น้ำพริกลงเรือ
น้ำพริกลงเรือ เป็นน้ำพริกกะปิชนิดหนึ่งในตำรับอาหารชาววัง ที่มีรสชาติเปรี้ยวเค็มเผ็ดหวานอย่างกลมกลืน รับประทานเคียงกับทั้งผักต้มและผักสด คิดค้นโดยเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ เป็นอาหารที่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีโปรด[1] ประวัติน้ำพริกลงเรือ เป็นน้ำพริกที่ทำขึ้นครั้งแรกโดยเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 ที่ปฏิบัติงานในห้องพระเครื่องต้นในราชสำนักที่หม่อมเจ้าสะบาย นิลรัตน์ เป็นหัวหน้าห้องเครื่อง และพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาเป็นผู้คุมห้องต้นเครื่อง[1][2] หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ หลานสาวของหม่อมเจ้าสะบาย นิลรัตน์ที่เข้ามาในห้องเครื่องวังสวนสุนันทามาแต่ยังเยาว์ได้อธิบายที่มาของชื่อน้ำพริกลงเรือไว้ว่า[3]
ขณะที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน[4] และนิจ เหลี่ยมอุไร บุตรบุญธรรมของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ อธิบายไว้ใกล้เคียงกัน ความว่า[1][2]
ส่วนผสมน้ำพริกลงเรือ ประกอบไปด้วยกะปิ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า กระเทียม น้ำปลา น้ำตาล มะนาว กระเทียมดอง ไข่เค็ม (เฉพาะไข่แดง) ปลาดุกฟู และหมูหวาน โดยตำเช่นน้ำพริกทั่วไปก่อนใส่หมูหวานลงไปคลุกเคล้า เสร็จสรรพจึงตักใส่ชาม แล้วโรยด้วยปลาดุกฟูกรอบ ไข่เค็ม และกระเทียมดองตกแต่งให้สวยงาม เคียงด้วยผักต้มหรือผักสดตามชอบ[2][5] และควรปรุงให้มีรสชาติครบทั้งสามรส[3] คือมีทั้งรสเปรี้ยวเค็มหวานกลมกล่อมอย่างเท่า ๆ กันไม่มีรสใดนำโดดเด็ดขาด[2] ในงานเขียน เจ้าจอมก๊กออ ของกัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ ซึ่งเป็นเครือญาติของเจ้าจอมก๊กออแห่งวังสวนปาริจฉัตก์ ได้อธิบายเกี่ยวกับน้ำพริกลงเรือไว้ว่า "...ที่เป็นต้นฉบับน้ำพริกลงเรือจริง ๆ แนมกับปลาดุกฟู (ลอกหนังออกแล้วทอดให้ฟู) และหมูหวานมาก ๆ มะเขือเปราะนั้นหั่นสี่เหลี่ยมแช่น้ำไม่ให้ดำ สงขึ้นมาใส่อ่างผสมรวมกับปลาดุกฟู หมูหวาน กระเทียมดอง ไข่เค็ม (เอาเฉพาะไข่แดงตรงกลางไว้ประดับ) แล้วตำน้ำพริกกะปิรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ตามใจชอบ ตำครกเบ้อเร่อ เอามาเทลงไปเคล้า ๆ กับเครื่องข้างต้น จะได้น้ำพริกลงเรือต้นตำหรับ ไม่ต้องกินกับผักอะไรอีกเลย เพราะผักคลุกอยู่ในนั้นเสร็จ"[6] แต่ในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงส่วนประกอบเพื่อให้เข้ากับรสชาติที่นิยมในปัจจุบัน เช่น ใส่มะดัน มะอึกเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว หรือไม่ใส่หมูหวานและปลาดุกฟู ดั่งในโรงแรมสวนสุนันทาที่ยังคงรักษาสูตรดั้งเดิมไว้ ทั้งมีการดัดแปลงส่วนประกอบตามความประสงค์ของผู้รับประทานด้วย[2] นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงข้าวผัดที่มีส่วนประกอบเดียวกับน้ำพริกลงเรือ แต่นำเข้าไปผัดกับข้าวแล้วจัดจานด้วยผักตามชอบ เรียกข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ[7] อ้างอิง
|