ข้าวเม่า |
ภูมิภาค | เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
---|
ส่วนผสมหลัก | ข้าวเปลือก |
---|
|
ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา[1] ในไทยเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย และขนมกลุ่มนั้นมีข้าวเม่าทอดอยู่ด้วย มีกล่าวถึงข้าวเม่าในนิราศน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2460 ว่า
พวกแม่ค้ามาขายข้าวเม่าทอด แตงเมหลอดน้ำยาแกงปลาไหล
มีเพลงกล่อมเด็กกล่าวถึงข้าวเม่าว่า
โอ้ละเห่เอย
|
|
หัวล้านนอนเปล ลักข้าวเม่าเขากิน
|
เขาจับตัวได้ เอาหัวไถลไถดิน
|
|
หัวล้านมักกิน ตกสะพานลอยไป
|
ข้าวเม่ามีทั้งข้าวเม่าข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวดำ โดยที่นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่าข้าวเหนียว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ ข้าวฮ่างหรือข้าวเม่าอ่อนทำจากเมล็ดข้าวสีเขียวจัด ข้าวเม่าแบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม ข้าวเม่าขาวนวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล[1]
ข้าวเม่าทำเป็นขนมได้หลายแบบ เช่น
- ใส่เป็นส่วนผสมในกระยาสารท
- ข้าวเม่าคลุก (เอาน้ำสุกอุ่น ๆ ใส่เกลือพรมข้าวเม่าให้นุ่ม[2])
- ข้าวเม่าบด ใช้ข้าวเม่าใหม่คั่วให้หอมแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หยดหัวกะทิลงบนข้าวเม่าที่กรองไว้ กะทิจะผสมข้าวเม่าเป็นก้อน แล้วนำมากลิ้งไปมาบนฝ่ามือให้เป็นก้อนเหมือนไข่จะละเม็ด - ส่วนผสมแค่ 3 อย่าง คือ ข้าวเม่า น้ำตาล มะพร้าวห้าวคั้นกะทิ และ มะพร้าวทึนทึกขูด[3]
- ข้าวเม่าราง คือ ข้าวเม่าที่นำมาคั่วจนพองแล้วกินกับน้ำกะทิ
- ข้าวเม่าหมี่ (ข้าวเม่าทรงเครื่อง[4] หรือ ขนมข้าวเม่าราง[4]) เป็นข้าวเม่ารางแบบแห้ง คือ ใส่กุ้งแห้ง เต้าหู้ทอด ถั่วลิสง หรือใส่น้ำตาลทรายถ้าเป็นแบบหวาน
- ข้าวเม่าทอด เป็นข้าวเม่ากวนกับน้ำตาลผสมกับแป้งพอกกล้วยไข่ทั้งลูกแล้วทอด บางท้องถิ่นเรียกกล้วยข้าวเม่า เป็นเครื่องว่างหวาน และ เป็นเครื่องเคียงสำหรับขนมจีนน้ำพริก[5]
- ข้าวเม่าเบื้อง เป็นตำรับอาหารโบราณที่ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้อง โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในยุคนั้นรัชกาลที่ 5[6]
อ้างอิง
- ส.พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. กทม. ดอกหญ้า. 2537
|
---|
อาหารจานเดียว | |
---|
กับข้าว | |
---|
อาหารว่าง | |
---|
ของหวาน | |
---|
ส่วนประกอบ/เครื่องปรุงรส/ เบ็ดเตล็ด | |
---|
เครื่องดื่ม | |
---|
|