สัพแหยก
สัพแหยก [สับ-พะ-แหฺยก][1] หรือ สัพแหยะ เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งซึ่งได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส พบได้ที่ชุมชนกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร[2] เป็นอาหารคาว[3] ทำจากเนื้อสัตว์สับละเอียด ผัดกับเครื่องเทศ ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล และน้ำปลา รสชาติคล้ายไส้กะหรี่ปั๊บ[4] สามารถรับประทานเป็นอาหารหลักคู่กับข้าวสวย หรือรับประทานเป็นของว่างคู่กับขนมปังก็ได้[1] ประวัติชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยาหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้พระราชทานที่ดินแก่ลูกหลานชาวโปรตุเกสกลุ่มดังกล่าว มีศูนย์กลางที่โบสถ์ซางตาครู้ส ซึ่งได้ตกทอดสำรับอาหารไทย-โปรตุเกสมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือสัพแหยก[5] นาวินี พงศ์ไทย (สกุลเดิม ทรรทรานนท์) ซึ่งเป็นชาวชุมชนกุฎีจีน สันนิษฐานว่าอาจเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองกัว ประเทศอินเดีย ซึ่งอดีตเคยเป็นเมืองท่าของจักรวรรดิโปรตุเกสมาก่อน[6] ชื่อ "สัพแหยก" บ้างว่ามาจากคำว่า subject ในภาษาอังกฤษแปลว่า "คนในบังคับ"[4] บ้างว่าเป็นคำโปรตุเกสว่า สับเช่[2] ที่แปลว่าการสับ[1][4] สัพแหยกทำจากเนื้อวัวสับละเอียด (ปัจจุบันอาจใช้เป็นเนื้อหมูหรือเนื้อไก่แทน) ผัดกับพริกแกงที่ทำจากพริกชี้ฟ้าแดง เกลือสมุทร กระเทียมจีน หอมแดง ยี่หร่า ลูกผักชี และผงขมิ้น ผัดด้วยไฟกลาง ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำปลา และน้ำตาลทราย ให้ได้รสเปรี้ยวนำ เค็มและหวานตาม หลังจากนั้นจึงใส่มันฝรั่งต้มสุกหั่นเต๋าผัดเข้าด้วยกัน ผัดจนงวดไม่แฉะมากเป็นอันเสร็จ[7] ดูเพิ่ม
อ้างอิง
|