็กน้อย ซึ่งเอกสารดังกล่าวบันทึกไว้ว่า "น้ำตาลน้อยใส่แต่พอออกหวาน ๆ" และไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ[ 12] ต่างจากสูตรพะแนงใน
หนังสือ ตำรากับเข้า ของหม่อมซ่มจีน ราชานุประพันธ์ ภรรยาคนหนึ่งของพระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค) ตีพิมพ์เมื่อ ร.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ในเวลานั้นสะกดว่า ผะแนง โดยมีอาหารชื่อ "ไก่ผะแนง" (ไก่พะแนง) คือไก่ทาพริกขิง (เครื่องพริกแกง) ที่ผสมน้ำกะทิ แล้วนำไปย่างไฟ[ 14] [ 15] ต่อมาการทำไก่พะแนงแบบนั้นอาจไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวงเพราะต้องกินเวลานานมาก จึงได้ยักย้ายเปลี่ยนมาเป็นเป็ดหรือไก่สับชิ้นโต ๆ เอาลงผัดกับเครื่องแกงและกะทิในกระทะหรือหม้อ กลายเป็นไก่พะแนงหรือเป็ดพะแนงอย่างที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน[ 16]
อ้างอิง
↑ บริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม), พระ. (2513). ประวัติชาติไทย: ความเป็นมาของชาติไทยตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์ เล่ม 2 . กรุงเทพฯ: ประจักษ์วิทยา. หน้า 81. :– "พะแนงเชิงเป็นคําไทย คืออาการนั่งพับขาที่เดี๋ยวนี้เรียกว่าพนัญเชิงนั้น รัชกาลที่ 4 ทรงบัญญัติขึ้น".
↑ 2.0 2.1 2.2 นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2504). สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๖ . กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. หน้า 145. :– "ที่แท้คำ พนัญเชิง พนังเชิง แพนงเชิง เป็นคำเดียวกัน เป็นภาษาเขมร เห็นจะแปลว่า ไขว้ขา เช่นไก่แพนงก็ว่าไก่ไขว้ขา ที่ว่าทั้งนี้โดยอาศัยคำในมหาชาติคำหลวงซึ่งมีว่า “ก็นั่งพับแพนงเชิง”".
↑ 3.0 3.1 Gray, Paul and Ridout, Lucy. (2001). "Southern Thai food," The Rough Guide to Thailand's Beaches & Islands . London: Rough Guides. p. 46. ISBN 978-185-8-28829-1 :– "Three curries that are now found nationally seem to have taken root in Thailand on the peninsula: the rich and usually fairly mild Muslim curry, kaeng matsaman ; kaeng phanaeng (a corruption of Penang, an island off the west coast of Malaysia); a thick, savoury curry..."
↑ มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80. (2539). คึกฤทธิ์ ปราโมช . กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. หน้า 215. ISBN 974-836-428-3
↑ 5.0 5.1 กฤช เหลือสมัย. "พะแนง แกงแขกเทษ?," ศิลปวัฒนธรรม 44(8)(มิถุนายน 2566): 49.
↑ สำนักพิมพ์มติชน. (2547). พจนานุกรมฉบับมติชน . กรุงเทพฯ: มติชน. หน้า 618. ISBN 974-323-264-8
↑ ชีวิน เหล่าเขตรกิจ. (2567, 8 มีนาคม). "พบสูตร “แกงบวน-แกงพะแนง” หน้าสุดท้ายสมุดไทยสมัย ร.3" . Silpa-Mag.com . สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2567.
↑ Wilkinson, R. J. (1908). An Abridged Malay-English Dictionary (Romanised) . Kuala Lumpur: The F.M.S. Government Press. p. 157.
↑ Gibbs, Walter M. (2010). Spices and How to Know Them . Buffalo, N.Y.: Nabu Press. p. 48. ISBN 978-117-5-82231-4 :– "Next comes the fine Penang peppers, named from the city of Penang, meaning "betalnut " (see illustrations) in the Straits Settlement."
↑ บรรจบ พันธุเมธา. (2527). "ทำไม" ในภาษา . กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. หน้า 44. :– "พะแนง (อาหารชนิดหนึ่ง) เทียบกับ แพนง คำเขมรแปลว่า ขัดสมาธิ".
↑ แดน บีช แบรดลีย์ และแม้นมาส ชวลิต. (2416). หนังสืออักขราภิธานศรับท์ เป็นคำไทอธิบายความตามภาษาไทย Dictionary of The Siamese Language . (คัดแปลโดย อาจารย์ทัด). พระนคร: ริมป้อมปากคลองบางกอกใหญ่. หน้า 468.
↑ 12.0 12.1 ณัฎฐา ชื่นวัฒนา (12 มีนาคม 2567). "การค้นพบสูตรแกงท้ายสมุดไทยสมัยรัชกาลที่ 3 สำคัญอย่างไร?" . ศิลปวัฒนธรรม . สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567 .
↑ ชีวิน เหล่าเขตรกิจ (8 มีนาคม 2567). "พบสูตร "แกงบวน-แกงพะแนง" หน้าสุดท้ายสมุดไทยสมัย ร.3" . ศิลปวัฒนธรรม . สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567 .
↑ หม่อมซ่มจีน ราชานุประพันธ์. (2433). ตำรากับเข้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วัชรินทร์.
↑ พะแนงเนื้อ อย่าง ม.ล.เติบ ชุมสาย และ ไก่ผะแนง จากตำราอาหารที่เก่าสุดในสยาม
↑ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท เขียนไว้ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ (1 กันยายน 2515)
แหล่งข้อมูลอื่น
อาหารจานเดียว กับข้าว อาหารว่าง ของหวาน ส่วนประกอบ/เครื่องปรุงรส/ เบ็ดเตล็ด เครื่องดื่ม