พริกแกงไทยพริกแกง หรือ เครื่องแกง เป็นส่วนผสมการปรุงอาหารชนิดหนึ่งของอาหารไทยประเภทแกง ทำจากเครื่องเทศและสมุนไพรต่าง ๆ เช่น พริกสด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด บดผสมให้เข้ากัน อาจมีส่วนประกอบอื่น เช่น กะปิ น้ำตาล น้ำปลา เกลือ อาจนำไปให้ความร้อนหรือไม่ก็ได้ นำไปประกอบอาหารได้ทันที พริกแกงมีลักษณะเปียกข้น อาจผสมกะทิหรือน้ำมันบริโภค[1] พริกแกงไทยมีความเข้มข้นของรสและกลิ่นอยู่ตรงกลางระหว่างเครื่องแกงผงสมุนไพรแบบอินเดียและเครื่องพริกตำของจีนที่มีรสที่โปร่งกว่า ในแต่ละภาคของประเทศไทย มีการเพิ่มเติมรายละเอียดรสที่แตกต่าง เช่น พริกแกงปักษ์ใต้ใส่ขมิ้นชัน พริกแกงล้านนาบางอย่างใส่มะแขว่น มะข่วง ในภาคตะวันออกที่มีพืชพันธุ์เฉพาะถิ่น เพิ่มหน่อเร่ว ลูกกระวานขาว หัวไพล ดอกผักชีไร่ และหัวขิงแห้งไป ส่วนภาคตะวันตก ใส่พริกพรานป่า หรือมะแขว่นป่าเม็ดโตเปลือกดำที่ให้รสชาติจัดจ้านเผ็ดร้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น[2] ประวัติแต่เดิมพริกแกงเรียกว่า พริกขิง เช่นปรากฏในหนังสือ แม่ครัวหัวป่าก์ ของ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ (พ.ศ. 2451) ท่านผู้หญิงเปลี่ยนใช้คำนี้เรียกสิ่งที่ตำลงไปในครก เช่น พริกแห้ง กระเทียม หอม ตะไคร้ ข่า พริกไทย รากผักชี เยื่อเคยดี เกลือ ในหนังสือ ตำหรับสายเยาวภา (พ.ศ. 2478) เล่าว่า "..ยังเครื่องปรุงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่าพริกขิงผัด แต่ไม่มีขิงเลย ไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมจึงเรียกกันเช่นนี้ และไม่ทราบว่าจะไปค้นที่ไหนได้ ข้าพเจ้าได้เรียนถามผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน ท่านก็ว่าไม่ทราบเหมือนกัน…" ส่วนหนังสือ ปะทานุกรม การทำของคาวหวานอย่างฝรั่งแลสยาม ก็ใช้คำ "เครื่องพริกขิง" ในลักษณะนี้เช่นกัน[3] ประเภทของพริกแกง
พริกแกงสำเร็จรูปปัจจุบันมีการผลิตน้ำพริกแกงจำหน่ายในรูปของน้ำพริกแกงปรุงสำเร็จพร้อมใช้งาน น้ำพริกแกงจัดเป็นอาหารกึ่งแห้งแบบหนึ่ง ซึ่งหมายถึงอาหารที่มีการลดค่าปริมาณน้ำอิสระ[9] ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 210 (พ.ศ. 2543) จัดอยู่ใน "อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน" แบ่งเป็นประเภทเปียก (ความชื้นไม่เกินร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก) และประเภทแห้ง (ความชื้นไม่เกินร้อยละ 9 โดยน้ำหนัก)[10] อ้างอิง
|