ข้าวมันส้มตำ
ข้าวมันส้มตำ เป็นชุดอาหารไทยภาคกลางชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยข้าวมัน ส้มตำ แกงเผ็ดไก่ เนื้อฝอยผัดหวาน และน้ำพริกส้มมะขาม[3] อาหารชนิดนี้ปรากฏอยู่ในตำรับอาหาร ตำหรับสายเยาวภา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท[1] ลักษณะของอาหารชุดนี้คือข้าวมันหุงด้วยกะทิและแกงไก่จะค่อนข้างมัน แต่มีรสหวานของเนื้อฝอย และรสเปรี้ยวหวานไม่จัดจ้านจากส้มตำตัดเลี่ยน[3] ปัจจุบันข้าวมันส้มตำแบบครบชุดเช่นนี้หารับประทานได้ยาก[4] กฤช เหลือลมัย นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีระบุว่าการเข้าชุดอาหารที่มีการรับประทานอาหารต่าง ๆ ด้วยกันชนิดนี้ ใกล้เคียงกับชุดอาหารมุสลิมอย่างนาซีเลอมัก สันนิษฐานว่าคงได้อิทธิพลนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา[5] ส่วนสามารถ สาเหร็ม เสนอว่าข้าวมันส้มตำอาจมีที่มาจากข้าวมันแกงไก่ของสงขลา ซึ่งเป็นอาหารที่มีลักษณะคล้ายกับนาซีเลอมักของชาวมลายู[6] ประวัติข้าวมันส้มตำเป็นอาหารไทยที่มีพัฒนาการจากอาหารประเภทตำ ซึ่งปรากฏอยู่ทุกภูมิภาคของไทย โดยเลือกใช้พืชพื้นเมืองชนิดต่าง ๆ มาตำเข้ากับเครื่องปรุงรส เช่น กล้วยตานีดิบ ยอดมะพร้าว ไหลบัว ถั่วแปบ หรือลูกสมอดิบ เป็นต้น แต่หลังการรับมะละกอจากการค้าสำเภาในยุคอาณาจักรอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา มะละกอจึงกลายเป็นพืชที่ชนนิยมใช้ประกอบอาหารในการตำเรื่อยมา[5] ในตำรับอาหาร แม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2451 ระบุถึงอาหารชื่อ "ปูตำ" ซึ่งใกล้เคียงกับส้มตำในยุคปัจจุบันมากที่สุด แต่ไม่มีเส้นมะละกอเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร[1] ส่วนตำรับอาหาร ตำหรับสายเยาวภา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ระบุถึงข้าวมันส้มตำเป็นครั้งแรก โดยเป็นชุดอาหาร ประกอบด้วยข้าวมัน ส้มตำ แกงไก่ เนื้อฝอยผัดหวาน และน้ำพริกส้มมะขาม[1][3] กฤช เหลือลมัย นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีระบุว่าการเข้าชุดอาหารที่มีการรับประทานอาหารต่าง ๆ ด้วยกันชนิดนี้ ใกล้เคียงกับชุดอาหารมุสลิมอย่างนาซีเลอมัก สันนิษฐานว่าคงได้อิทธิพลนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบหน้าที่ของส้มตำกับอาจาดซึ่งมีไว้ตัดเลี่ยนรสอาหารเหมือนกัน[5] ส่วนสามารถ สาเหร็ม เสนอว่าอาจได้รับอิทธิพลมาจากข้าวมันแกงไก่จากสงขลา ซึ่งอาหารชนิดนี้คล้ายกับนาซีเลอมักของชาวมลายู[6] องค์ประกอบ
อ้างอิง
Information related to ข้าวมันส้มตำ |