ซ่าหริ่มซ่าหริ่ม หรือ ซาหริ่ม เป็นขนมไทยประเภทหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่มักมีหลายสีและรับประทานกับน้ำกะทิโดยมีรสชาติหอมมันและมีกลิ่นใบเตยอีกด้วย[1] ซ่าหริ่มมีขายอยู่ตามตลาดทั่วไปในประเทศไทยและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก นิยมรับประทานกันในช่วงฤดูร้อน มักรับประทานโดยเติมน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง ส่วนผสมสำคัญมีแป้งถั่วเขียว น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาลทราย น้ำใบเตยคั้น และน้ำกะทิ ปัจจุบันส่วนผสมอาจเปลี่ยนเล็กน้อย เช่น ใช้สีสังเคราะห์แทนสีธรรมชาติ และใช้แป้งสำเร็จรูปที่หาซื้อได้ง่าย[2] ประวัติที่มาของขนมยังไม่เป็นที่แน่ชัดสำหรับซ่าหริ่ม บทความทางการเมืองที่วิเคราะห์คำว่าซ่าหริ่มได้อ้างถึงบทประพันธ์ในสมัยราชการที่สองที่ว่าความว่า
แล้วยังพบว่าซ่าหริ่มไม่ได้มาจากโปรตุเกสเพราะชาวโปรตุเกสจะทำขนมแห้งมากกว่าขนมเปียก ทว่า ซ่าหริ่มได้พัฒนามาจากทับทิมกรอบและลอดช่องสิงคโปร์ ทั้งหมดเป็นขนมแป้งเหนียวใสคล้ายวุ้นเส้นผสมสี และปัจจุบันชาวชวา-มลายูเรียกขนมนั้นว่า Dawet ดาเวต เรียกตัวแป้งวุ้นว่าเชนดอล Cendol จึงเชื่อได้ว่าซ่าหริ่มเป็นขนมที่ชาวไทยนำมาจากชาวชวาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ก็ได้รับการพัฒนาและปรับรูปแบบโดยชาวบ้านที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาชาวบ้านนั่นเอง[3] วิภาวรรณ เทียมปาน ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับองค์ความรู้ของขนมไทยและอธิบายว่า "เป็นขนมที่ดัดแปลงมาจากขนมลอดช่อง แตกต่างกันตรงขนาดและสีของตัวเส้น ขนมลอดช่องจะมีเส้นใหญ่ ส่วนขนมซ่าหริ่มจะมีเส้นเล็กกว่า และมีสีสันหลากหลายสี"[4] ทั้งยังบอกว่าขนมซ่าหริ่มนิยมรับประทานกันในฤดูร้อน การใช้ชื่อเรียกในบริบทการเมืองไทยในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนทางการเมืองใช้สีเสื้อในการระบุอัตลักษณ์ทางการเมือง ได้มีการเปรียบเทียบกลุ่มเสื้อหลากสีเป็น "สลิ่ม" เพราะมีหลายสี[5][6] โดยเชื่อว่ามีที่มาจากคำเรียกในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม[7][8] อ้างอิง
|